ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดแพร่วันที่ 10 มกราคม ถึงบรรยากาศการพัฒนาท้องถิ่น ท่ามกลาง การระบาด ของเชื้อไวรัสโควิต 19 ในปีพุทธศักราช 2563 เข้าสู่การระบาดรอบที่ 2 ในต้นปี 2564 ทำให้การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมีปัญหาอุปสรรคอย่างมาก นางสาวณัฐธยาน์ โปธิมา. ผอ.กลุ่มงานสารสนเทศพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ กล่าวถึงการพัฒนาในปีที่ผ่านมาและการพัฒนาที่เน้นหนักในปี 2564 นี้ว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่มีการพัฒนาโครงการเด่นอยู่หลายโครงการ อาทิ การน้อมนำแนวพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพ ฯโดยใช้ชื่อย่อว่า การสร้างความมันคงทางอาหารหรือว่าการปลูกผักซึ่งให้ทุกครัวเรือนปลูกผักในรั้วรอบบ้าน ตั้งแต่ตั้งแต่เมษายนปีที่แล้วแล้วก็มาถึงเดือนธันวาคมปี 2563เสร็จสิ้นแล้วซึ่งจังหวัดแพร่ของเราในการดำเนินการทั้งปลูกผักด้วยทั้งบริหารจัดการเรื่องอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเรื่องบริหารขยะ มีศูนย์เมล็ดพันธุ์ด้วย แล้วก็ได้รับความร่วมมือจากทุกครัวเรือนของจังหวัดแพร่ เฉลี่ยได้ถึง97 เปอร์เซ็นต์ อันนี้คือเป็นโครงการแรกเด่นๆซึ่งทำให้ชาวบ้านไม่ต้องไปซื้อผักกินเองสอดรับกับสถานการณ์โควิดพอดี โครงการที่ 2 เป็นโครงการเรื่องการส่งเสริมการสวมใส่ผ้าไทยเพราะว่ากรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนเรื่อง OTOP ของเราส่งเสริมในเรื่องการผลิตและนำมาแปรรูปเป็นชุดเพื่อสวมใส่ก็เลยเป็นชื่อโครงการอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน จังหวัดแพร่ก็ได้รณรงค์โดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่รณรงค์ให้ทั้งหน่วยงานภาครัฐเอกชนประชาชนสวมใส่ผ้าไทยหรือผ้าพื้นถิ่นเป็นประจำอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้งสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้อย่าดียิ่ง. อีกโครงการที่ผ่านมาเรื่องการทำให้ชาวบ้านที่เป็นสตรีสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายโครงการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของจังหวัดแพร่ซึ่งในการบริหารจัดการของนี้ สามารถทำให้สตรีที่ไม่มีเงินแต่มีอาชีพ ทุนไม่มีต้องไปกู้หนี้นอกระบบสามารถกู้เงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้โดยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10 สตางค์ต่อปีแล้วก็สามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับสตรีด้วยเป็นผลงานเด่นทั้ง 3 เรื่องของจังหวัดแพร่
ส่วนในปี2564 ซึ่งมีการระบาด ของไวรัส covid และรอบที่ 2 ต่างจังหวัดมีมาตรการห้าม ขอความร่วมมือ ให้ประชาชนอยู่บ้านไม่เดินทางออกนอกจังหวัด สิ่งที่ พัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ เน้นคือ ตอนนี้โครงการกรมของเราที่สนับสนุนเรื่องการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงโดยการน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติโดยใช้ชื่อว่าโครงการโคกหนองนาโมเดล ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ เน้นปรับปรุงพื้นที่เกษตรของตนเอง เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ บริหารจัดการน้ำ บริหารจัดการดิน บริหารจัดการป่า เน้นชาวบ้านที่เป็นต้นแบบก่อนในครั้งแรกเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อให้เขามีน้ำที่อุดมสมบูรณ์มีการขุดสระหรือการขุดคลองใส้ไก่ มีน้ำเสร็จเขาสามารถปลูกพืชผักสวนครัว ทำไม้ผล ปลูกป่า ทุกอย่างไว้ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์เกิดเป็นศูนย์เรียนรู้ของครัวเรือนได้สามารถทำให้เขามีอาชีพมีรายได้ซึ่งตนเองได้ด้วยโครงการโคกหนองนาตอนนี้อบรมเจ้าหน้าที่ไปเรียบร้อยแล้วแต่ตอนนี้อยู่ในช่วง covid ระบาดรุนแรงจึงชลอการอบรมเจ้าของพื้นที่ไปก่อนเมื่อเชื้อโควิดคลี่คลายจะได้ดำเนินการให้เต็มโครงการในปี 2564 นี่คือโครงการแรกตอนนี้แล้วอีกโครงการหนึ่งที่ไม่ใช้งบประมาณของทางราชการสักบาทเดียว เป็นโครงการ”หนาวนี้คนแพร่ปันสุขปี 2564″ เราได้ดำเนินโครงการโดยเอาภาคีเครือข่ายของของพัฒนาชุมชนและเอกชนก็จะมี คณะกรรมการพัฒนาสตรีมี OTOP กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำสตรี กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ผู้นำอช. เป็นเครือข่ายแล้วก็ให้แต่ละท่านแต่ละเครือข่ายประชาสัมพันธ์แล้วก็ผู้มีจิตศรัทธาที่จะบริจาคสิ่งของก็ได้บริจาคเงินก็ได้แล้วเราก็นำไปมอบให้กับครัวเรือนที่ตกเกณฑ์จปฐ.และ ครัวเรือนที่ไร้ที่พึ่งไม่มีคนดูแลขาดคนดูแลนะคะตอนนี้รอดำเนินการทั้งหมด 8 อำเภอ. ตอนนี้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด 3 จุด ในอำเภอร้องกวาง อำเภอหนองม่วงไข่ อำเภอเด่นชัยแล้วอีก 5 อำเภอดำเนินการต่อไปซึ่งอำเภอเมืองจะดำเนินการในวันที่ 13 มกราคม เป็นการมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคหลายอย่างที่จำเป็นในบางอำเภอก็จะมีการทำห้องน้ำ ปรับปรุงบ้านด้วยนี่คือโครงการที่ไม่ได้ใช้งบประมาณของสำนักงานพัฒนาชุมชนของเราแม้แต่บาทเดียวแต่เกิดจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในจังหวัดแพร่ที่มีจิตรเมตตาจิตรอาสามาร่วมกัน นางสาวณัฐธยากล่าว
ข่าวน่าสนใจ:
- วันเด็กอยุธยาสุดสดใจเสริมทักษะรักบ้านเกิด
- ตรัง เปิดแข่งเทนนิส Toyota Muang Trang Championship 2025 ชิงเงินรางวัลรวม 1.5 แสน
- กกต.ตรัง ฟิต เตรียมพร้อมเลือกตั้ง นายกอบจ.-ส.อบจ. 1 ก.พ.นี้ คืบหน้าครึ่งทางแล้ว ย้ำปชช.ตรวจสอบสิทธิ์แต่เนิ่นๆ เตรียมระบบรายงานผลเรียลไทม์
- ผ้าป่าสามัคคีชมรมสื่อออนไลน์ (ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าฯ) และ ร่วมกับเพจอีจัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมโครงการ ที่พัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ดำเนินการ เป็นการรองรับสถานการณ์ การระบาดของ เชื้อไวรัส covid ที่ส่งผลกระทบถึงสภาวะเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของ ประชาชนอย่างถ้วนหน้า โครงการเหล่านี้ นอกจากใช้งบประมาณ น้อย แต่ยังสามารถเข้าไปสู่การเยียวยาและต่อยอดไปสู่การพัฒนาในอนาคตได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการสร้างฐานการผลิต สร้างฐานะความเป็นอยู่ ความเข้มแข็งของครัวเรือน ตามปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่างแท้จริง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: