ฝนตกชุกตลอดปีทำผลผลิตมันเทศได้ผลดีไปด้วย ชาวบ้านอาชีพปลูกและเก็บมันเทศจาก อ.พระพรหม จ.นครศรีฯเร่งเก็บผลผลิตส่งพ่อค้าแม่ค้าคนกลางที่เดินทางมารับซื้อถึงที่ ทั้งนี้ โชคดีปีนี้ภาคใต้มีฝนตกตลอดทำผลผลิตของเกษตรกรออกสู่ตลาดได้ดี เพราะมันเทศเป็นพืชที่นิยมปลูกในช่วงหน้าฝนเท่านั้น เพราะไม่ต้องอาศัยแหล่งน้ำ และปลูกในพื้นที่ว่างกลางสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมัน
วันที่ 14 มกราคม 2564 บริเวณพื้นที่ว่างกลางสวนยางพาราในหลายพื้นที่ของจังหวัดตรัง หพบว่าพ่อค้าพืชผักจาก อ.พระพรหม จ.นครศรีฯ เดินทางมาขอใช้พื้นที่ว่างกลางสวนยางพาราจากเจ้าของสวนในจังหวัดตรัง เพื่อปลูกมันเทศหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะที่ริมถนนสายเลี่ยงเมือง ตรัง – สี่แยกอันดามัน ช่วง ต.ปากคม อ.ห้วยยอด พบว่าในสวนยางพาราแปลงหนึ่ง เนื้อที่กว่า 50 ไร่ ซึ่งมองสุดลูกหูลูกตา พบชาวบ้านกว่า 30 คน กำลังเร่งเก็บผลผลิตมันเทศที่คนงานผู้ชายใช้รถไถๆพรวนผลขึ้นมา เพื่อคนงานที่เหลือทั้งชายและหญิงช่วยกันเก็บกอง และนำบรรจุใส่กระสอบปุ๋ย แล้ววางไว้กลางร่องสวน เพื่อเตรียมแบกไปขึ้นรถส่งให้พ่อค้า แม่ค้า คนกลางที่เดินทางมารับซื้อถึงแปลง โดยตลาดปลายทางคือ ตลาดหัวอิฐ จ.นครศรีฯ ซึ่งเป็นตลาดกลางผักและผลไม้จากทั่วประเทศแหล่งใหญ่ของภาคใต้ ทั้งนี้ ในการปลูกมันเทศนั้น จะมีเถ้าแก่จาก อ.พระพรหม จ.นครศรีฯจะเข้ามาขอใช้พื้นที่จากเจ้าของสวนยางพาราที่เพิ่งปลูกใหม่ในพื้นที่ จ.ตรัง เพื่อปลูกมันเทศหลายสายพันธุ์ป้อนตลาด ทั้งแปลงเล็ก แปลงใหญ่ ซึ่งพบว่าเจ้าของแปลงยางพาราก็ยินดีให้ปลูกด้วยความเต็มใจ ไม่คิดเงินค่าเช่าแต่อย่างใด เพราะคนปลูกจะช่วยดูแลแปลงยางพาราให้ปลอดจากสัตว์เลี้ยง และหญ้าที่จะขึ้นรก เพราะการปลูกมันเทศเป็นพืชล้มลุกระยะสั้น เป็นเถาวัลย์ลักษณะคล้ายกับพืชคลุมดิน ทำให้รักษาหน้าดิน และต้นยางก็จะได้ปุ๋ยจากสวนมันเทศด้วย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ ส่งผลให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตด้วย ที่สำคัญในปีนี้ ภาคใต้เกิดฝนตกตลอด ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชระยะสั้นในฤดูฝนได้ยาวนาน และได้ผลผลิตปี
ทางด้านนางพรทิพย์ ไชยสงคราม อายุ 42 ปี ชาว อ.พระพรหม ซึ่งเป็นคนงานเก็บผลผลิต กล่าวว่า เถ้าแก่ของพวกตนมาปลูกไว้ทั้งหมด 3 แปลง เนื้อที่รวมประมาณ 100 ไร่ ก็ทยอยเก็บผลผลิต โดยมีคนงานประมาณ 30 คน จะได้รับค่าจ้างเก็บวันละ 300 บาท แต่ผู้ชายจะได้วันละ 400 บาท เพราะต้องแบกหามด้วย โดยแต่ละแปลงใช้เวลาเก็บประมาณ 9-10 วัน เนื้อที่ประมาณ 100 ไร่ จะได้ผลผลิตหากเต็มที่ประมาณ 100 ตัน แต่หากไม่เต็มที่จะได้ประมาณ 80 -90 ตัน โดยทั้งหมดจะมีพ่อค้าแม่ค้าคนกลางเดินทางมารับซื้อถึงแปลงในราคากิโลกรัมละ 7 บาท ตลาดค้าส่งอยู่ที่ตลาดหัวอิฐ จ.นครศรีฯ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: