X

อุบลฯ เดินหน้าเกษตรอินทรีย์ ปรับแนวคิด! พลิกวิกฤติเป็นโอกาส รุกรับมือการเปลี่ยนแปลง

เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 มูลนิธิสื่อสร้างสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เดินหน้าจัดงานเทศกาลกินสบายใจ ห่างไกลโรคปี 9 แบบ new normal เพื่อพัฒนาห่วงโซ่อาหารปลอดภัยด้วยเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเทศกาลดังกล่าวจะจัดขึ้นในระหว่าง วันที่ 29-31 มกราคม 2564  ณ ห้างสรรพสินค้าสุนีย์ทาวเวอร์ จังหวัดอุบลราชธานี

โดยภายในงานจะประกอบไปด้วย เวทีการเสวนาชวนเปลี่ยน เพื่อชวนทุกคนเปลี่ยนการผลิต การบริโภค ปรับวิถีชีวิตใหม่ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ของสภาพอากาศ ภัยพิบัติ และโรคระบาดโควิด-19 และนอกจากนี้ยังมีกิจกรรม live สดนาทีทองสินค้าเกษตรอินทรีย์ การประกวด Organic Got talent การเวิร์คช็อปชวนเปลี่ยน เป็นต้น เป็นการจัดแบบนิวนอร์มอล คือแต่ละคนอยู่คนละที่ แต่มาประชุมกันผ่านโปรแกรม zoom พร้อมถ่ายทอดสดทางเคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น และเพจเฟสบุ้คส์ ซึ่งหากประชาชนผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยผ่านช่องทางออนไลน์เพจกินสบายใจ เพจอุบลคอนเนก เคเบิ้ลทีวีท้องถิ่น ช่อง VR Cable tv เพจสถานีข่าววีเคเบิ้ลทีวีอุบลฯ เพจอยู่ดีมีแฮง เพจ Sunee Tower และเพจมูลนิธิสื่อสร้างสุข

ทั้งนี้ในส่วนเวทีของเสวนาเทศกาลกินสบายใจ ห่างไกลโรคปี 9 ภาคเช้าวันที่ 29 มกราคม 2564 จัดขึ้นบนหัวข้อ “โควิด19 เปลี่ยนเราเปลี่ยนโลก” โดยมี โจน จันได จากศูนย์พันพรรณ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่,พรรณี เสมอภาค ประธานคณะกรรมการ PGS กินสบายใจ,ปาฏิหาริย์ มาตสะอาด เฮือนสวนเฮา Organic farm ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กาทำเกษตรอินทรีย์ในช่วงปีที่ผ่านมา

พรรณี เสมอภาค ประธานคณะกรรมการ PGS กินสบายใจ กล่าวว่า ครั้งในอดีตตนเองนั้นเคยทำนาเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันผันมาทำเกษตรกรอินทรีย์ด้วย ซึ่งปี 2562 โชคไม่ดีเจอเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่นาข้าวเสียหาย และต่อมาฝนก็แล้งผิดปกติ ซึ่งจากเหตุการณ์ต่างๆจะเห็นได้ว่าสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงที่ผกผัน

เกษตรกรต้องปรับตัวรู้จักการออกแบบฟาร์มให้สอดคล้องกับระบบนิเวศและปลูกพืชให้หลากหลาย ซึ่งต้องรู้จัก 1.ต้องประเมินความเสี่ยงของตัวเอง 2.ลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 3.กระจายความเสี่ยง พร้อมประเมินข้อมูลสภาพอากาศ น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคระบาด เปลี่ยนพื้นที่นาผสมสานเข้ากับทำสวนอย่างหลากหลาย

ถัดมา ปาฏิหาริย์ มาตสะอาด เฮือนสวนเฮา Organic farm เล่าเสริมว่า ส่วนตัวตนเองไม่ชอบทำการเกษตร แต่ครอบครัวมีที่ดิน 21ไร่ เป็นการทำนาทั้งหมด ตั้งแต่มีโรคระบาดโควิด19 ตนต้องกลับมาอยู่บ้าน เพราะไปสถานที่ข้างนอกไม่ได้ จึงทำให้มีเวลาว่างเดินเล่นหาของกินในไร่ของตัวเองจนมาพบเข้ากับสลัดที่ครอบครัวปลูกไว้และได้เก็บมากิน ทั้งนี้เองจึงเกิดเป็นความคิดว่าหากเราทำเกษตรปลูกพืชผักกินเองมันก็ง่ายเพียงนิดเดียว

ตนจึงได้เปิดขอระดมเงินทุน นำทุนมาหมุนเวียนต่อยอด เริ่มต้นปลูกข้าวศึกษาพันธุ์ข้าว ลองไปเรียนวิธีการดำนา โดยตนมองว่าจะทำอย่างไรให้สิ่งที่ทำอยู่มันหมุนเวียนและต่อเนื่อง จึงได้เริ่มปลูกผักสลัดและลองเลี้ยงไส้เดือน โดยให้ไส้เดือนกินเศษผักที่ไม่ได้ขายและนำปุ๋ยไส้เดือนมาปลูกผักต่อ ทำให้พอมีรายได้เลี้ยงตนเอง

ด้าน อาจารย์โจน จันได จากศูนย์พันพรรณ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า การเกษตรเกิดการเปลี่ยนแปลงไปมากโดยเฉพาะข้าวใส่ปุ๋ยหมักอย่างดีแต่ผลผลิตลดลง อากาศที่ร้อน ซึ่งตนเองมองว่าเมื่อเกิดวิกฤตเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมามันเป็นปกติของธรรมชาติที่ผลักดันให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อวันนี้โลกมันเปลี่ยนไปแล้วเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเปิดใจยอมรับใช้เหตุผลมากขึ้น อย่าใช้ความคุ้นเคยเดิมๆที่เราเคยใช้ เพราะเมื่อเราได้ลองเปลี่ยนแปลงแล้วจะเกิดประสบสำเร็จได้ผลผลิตสูง

วันนี้เกษตรกรหลายคนบอกว่าเกษตรทำแล้วไม่รุ่ง รายได้ไม่ดี แต่หารู้หรือไม่อาชีพที่คนทำน้อยนี้ค่อนข้างมีรายได้ดี อย่าไปคิดว่าวิกฤตครั้งนี้มันหดหู่และเลวร้าย มันจะทำให้ตนเองหมดกำลังใจแต่ให้ปรับวิธีคิดใหม่ว่าการเกิดวิกฤตในครั้งนี้มันคือความท้าทาย ความสนุก การค้นคว้าทดลองสิ่งใหม่ๆที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น

สามารถชมย้อนหลังการเสวนา “โควิด19 เปลี่ยนเราเปลี่ยนโลก” 

ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.

ชิษณุพงศ์ สุนทรพาณิชย์ เรียบเรียง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สุชัย เจริญมุขยนันท

สุชัย เจริญมุขยนันท

นิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลักสูตรโปรดิวเซอร์ เนชั่น วิทยากรพิราบน้อย โครงการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยุ มูลนิธิหมอชาวบ้าน วิทยุเนชั่น ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทยประจำจงอุบลราชธานี ผู้จัดการศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลราชธานี ปัจจุบัน เลขาธิการมูลนิธิสื่อสร้างสุข ผู้อำนวยการทีวีชุมชนอุบลราชธานี E : [email protected] F : ทีวีชุมชนอุบลราชธานี T : 0818786440 LINE : SUCHAINEWS