ติหมา งานจักสานจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกลืม วันนี้ มทร.สร้างตู้อบ“ติหมา”ให้ชาวบ้านเพิ่มยอดผลิตขึ้น 4 เท่า โกยรายได้เข้าชุมชนนับล้านบาท
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เข้ามาทำวิจัยในพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพของลุ่มน้ำปะเหลียน ในส่วนของ ผศ.นพดล โพชกำเนิด ได้ศึกษาและทำวิจัยการแก้ปัญหาการผลิต ติหมา ด้วยการสร้างตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้พลังงานจากลมร้อน ให้กับกลุ่มจักสานก้านจากบ้านนายยอดทอง ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง ซึ่งก่อนหน้านี้ทางกลุ่มฯ ประสบปัญหาเกี่ยวกับการแปรรูป หรือการตากติหมาให้แห้งทันตามความต้องการของตลาดทำให้การผลิตติหมาจึงทำได้อย่างจำกัด เพราะจังหวัดตรังมีภูมิอากาศที่มีฝนตกตลอดทั้งปี
ทาง ผศ.นพดล โพชกำเนิด จึงได้ทำการศึกษาและหาวิธีการจะแก้ปัญหาให้กับกลุ่มฯ จึงได้มีการจัดทำตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้พลังงานจากลมร้อน ให้ทางกลุ่มได้ใช้ก็ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถอบ ติหมาให้แห้งทันตามความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแต่อย่างใดเพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมร้อน ไม่มีการนำสารเคมีเข้ามาใช้แต่อย่างใด ทั้งนี้
ผศ.นพดล โพชกำเนิด ผู้เชี่ยวชาญด้าน พลังงานชีวภาพ อาจารย์ประจำหลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย กล่าว จากการวิจัยการสร้างตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ และการใช้พลังงานจากลมร้อน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนายอดทอง ต.วังวน อ.กันตัง จ.ตรัง สามารถเพิ่มจำนวนการผลิต ติหมา สูงถึง 4 เท่า ตลอด 1 ปี สามรถผลิต ติหมาได้ 200,000 ใบ หรือกว่า 2,000,000 บาทกันเลยทีเดียว
ข่าวน่าสนใจ:
- กองบิน 5 แถลงข่าวการจัดงาน “สดุดีวีรชน 8 ธันวาคม 2484” รำลึกถึงความกล้าหาญ และความสามัคคีของวีรชนผู้กล้า ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา
- ฝนตกหนักสัญญาณเตือนภัยน้ำป่าเขาบรรทัดส่งสัญญาณเตือนเสียงดัง จ.พัทลุง
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ร้อยเอ็ด...กบห.โหวดพิฆาตเข้าพบรักษาการพ่อเมืองร้อยเอ็ด ร่วมต้อนรับรัฐมนตรีประจำสำนักฯ เปิดงานเดิน-วิ่งการกุศล ณ อ่างธวัชชัย 30 พ.ย. 67
ติหมา เป็นเครื่องจักสานที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยนำใบจากส่วนยอดใบ ที่เหลือใช้มาทำเป็นรูปถังน้ำ ชาวบ้านจะใช้ตักน้ำขึ้นจากบ่อ หรือวิดน้ำออกจากเรือ กระทั่งต่อมาเมื่อมีการนำถัง และพลาสติกเข้ามาใช้แทนที่ ทำให้ติหมาเริ่มสูญหายไปจากท้องถิ่น โดยมีเพียงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนายอดทอง ที่ยังคงรวมตัวกันเพื่อสืบสานการทำติหมามาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งขณะนี้ได้กลายเป็นเป็นติหมาที่ใส่ได้ทั้งน้ำหวาน น้ำแข็งใส ขนม ไอศกรีมและอื่นๆ เนื่องจากกระแสวัตถุดิบจากธรรมชาติกำลังมาแรง ทำให้ตลาดย้อนยุค ตลาดน้ำ ตลาดประชารัฐ ตลาดต้องชม จากทั่วประเทศสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เดือนละเกือบ 3 แสน โดยขายในราคาตั้งแต่ 6-10 บาท และมีแนวโน้มจะขายดีมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากกระแสการรณรงค์ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ยังส่งขายไปยังหลายประเทศ อาทิ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สร้างรายได้ให้อย่างงดงาม โกยรายได้เข้าชุมชนนับล้านบาทต่อปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: