X

ข่าวใหญ่ตกใจ! หลุมหลบภัยโคราช อยู่ที่บ้านพระยากำธรพายัพทิศ ( ดิส อินทรโสฬส) 

วันที่ 13 มีนาคม 2564 มีการเสวนาเสวนาประวัติศาสตร์ผ่านหลุมหลบภัยโคราช โดย กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน ณ พระวิหารหลวง วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหารมีผู้ร่วมเสวนา   อ.ดร.ศิริวัฒน์ สาระเขตต์ นายอิทธิพล คัมภิรานนท์ นายชาคริต พาพัฒน์กุล นายปฏิวัติ จูมคอม นายสมยศ พัดเกาะ  ณ บ้านอินทโสฬล ถนน อัษฎางค์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต่อมา ผู้สื่อข่าวเดินทางไปบ้านอินทโสฬลหรือ บ้านพระยากำธรพายัพทิศ ( ดิส อินทรโสฬส)  และรายงานว่า พบแล้ว หลุมหลบภัย บ้านพระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) เป็นหลุมหลบภัยส่วนบุคคลที่สร้างเพื่อความปลอดภัยเจ้าเมืองนครราชสีมาและครอบครัว มีขนาดความจุได้ประมาณ 20 คน สร้างในช่วง พ.ศ 2478-2488 สันนิษฐานว่าสร้างโดยทหารช่างของเมืองนครราชสีมาในสมัยนั้น ลักษณะของหลุมขุดเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด2.00×2.50 เมตรลึก ประมาณ 2.4 เมตร มีประตูทางเข้าสองฝั่งเยื้องกัน เป็นบันไดกว้างประมาณ60-70 ซม.ตัวหลังคาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมทรงปั่นหยา มีช่องท่อระบายอากาศ 2 ด้าน วัสดุและโครงสร้าง โครงสร้างพื้นด้านล่างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หนา 40 ชม.ผนังทุกด้านเป็นผนังกินดินก่ออิฐฉาบปูน หนา 40 ชม.

สภาพปัจจุบันของหลุมหลบภัย (สำรวจเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2564) อยู่ในเขตที่ดินบ้านพระยากำธรพายัพทิศ ซึ่งด้านหน้าเป็นบ้านไม้เก่าสองชั้นปล่อยร้าง ส่วนด้านหลังเป็นบ้านเช่ากึ่งปูนกึ่งไม้ สูง 2 ชั้น มีโรงครัวชั้นเดียวอยู่ด้านข้าง สภาพหลุมหลบภัยโครงสร้างค่อนข้างสมบูรณ์ มีส่วนเสียหายระหว่างรอยต่อหลังคาทางลงทั้งสองฝั่ง มีคอนกรีตแตกร้าว น้ำฝนสามารถผ่านได้ ทำให้เห็นว่ามีเหล็กเสริมในคอนกรีตทางลงหลุมฝั่งทิศตะวันตกผนังกระเทาะออก

เนื่องรากต้นไม้ดันเข้ามาด้านใน ภายในหลุมมีน้ำท่วมขัง ในหน้าฝนจะท่วมปริ่มขึ้นมาปากหลุมส่วนในหน้าแล้งจะแห้งเหลือน้ำสูงประมาณ 40 ชม. ในอดีตเจ้าของบ้านใช้หลุมหลบภัยเป็นที่เก็บน้ำฝนใช้ยามหน้าแล้งอีกด้วย

สำหรับการสร้างหลุมหลบภัย ในช่วงสงครามนั้น สิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของชุมชนที่อยู่ใกล้พื้นที่เป้าหมายในการทิ้งระเบิด ของสัมพันธมิตรคือ หลุมหลบภัย ซึ่งมีการก่อสร้างทั้งหลุมหลบภัยสาธารณะ และส่วนบุคคล ทั้ง ในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ เมื่อมีการโจมตีทางอากาศจะมีเสียงเตือนภัย หรือเสียงหวอ เพื่อเตือนให้ประชาชนวิ่งเข้าหลุมหลบภัยได้ทันท่วงที รัฐบาลจึงออกหนังสือ “การป้องกันภัยทางอากาศ คำแนะนำ เรื่อง การป้องกันภัยจากลูกระเบิดทำลาย” ใน พ.ศ. 2484 เพื่อให้ความรู้ประชาชนในการสร้างที่หลบภัยจากแรงระเบิด ที่ทิ้งจากเครื่องบิน ขนาดของลูกระเบิด 10-100  กก.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน