น.ส.ธนวรรณ หิรัญพงษ์ อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 84/6 ซอย.สุขสวัสดิ์ ต.เขาสามยอด อ.เมือง ลพบุรี ได้เดินทางเข้าแจ้งความกับ ร.ต.อ.อนัฐพงษ์ ลีเวียง พนักงานสอบสวน สภ.เมือง ลพบุรี ว่าตนเองได้ถูก น.ส.ณรัธน์นันท์ อายุ 34 ปี (ขอสงวนนามสกุล) ชาวบ้าน ต.ป่าตาล อ.เมือง ลพบุรี หลอกใช้สลิปโอนเงินผ่านธนาคาร ที่ทำเหมือนว่าโอนเงินให้แล้วเมื่อไปเบิกกับธนาคารกลับไม่มีเงินโอนมาแม้แต่บาทเดียว มูลค่าความเสียหายกว่า 3 แสนบาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 ต่อเนื่องถึงวันที่ 23 มกราคม 2564
หลังจากนั้น น.ส.ธนวรรณ ได้นำสำเนาใบร้องทุกข์แจ้งความ พร้อมสลิปปลอมแปลงหลายธนาคารของ น.ส.ณรัธน์นันท์ (ผู้ถูกกล่าวหา) ไปปรึกษากับสำนักกฎหมาย Smile Lawyer ทนายความ ซึ่ง น.ส.ธนวรรณ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าตนเองเป็นท้าวแชร์ ได้ถูก น.ส.ณรัธน์นันท์ โกงเงินไปกว่า 3 แสนบาท โดยตนเองหลงเชื่อว่าสลิปเงินที่ น.ส.ณรัธน์นันท์ถ่ายส่งมาทางมือถือนั้นถูกต้อง จนเมื่อไปเบิกเงินที่ธนาคารกลับไม่มีเงินเข้าตามสลิปแม้แต่บาทเดียว เมื่อทวงถามก็ถูกบ่ายเบี่ยง หลบหนี ไม่สามารถติดต่อได้ ตนเป็นท้าวซึ่งต้องรับผิดชอบลูกแชร์ทุกคนที่ทุกคนคาดหวังและไว้ใจมาตลอดระยะเวลา
ข่าวน่าสนใจ:
- พบผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านสาว ผมยาวดั่งราพันเซล เผยไว้ผมยาวมานับแต่สมัยเรียน
- ตรัง ชาวบ้านสืบสานอนุรักษ์การปลูกข้าวไร่ไว้กินเองครอบครัวเหลือขาย
- เครื่องกั้นรถไฟคลองแขวงกลั่นพังบ่อย ล่าสุดลงปิดขวางถนนนานข้ามคืน
- เดือดกลางวอล์กกิ้ง ปมขัดแย้งร้านบีบีกัน ควงมีด ควงปืน หมายเปิดศึก พลเมืองดีห้ามวุ่น หวั่นนทท.ถูกลูกหลง
ด้านทนายกล่าวว่าในเบื้องต้นจากคำบอกเล่า และคำให้การกับทางพนักงานสอบสวน ทราบว่า น.ส.ณรัธนันท์ (ผู้ถูกกล่าวหา) ทำทีอ้างว่าทางญาติป่วยหนักต้องการเงินในการรักษาพยาบาลต้องการเงินด่วน จึงได้เปียแชร์ดอกสูงลิบทิ้งห่างผู้อื่นหลายเท่า เมื่อถึงกำหนดจ่ายได้ทำทีโอนสลิปเงินของธนาคารต่างๆ เหมือนกับว่าโอนเงินมาตามความเป็นจริง ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ จนมาทราบว่าถูกหลอก ซึ่งทนายกล่าวว่าการกระทำเพื่อนำเอกสารไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ใด หรือประชาชนให้ถือว่าผู้นั้นปลอมแปลงเอกสาร มีความผิดตามกฎหมายอาญา
ซึ่งทางสำนักกฎหมาย Smile Lawyer ได้บอกถึงการรู้ทันกลโกง ลูกค้าแกล้งโอนเงินผ่านสลิปธนาคารในเบื้องต้นไว้ดังนี้
1.เช็คก่อนว่าสลิปที่คุณได้มามี QR Code ให้สแกนหรือไม่ ถ้าไม่มีต้องเอ๊ะใจแล้วว่าสลิปที่ได้มาอาจเป็นสลิปปลอม
2. หลังจากได้สลิปที่มี QR Code มาเรียบร้อยแล้วก็สามารถเช็คแบบออนไลน์ได้เลยทันทีว่าเป็นสลิปปลอมหรือไม่ โดยให้คุณเข้าสู่แอปพลิเคชัน แล้วกดคำว่า สแกน หลังจากนั้นเลือกสแกน QR code จาก e-slip หากเป็นสลิปจริงก็จะขึ้นรายละเอียดให้คุณตรวจสอบได้ แต่ถ้าเป็นสลิปที่ปลอมขึ้นมา QR code จะไม่สามารถแสดงผลได้และบอกคุณว่า “ขออภัย รูปแบบรหัส QR ไม่ถูกต้อง” นอกจากนี้ยังสามารถเช็คสลิปได้อีกหนึ่งวิธีนั่นคือการเลือกรูปภาพ ให้คุณเลือกรูปสลิปที่ลูกค้าส่งมา ก็สามารถเช็คได้เช่นเดียวกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: