ปทุมธานี กองปราบบุกทลายโรงงานผลิตถุงมือยางย่านลำลูกกา มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท
เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 24 มีนาคม 2564 ภายใต้การอำนวย ของ พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป.,พ.ต.อ. มนตรี เทศขัน รอง ผบก.ป.โดย พ.ต.อ. บุญลือ ผดุงถิ่น ผกก.2 บก.ป.,พ.ต.อ.วิวัฒน์ จิตโสภากุล ผกก.3 บก.ป. ,พ.ต.ท.สุรเชษฐ์ เดชะพันธ์ รอง ผกก.๓ บก.ป.,พ.ต.ต.หญิง กัญจิรา นรสาร สว.ปฏิบัติราชการ กก.๓ บก.ป.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข โดย เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้น ศาลธัญบุรี เลขที่ 148 /2564 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2564ตรวจค้น อาคารเลขที่ เลขที่ 88/7 หมู่ 13 ตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา ปทุมธานี
ซึ่งเป็นโรงงานผลิตถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่ พบถุงมือยางทางการแพทย์กว่า 19 ล้านชิ้นมูลค่าของกลางกว่า 500 ล้านบาท พฤติการณ์ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเป็นช่องของผู้ประกอบการที่ขาดคุณธรรมฉวยโอกาส นำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนผู้ใช้ได้รับอันตราย ปัจจุบันมีผู้เสียหายจำนวนหลายราย ได้เข้ามาร้องเรียนที่ กองบังคับการปราบปราม ว่าได้มีกลุ่มมิจฉาชีพ หลอกลวงอ้างว่าสามารถนำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์มาจำหน่ายให้ได้เป็นจำนวนมาก โดยมีผู้เสียหาย หลงเชื่อได้มีการวางเงินมัดจำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ เป็นจำนวนเงินที่สูง รายละ 40- 50 ล้านบาท แต่กลับไม่ได้รับสินค้าและบางรายได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อนำส่งออกไปต่างประเทศ ถูกตีคืนสินค้ากลับมายังประเทศไทย ทำให้เกิดเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทางกองบังคับการได้ปราบปรามได้ทำการสืบสวนขบวนการหลอกลวงขายสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนสืบทราบว่าสถานที่ดังกล่าวได้มีการผลิตและบรรจุ สินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างใด
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ธุรกิจโก-ลกเริ่มหวั่น! นทท.ลดฮวบ-หลังมาเลย์ดีเดย์ 1 ธค.เข้า-ออกผิดกฎหมาย - จับทันที
- ผกร.ป่วนไม่เลิก!วางบึ้ม 5 (แตก 4, กู้ 1) ทางไปสนามบิน
จากการตรวจค้น ได้ทำการตรวจยึด/อายัด1. SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size M จำนวน 89ลัง*10กล่อง*100 ชิ้น =89,000ชิ้น 2. SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size L จำนวน 843ลัง*10กล่อง*100ชิ้น=843,000ชิ้น3. SKYMED Nitrile Powder Free Examination Gloves size XL จำนวน 506 ลัง*10กล่อง*100ชิ้น=506,000ชิ้น 4. ศรีตรังโกลฟส์ Examination Gloves size S จำนวน 2 ลัง*10กล่อง*100ชิ้น=2,000ชิ้น 5. ถุงมือยางสีฟ้าบรรจุในถุงกระสอบ คละไซร์ จำนวน 607 กระสอบ*30,000ชิ้น =18,210,000 ชิ้น 6.กล่องบรรจุภัณฑ์ SKYMED จำนวน 104ห่อ*200ชิ้น = 20,800 ชิ้น 7.ลังลูกฟูก SKYMED จำนวน 308 มัด*20ชิ้น=6,160 ชิ้น 8.กล่องบรรจุภัณฑ์ศรีตรังโกลฟส์ จำนวน 159 ห่อ*300ชิ้น=47,700 ชิ้น 9.ลังลูกฟูก ศรีตรังโกลฟส์ จำนวน 168มัด*20ชิ้น=3,360 ชิ้นรวมถุงมือยางทางการแพทย์ 19,650,000 ชิ้น
โดยพบลูกจ้างและคนงาน จำนวน 19 คน ชาย 9 คน หญิง10 คน ฐานการกระทำความผิดดังนี้ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พุทธศักราช 2551 1. ฐานไม่จดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ ผิดมาตรา 15 โทษมาตรา 85 ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์โดยไม่จดทะเบียนสถานประกอบการ ตามมาตรา 15 วรรคหนึ่ง ต้องระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ฐานผลิตเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ผิดมาตรา 46 (1) โทษมาตรา 105 ผู้ใดผลิตหรือนำเข้าเครื่องมือแพทย์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 46(1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 3. ฐานขายเครื่องมือแพทย์ปลอม โดยลวงให้เข้าใจผิดในเรื่องชื่อ ส่วนประกอบ คุณภาพ ชื่อผู้ผลิต สถานที่ผลิต ผิดมาตรา 46 (1) โทษมาตรา 105 ผู้ใดขายเครื่องมือแพทย์ปลอมอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 46(1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม ผบก.ป เปิดเผยว่า การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงเป็นช่องของผู้ประกอบการที่ขาดคุณธรรมฉวยโอกาส นำผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานมาจำหน่าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนผู้ใช้ได้รับอันตราย ปัจจุบันมีผู้เสียหายจำนวนหลายราย ได้เข้ามาร้องเรียนที่ กองบังคับการปราบปราม ว่าได้มีกลุ่มมิจฉาชีพ หลอกลวงอ้างว่าสามารถนำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์มาจำหน่ายให้ได้เป็นจำนวนมาก
โดยมีผู้เสียหาย หลงเชื่อได้มีการวางเงินมัดจำสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ เป็นจำนวนเงินที่สูง รายละ 40- 50 ล้านบาท แต่กลับไม่ได้รับสินค้าและบางรายได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ เมื่อนำส่งออกไปต่างประเทศ ถูกตีคืนสินค้ากลับมายังประเทศไทย ทำให้เกิดเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทางกองบังคับการได้ปราบปรามได้ทำการสืบสวนขบวนการหลอกลวงขายสินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนสืบทราบว่าสถานที่ดังกล่าวได้มีการผลิตและบรรจุ สินค้าประเภทถุงมือยางทางการแพทย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข แต่อย่างใด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: