ปทุมธานี จังหวัดแรกนำร่องราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมกับ อบจ.ปทุมธานี เตรียมฉีดวัคซีนและแจกยาฟาวิพิราเวียร์สกัดโควิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เตรียมแจกยาฟาวิพิราเวียร์สกัดตั้งแต่เริ่มติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และตั้งจุดฉีดวัคซีนให้ประชาชนชาวจังหวัดปทุมธานีโดยเน้นกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าก่อนเป็นกลุ่มแรก เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
จากการสอบถาม พลอากาศตรีนายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้รับการแระสานจากสาธารณสุขเพื่อให้เรา ช่วยฉีดวัคซีนให้กับคนประชาชนทั่วไป เบื้องต้นได้ฉีดให้กับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ รวม กว่า 2,000 คน ได้ฉีดทั้งหมดแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยที่มาใช้บริการโรงพยาบาลปลอดภัย การฉีดวัคซีนนั้นมีคนกลัว เนื่องจากวัคซีน เป็นวัคซีนใหม่โอกาสที่จะมีปัญหาก็มี แต่ก็ถือว่าการฉีดวัคซีนนั้นมีผลดีมากกว่าผลเสียอัตราการเสียงถึงเสียชีวิตน้อยมากเมื่อฉีดแล้ว เมื่อติดเชื้อแต่อาการจะไม่รุนแรง เพราะวัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หากฉีดแล้วก็ต้องปฏิบัติตัว ใส่แมสก์ เว้นระยะห่าง ล้างมือ ห่างจากชุมชนแออัด ให้เป็นเรื่องธรรมดา
ข่าวน่าสนใจ:
- บรรยากาศคึกคัก รับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ. ส.อบจ. สกลนคร วันแรก
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
ในส่วนของจังหวัดปทุมธานี ถือว่าเป็นโชคดีที่นายก อบจ.คนใหม่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง เป็นนักศึกษารุ่นที่ 3 ท่านมีความสัมพันธ์อันดีกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ผ่านมาท่านได้ช่วยเหลือสถาบันไว้เยอะมาก จึงถือโอกาสนี้ที่ทางเราจะช่วยดูแลคนปทุมธานีบ้าง ด้วยเนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีพระราชวังอยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานี เราจึงต้องช่วยเหลือชุมชนบริเวณใกล้เคียงด้วย เบื้องต้น พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ได้ทำเรื่องขออนุเคราะห์ ในการฉีดวัคซีนให้คนปทุมธานี โดยราชวิทยาลัยจะเตรียมบุคลากรให้เพียงพอเพื่อลงไปช่วย ในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ทาง กทม.เตรียมให้ยาฆ่าเชื้อสำหรับคนไข้โควิด-19 ปกติแล้วทางการแพทย์จะให้สำหรับคนไข้โควิด-19ที่แสดงอาการหรือคนไข้กลุ่มสีเหลืองเท่านั้น แต่ทาง กทม.ได้ทดลองให้ยาตั้งแต่เริ่มต้นตรวจซึ่งพบว่าคนไข้ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลุ่มคนไข้สีเขียว ที่ผ่านมาการแยกคนไข้เริ่มกินยาแต่ต้นพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมากดีกว่าที่จะให้พวกเขาเปลี่ยนจากผู้ป่วยสีเขียวมาเป็นสีเหลือง นั้นต้องใช้บุคลากรหลายคน ทำให้การรักษาบางครั้งไม่ดีเท่าที่ควร เราจึงมีการศึกษาโดยการให้ยากับกลุ่มคนไข้สีเขียวทันที จะทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็ว
ด้าน พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดปทุมธานีนั้น ตั้งแต่ครั้งแรกมีการแพร่ระบาดจากรอบนอกจังหวัดปทุมธานี ตั้งแต่ปีที่แล้ว เราได้ทำการตั้งชุดทีมฉีดพ่นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทั้งหมดทุกพื้นที่ในจังหวัดปทุมธานี โดยขอความร่วมมือกับประชาชนทุกโรงเรียน มัสยิด ตลาด และชุมชน ได้ฉีดพ่นทั้งหมดจนการแพร่ระบาดได้หยุดไป ต่อมามีการระบาดครั้งที่สองมีการแพร่ระบาดภายในจังหวัดปทุมธานีบริเวณกลางเมืองย่านรังสิต จนทำให้ต้องปิดตลาดพรพัฒน์-ตลาดสุชาติ จนกระทั่งวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ผมรับตำแหน่งนายก อบจ.ปทุมธานี ต่อมา ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี มอบหมายให้ผมเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ผมได้ไปตั้งกองอำนวยการที่ตลาดซึ่งจากการทำงานผมไม่ได้โจมตีฝ่ายไหน
เอาตามความรู้สึกส่วนตัวของผม เมื่อผมเป็นตำรวจผมตามคนร้าย เรายังมีเบาะแส ญาติ พี่น้อง ภรรยาอยู่ไหนเราตามได้ แต่พอมาเป็นไวรัส เราทำงานหลังไวรัสเราตามไม่ทัน ผมมองว่าวิธีการด้วยการสวอปจมูกวันนี้ แล้วทราบผลพรุ่งนี้ แต่ให้เขากลับบ้านไปก่อน เมื่อทราบผลว่าเป็นบวกถึงจากตามเขากลับมา จากนั้นก็ต้องตามทามไลน์เขาอีกว่าภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาเขาได้ไปไหนมาบ้าง รวมถึงตามกลับมาก็ไม่ได้ 100เปอร์เซ็นต์ จึงได้หารือกับ พลอากาศตรีนายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ท่านก็แนะนำว่าต้องใช้แรปบิทเทส ควบคู่ไปด้วย โดยแรปบิทเทสมีความแม่นยำอยู่ที่ 98.2 เปอร์เซ็นต์ เป็นการตรวจภูมิคุ้มกัน โดยทราบผลเพียง 3 นาที เมื่อผลบวกเราส่งเขาไปสวอปที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันผล โดยขอร้องให้เขาอยู่แต่ในบ้าน เพื่อต้องการตัดทามไลน์ นอกจากนี้เราได้จัดทีมฉีดพ่นฆ่าเชื้อภายในบ้านและนอกบ้าน ระหว่างที่คอยผลสวอปในวันรุ่งขึ้น เมื่อเป็นผลบวกก็เข้ากระบวนการรักษา
แต่การระบาดรอบสามนี้เป็นการแพร่ระบาดที่เร็วและรุนแรงมาก ที่ผ่านมาในช่วง 10 วันผลออกมาถือว่าเราคุมได้ดี จะเห็นว่าเมื่อวันที่ 9 พค.64 มีผู้ติดเชื้อ 31 คน อยู่อันดับ 9 ของประเทศเกือบจะพ้นพื้นที่สีแดงแล้ว แต่เมื่อวันที่ 10 พค.64 เกิดเหตุการณ์ตรวจพบผู้ติดเชื้อที่ตลาดแห่งเดียวมีผู้ติดเชื้อโควิดกว่า 90 คน รวมทั้งจังหวัด 160 คนทำให้จังหวัดปทุมธานีขึ้นมามีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นอันดับ 5 ของประเทศ เราจึงต้องเดินเชิงรุกโดยการหาวัคซีนมาฉีดให้คนปทุม แม้แต่ตัวยาฟาวิพิราเวียร์ที่ กทม.กำลังสั่งซื้อ เราก็จะสั่งซื้อมาให้คนปทุม เมื่อตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 คุณก็จะมียากินทันทีเลย ใช้เวลาเพียง 5 วันก็หายป่วย เบื้องต้นผมได้ทำหนังสือถึง สถาบันจุฬาภรณ์ เพื่อขอการสนับสนุนวัคซีนและยา หากเราจำเป็นตั้งงบประมาณซื้อเราก็ต้องซื้อผ่านสถาบันฯ เพื่อช่วยคนปทุมและทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่ว่าผมทำเป็นอวดรู้ หากปทุมธานีทำเป็นแห่งแรกขึ้นมา เดี๋ยวก็จะมีกระแสโจมตีอีกเป็นธรรมดา
เราได้ขอสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ของสถาบันจุฬาภรณ์ด้วย เนื่องจาก อบจ.ไม่มีกองสาธารณสุข หากปทุมธานีเราได้บุคลากรทางการแพทย์ พอได้วัคซีนมาผมจะฉีดให้กับพ่อค้าและแม่ค้าในตลาดก่อน เพราะผมถือว่าที่ผ่านมาการแพร่เชื้อส่วนใหญ่จะเป็นที่ตลาดทั้งนั้น ส่วนประชาชนก็มาขอฉีดได้ที่เรากำหนด ซึ่งต้องหารือกันอีกครั้งว่าสถานที่นั้นเหมาะสมหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ประชาชนสะดวกที่สุดในส่วนของยาฟาวิพิราเวียร์ผมจะตั้งงบประมาณซื้อไว้หากใครเป็นโควิด-19 สามารถมารับยาที่ อบจ.ปทุมธานี หรือสถาบันจุฬาภรณ์ได้ทันที.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: