กรุงเทพฯ-กระทรวงพาณิชย์“จุรินทร์” เดินเครื่องส่งออกไทยเต็มสูบปลดล็อคนำเข้าตู้คอนเทนเนอร์สินค้าขาดแคลน เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ด้านหอการค้าไทยในฐานะแทนภาคภาคเอกชนขอบคุณเวทีถกร่วมการแก้ปัญหาเชิงรุกตรงจุด มั่นใจขีดความสามารถการส่งออก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความมุ่งมั่นภายใต้แนวคิดการบริหารจัดการส่งออกไทยอย่างน่าสนใจว่า การบริหารจัดการทางด้านการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ ประสบความสำเร็จ เกิดจากพลังร่วมการทำงาน จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะกับภาคเอกชน ภายใต้การทำงาน“คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์” หรือกรอ.พาณิชย์ กลไกลสำคัญ ในการหารือกำหนดเป้าหมายร่วมกัน แก้ปัญหาอุปสรรคด้านการส่งออกต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ส่งออกซึ่งมีปัญหาเรื่องด้านต้นทุนการขนส่งสินค้าท่าเรือได้เร่งเจรจาและติดตามอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมท่าเรือแหลมฉบัง โดยมี ร้อยตำรวจตรี มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมด้วย เรือเอก กานต์ เมนะรุจิ รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง และผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง ร่วมให้การต้อนรับ ในโอกาสลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการนำเรือขนาดมากกว่า 300 เมตร แต่ไม่เกิน 400 เมตร เข้ามาในประเทศไทย ณ ท่าเทียบเรือ D บริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ประสาน บริษัท เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด นำเรือ MSC Amsterdam ที่มีความยาว 399 เมตร เข้ามาในประเทศไทย เพื่อนำตู้เปล่าเข้ามาและรับตู้สินค้าจากผู้ส่งออกไทย ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าในประเทศ
“ผมมุ่งมั่นผลักดันการส่งออกร่วมกันอย่างชัดเจนในเชิงรุก โดยเฉพาะการลดต้นทุนการส่งออกเพราะต้องขนสินค้าลงเรือขนาดกลาง และเล็กจากแหลมฉบังไปถ่ายสินค้าขึ้นเรือใหญ่ที่สิงคโปร์ ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการส่งออก ทางกระทรวงได้ทำงานร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย ต้องขอขอบคุณซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และภาคเอกชนในการแก้ปัญหาตู้สินค้าอย่างจริงจัง ติดตามผลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง โดยปลดล็อกให้เรือขนาดใหญ่ 400 เมตรสามารถเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือแหลมฉบังได้ โดยขนตู้เปล่ามา 6,000 ทีอียู ช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกได้ 1.2 หมื่นล้านบาท และในช่วงเดือนมิถุนายนจะขนตู้เปล่าเข้ามาได้ 6 พันถึง 1 หมื่นตู้ต่อลำ ลดต้นทุนและขนตู้เปล่าและตู้ที่มีสินค้าเข้ามาได้มากขึ้น”
ทางด้าน ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย กล่าวว่า ภาคเอกชนโดยหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยขอขอบคุณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน ตู้คอนเทนเนอร์สินค้าร่วมกับภาคเอกชน เชื่อมั่นพลังร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนผ่านเวที กรอ.พาณิชย์ การผลักดันการแก้ไขปัญหา พร้อมเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในประเด็นต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ตามที่รัฐบาลได้เห็นชอบให้กรมเจ้าแก้ไขประกาศใหม่ และอนุญาตให้เรือ 300-400 เมตรสามารถเข้าเทียบท่าได้เป็นระยะเวลา 2 ปี โดยปัจจุบันมีเรือเข้ามาตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นเรือขนาด 399 เมตร มีความสามารถในการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์สินค้ามากกว่าเรือบรรทุกที่ต่ำ กว่า 300 เมตรเพื่อนำให้มีตู้ขาเข้า และมีตู้คอนเทนเนอร์สินค้าเปล่าเข้ามามากขึ้น และด้วยการผลักดันแก้ไขปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์สินค้าของกระทรวงพาณิชย์ โดยท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีเรือเข้ามาแล้ว 7 ลำ สามารถบรรทุกตู้เปล่าเข้ามาประมาณ 23,000 ตู้ และสามารถขนสินค้าออกไปได้ประมาณ 458,000 ตัน รวมมูลค่าการส่งออกประมาณ 35,000 ล้านบาท
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: