นครพนม – ร.3 พัน.3 นำ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” มาปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา” โมเดล เพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านวิชาการเกษตรสมัยใหม่ ให้สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิผล
วันที่ 1 มิ.ย. 2564 ณ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 ค่ายพระยอดเมืองขวาง ต.กุรุคุ อ.เมือง จ.นครพนม นำโดยพันโท ศรณณัฐ นวลมณี ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 (ผบ.ร.3 พัน 3) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โคก หนอง นา โมเดล โดยดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา” โมเดล ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วย เพื่อเป็นแหล่งความรู้ด้านวิชาการเกษตรสมัยใหม่ ให้สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิผล จึงได้มอบหมายให้กำลังพลนำความรู้ด้านการเกษตรนำไปประยุกต์ใช้และปฏิบัติซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน ประหยัด เหมาะสมกับสภาพสังคมภายในค่ายฯ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงได้เกิดโครงการฯที่ได้นำ “ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นำองค์ความรู้มาปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ และคาดว่าจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 ได้น้อมนำแนวทางตามพระราชดำริมาดำเนินการของหน่วยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กำลังพลและครอบครัว ศึกษาและเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผลต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
ด้านพันโท ศรณณัฐ นวลมณี ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 3 (ผบ.ร.3 พัน 3) กล่าวว่าโคก หนอง นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ที่เป็นการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ เป็นแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
1. โคก : พื้นที่สูง ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก พื้นที่บนโคกจะทำกาาปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ คือปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย รวมทั้งปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
2. หนอง : หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ ทำฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
3. นา : พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา
โดยโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โคก – หนอง – นา โมเดล เป็นการให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเอง โดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้นอย่างเป็นระบบ ซึ่งโคก – หนอง – นา โมเดล เป็นแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: