วันที่ 13 พ.ย. 61 ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากเกษตรกร ในพื้นที่ ต.หนองรี และต.ซับสมบูรณ์ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี ว่าขณะนี้ได้เกิดเท้าปากเปื่อยโรคระบาดอย่างหนัก โรคลุกลามอย่างรวดเร็วยังไม่สามารถควบคุมได้ เกษตรกรด้วยกันเองต้องลงทุน เรี่ยไรเงินหาวัคซีน ยาฉีดพ่นป้องกันกันอย่างสุดความสามารถ เนื่องจากขณะนี้มีวัวนมที่ป่วยตายไปแล้วหลายฟาร์ม กว่า 10 ตัว ซึ่งเกษตรกรเกรงว่าถ้าหากระบาดจนไม่สามารถควบคุมได้ น้ำนมที่ผลิตได้ต่อวันกว่า 70-80 ตันต่อวันใน อ.ลำสนธิ มูลค่าความเสียหายจากวัวป่วย ตาย และน้ำนมวันละหลายล้านบาท
นายเดชา เกษร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 หมู่บ้านวังแสนดี ต.หนองรี อ.ลำสนธิ ลพบุรี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่าเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 61 ที่ผ่านมาทางราชการได้ประกาศโรคเท้าปากเปื่อยระบาด ได้มีเกษตรกรรายหนึ่งบ้านโชคชัย หมู่ที่ 8 ต.หนองรี ได้ไปซื้อวัวนมราคาถูกมาเลี้ยงโดยไม่ทราบว่าเป็นโรคเท้าปากเปื่อย หลังจากนำมาเลี้ยงได้ไม่นานวัวได้ล้มป่วย กินไม่ได้ เดินไม่ได้ เซื่องซึมและล้มตายไปประมาณ 5-6 ตัว จึงได้รู้ว่าวัวติดเชื้อโรคเท้าปาก และได้เริ่มแพร่กระจายไปยังฟาร์มใกล้เคียงถึง 7-8 ฟาร์ม อย่างรวดเร็ว เกษตรกรได้พยายามป้องกันแต่ก็เป็นไปได้ยากเนื่องจากมีทั้งประชาชน ยวดยานพาหนะที่นำเชื้อโรคเท้าปากเข้าออกใน อ.ลำสนธิตลอดเวลา
ข่าวน่าสนใจ:
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- นครพนม เปิดคลิป วัยรุ่น เหิมหนัก ยกพวกใช้มีดไล่ฟันคู่อริ พร้อมทุบทำลายทรัพย์สินอย่างไม่เกรงกลัวกฏหมาย
- โหดเหี้ยม!หนุ่มถูกมีดฟันยับดับกลางถนน คาดทะเลาะในวงเหล้า
ในวันนี้จึงได้ร่วมกันตั้งจุดสกัดฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคตามเส้นทางเข้าออกต่างๆ ทั่วทั้ง อ.ลำสนธิ โดยเกษตรกรได้เรี่ยไรเงินกันเอง เพื่อป้องกันวัวนมสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีราคาไม่ต่ำกว่าตัวละ 50,000 บาทไว้ให้ได้ ซึ่งขณะนี้มีวัวนมทยอยตายไปแล้วกว่า 10 ตัว และยังมีที่ป่วยอีกจำนวนมาก โดยได้รับรายงานว่าที่ บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ก็มีวัวนมเริ่มทยอยเจ็บป่วยล้มตายแล้ว ทั้งนี้ เกษตรกรได้ร้องขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยลงพื้นที่ ดำเนินการตามขั้นตอนในการป้องกัน รักษาให้กับเกษตรกรในพื้นที่ด้วย ส่วนวัวที่ตายเกษตรกรได้ไปจ้างรถแบคโฮมาเพื่อทำการขุดฝังกลบพร้อมยาฆ่าเชื้อแล้ว
และเมื่อเวลา 11.00 น. นายเดชา เกสร ผญบ. หมู่ที่ 7 บ้านวังแสนดี อต.หนองรี ได้กล่าวขอร้องผู้ที่ใช้รถใช้ถนนตามเส้นทาง ขอความร่วมมืออย่าหลีกเลี่ยงเส้นทางฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคปากเท้าเปื่อยได้ ขณะนี้เชื้อได้แพร่กระจายไปอย่างไม่ยอมหยุด ผญบ.ยังกล่าวอีกว่าทางปศุสัตว์อำเภอ และทางสัตวแพทย์ ได้กล่าวว่าถ้าหากเชื้อยังระบาดอยู่อย่างนี้จะต้องปิดการรับซื้อชั่วคราว ซึ่งทางเกษตรกรรับไม่ได้กับคำแนะนำนี้ ซึ่งปศุสัตว์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องน่าจะรีบรุดลงพื้นที่ ในการตรวจสอบ ป้องกัน และหามาตรการการควบคุมการแพร่ของโรคระบาดนี้ให้กับเกษตรกรในเบื้องต้น ซึ่งขณะนี้เกษตรก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันเอง เรี่ยไรเงินกันเอง หากจะต้องปิดการรับซื้อน้ำนมดิบทั้งหมดใน อ.ลำสนธิ ฟาร์มที่ไม่ได้รับผลกระทบจะต้องเดือดร้อน แบกภาระค่าใช้จ่าย และทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากน้ำนมวัวดิบที่นี่มีปริมาณวันละ 80 ตันต่อวัน มูลค่าหลายล้านบาท
ด้านนายเฉียว สุขวงศ์ อดีตนักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษข้าราชการบำนาญกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำแนะนำกับเกษตรกรเลี้ยงโคนม อ.ลำสนธิ ในการกำหนดเส้นทางการขนย้ายสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ต้องกำหนดเส้นทางไม่ให้ผ่านในเส้นทางสมาชิกผู้ที่เลี้ยงโคนม สมาชิกไม่ควรไปซื้อสัตว์จากภายนอกเข้ามาในฟาร์มโดยไม่มีการตรวจสอบเรื่องโรค หรือที่มาของฟาร์ม ยานพาหนะทุกชนิดที่เข้าและออกฟาร์มต้องฉีดพ่นฆ่าเชื้อป้องกันทุกครั้ง และเกษตรกรไปบริโภคอาหารภายนอกจากเนื้อสัตว์ที่มีกีบอาจจะมีเชื้อต้องระมัดระวัง แนวทางการแก้ไขในเบื้องต้นปศุสัตว์อำเภอ และสมาชิก ผจก.สหกรณ์โคนมต้องมีการวางแผนและทำความเข้าใจให้กับเกษตรกร
ล่าสุดเมื่อเวลา 13.00 น. นายมนูญ อินอ่ำ ประธานสหการณ์โคนมไทย-เดนมาร์ค กล่าวถึงสาเหตุการระบาดของโรคที่ทา่งเกษตรกรบางรายนำวัวที่เป็นโรคเข้ามาในพื้นที่ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการควบคุมไม่ดีทำให้เชื้อแพร่กระจาย แต่ในส่วนของสมาชิกส่วนใหญ่ได้มีการฉีดวัคซีน ควบคุมการอย่างดีฉีดวัคซีนปีละ 3 ครั้ง แต่ไม่ทราบว่าทำไมปีนี้ทำไม่ไม่สามารถควบคุมการแพร่เชื้อของโรคได้ ขณะนี้เชื้อโรคได้แพร่กระจายไปทั่วแทบทุกฟาร์มแล้ว ทางปรพะธานเองได้ให้สมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้ช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอภาครัฐ โดยการขอกำลังจากเกษตรกรเอง และทหารในพื้นที่ฉีดพ่นยานพาหนะทุกชนิดตามเส้นทาง อ.ลำสนธิ และวิงวอนขอให้ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนอย่ารำคาญ ขอให้เห็นใจเกษตรที่เดือดร้อน
ส่วนความเสียหายในเบื้องต้นขณะนี้มีฟาร์มโคนมที่ติดเชื้อโรคแล้ว 15 ฟาร์ม ฟาร์มที่ ใหญ่ที่สุดส่งน้ำนมดิบวันละประมาณกว่า 500 กิโลกรัมก็ต้องหยุดส่งนม มีวัวนมตายไปแล้ว 3-4 ตัว และ การประเมิณสถานการณ์ วัวที่ยังมีอาการไม่ดียังมีอีกมาก การควบคุมโรคก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ ค่าเสียหายกับเกษตรเป็นจำนวนมาก น้ำนมดิบในสหกรณ์นี้รับน้ำนมวันละกว่า 60 ตัน ต่อวัน จะทำเช่นไร ยังหาทางออกไม่ได้การป้องกันคงไม่ใช่ ตอนนี้ป้องกันไม่ได้แล้วต้องแก้ไขอย่างเดียว
ประธานโคนมยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยความกังวลว่าอยากให้ภาครัฐ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบ ลงพื้นที่อย่ามัวแต่รอรับคำสั่ง ขอให้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเชื้อโรคจริง ว่ามันเกิดจากเชื้ออะไรกันแน่ ปกติทางเกษตรกรที่นี่ฉีดวัคซีนให้กับวัวนมทุกปีควบคุมโรคได้ 100 เปอเซ็น และสามารถควบคุมได้ แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ มันเป็นเชื้ออะไรกันแน่ ทางเรามีความกังวลเป็นอย่างมาก ภาครัฐ หน่วยงานรับผิดชอบน่าจะทำงานให้เร็วกวานี้ อย่ามัวแต่รอรับคำสั่งรายงานสถานการณ์ไดยไม่เคยลงพื้นที่เลย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: