ตรัง ตรวจประเมินสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้าGI) “หมูย่างเมืองตรัง” ด้านม.สวนดุสิต-ตรัง คิดนวัตกรรมเตาย่างหมูเมืองตรังต้นแบบ ลดต้นทุนเชื้อเพลิง ย่นระยะเวลาย่างจาก 3 ชั่วโมง เหลือเพียง 1ชั่วโมงครึ่ง
วันที่ 2 ก.ค. 64 เวลา 05.00 น. ที่โรงย่างหมู สินไชยหมูย่าง ถ.ตรัง – ปะเหลียน ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง พร้อมด้วย คณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้าGI) “หมูย่างเมืองตรัง” ประกอบด้วย ปศุสัตว์จังหวัดตรัง ผู้แทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง พาณิชย์จังหวัดตรัง อุตสาหกรรมจังหวัดตรัง ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ตรัง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงพื้นที่ตรวจประเมินผู้ประกอบหมูย่างในจังหวัดตรัง ตามหลักเกณฑ์การขอใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้าGI) “หมูย่างเมืองตรัง” ซึ่งได้กำหนดแผนการตรวจประเมินตามจำนวนที่ผู้ประกอบการสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 25 ราย ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 9 กรกฎาคม 2564 โดยภายหลังจากการตรวจประเมินเสร็จสิ้นแล้ว คณะทำงานฯ จะนำผลการตรวจประเมินเข้าที่ประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาตามลำดับต่อไป
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรังและคณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้าGI) “หมูย่างเมืองตรัง” ได้ตรวจสถานประกอบการทั้งระบบ เก็บตัวอย่างหมูย่างเพื่อตรวจคุณภาพ ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ โดยนายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผวจ.ตรัง กล่าวว่า จังหวัดตรังได้สนับสนุนงบประมาณให้กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง ซึ่งเป็นงบประมาณงานวิจัยสำหรับการทำGI ของผู้ประกอบการหมูย่าง ซึ่งมองเห็นว่าสินค้าหมูย่างเมืองตรังเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ซึ่งใครมาถึงเมืองตรังต้องชิมหมูย่างของจังหวัดตรัง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเรื่องของความกรอบอร่อย ดังนั้นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้าGI) “หมูย่างเมืองตรัง” ถือว่าเป็นแบรนด์ของทั้งถิ่น เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของหมูย่างที่ผลิตในจังหวัดตรัง ฉะนั้นหมูย่างที่ย่างในพื้นที่อื่นไม่สามารถนำคำว่าหมูย่างเมืองตรังไปใช้ได้ จริงๆแล้วผู้ประกอบการหมูย่างในจังหวัดหลายราย และทางจังหวัดได้ตั้งเป้าผู้เข้าประเมินไว้เพียง 15 ราย แต่ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการจนสมัครเข้ามาถึง 25 ราย ทางม.สวนดุสิตฯ รับประเมินทั้ง 25 ราย เพราะถือว่าตราGI เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการหมูย่าง ซึ่งผู้ยื่นความประสงค์ทั้ง 25 ราย ได้ผ่านการอบรมกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สินค้าGI) “หมูย่างเมืองตรัง” มาแล้ว
อาจารย์ สุภาวดี นาคบรรพ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการประกอบอาหารและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งตรัง กล่าวว่า ได้คิดค้นเตาหมูย่างต้นแบบซึ่งเป็นเตานวัตกรรมที่ใช้เพื่อใช้ทดแทนเตาหมูย่างแบบดั้งเดิม โดยใช้แก๊สแอลพีจี หรือ แก๊สหุงต้มทดแทนการใช้ไม้ฟืน ซึ่งช่วยเรื่องประหยัดค่าเชื้อเพลิงที่จากเดิมที่ใช้ไม้ฟืน คิดเป็นค่าเชื้อเพลิงต่อครั้งสูงถึง 400 บาท แต่หากใช้เตาหมูย่างนวัตกรรมจะมีค่าเชื้อเพลิงเพียง 80 บาทต่อการย่างหนึ่งครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ในการการย่างลดลงจากเดิม 3 ชม. เหลือเพียง 1.5ชั่วโมง และสามารถย่างได้ทั้งวันเนื่องเตานวัตกรรมไม่ปล่อยความร้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และนักเดินทางที่เดินทางมายังจังหวัดตรัง ให้สามารถซื้อหาหมูย่างเป็นของฝาก เพราะวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของจ.ตรัง คือ หมูย่างเมืองตรังจะย่างตอนเช้าตรู่ และนำออกขายในช่วงเช้าของทุกวัน เมื่อถึงเวลาเที่ยงหมูย่างจะหมด เดิมนักต้องเที่ยวจะซื้อหมูย่างเก็บไว้ตั้งแต่ช่วงเช้า แล้วกลับภูมิลำเนาในช่วงบ่ายหรือเย็น ซึ่งกว่าจะกลับถึงบ้านปรากฏว่าหมูย่างมีความกรอบลดลง ความอร่อยลดลง ทางมหาวิทยาลัยสวนดุสิตฯ จึงพัฒนาเตาหมูย่างขึ้นเพื่อใช้ย่างหมูย่างเป็นของฝากรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต สำหรับเตาต้นแบบที่ใช้ในโรงหมูย่างสินไชยแห่งนี้ เป็นเตาต้นแบบใช้เงินลงทุนประมาณหลักแสน แต่หากมีการใช้อย่างแพร่หลายสามารถลดต้นทุนค่าผลิตเตาได้เพื่อให้ผู้ประกอบการหมูย่างเข้าถึงได้ง่าย
ข่าวน่าสนใจ:
ในขณะเดียวกันรสชาติของหมูย่างแบบเตาย่างนวัตกรรมกับเตาย่างแบบดั้งเดิมไม่ได้แตกต่างกัน จากการวิจัยและให้กลุ่มตัวอย่างทดลองชิมรสชาติ และ ความกรอบแล้ว กลุ่มตัวอย่างผู้ชิมมีความชื่นชอบเช่นเดียวกัน และ ไม่สามารถแยกได้ว่าตัวไหนย่างจากเตาแบบตั้งเดิม ตัวไหนย่างจากเตานวัตกรรม และมีคะแนนความชื่นชอบจากกลุ่มตัวอย่างผู้ชิมไม่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตามจังหวัดตรังได้ให้ความสำคัญกับตราสินค้าGI หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และใช้ตราสินค้าGI ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลา 7 ปี และมีการใช้ตราไปแล้ว 2 รอบ การตรวจครั้งนี้เป็นรอบที่ 3 และจากการที่เราเข้าไปตรวจมาตรฐานGI ซึ่งเป็นการตรวจความดั้งเดิม “หมูย่างเมืองตรัง” ซึ่งหมูย่างที่จะใช้คำว่าหมูย่างเมืองตรังได้ ต้องเป็นหมูย่างที่ย่างในจังหวัดตรังเท่านั้น หากเป็นหมูย่างที่ย่างในจังหวัดอื่นจะไม่สามารถใช้คำว่าหมูย่างเมืองตรังได้ เพราะคำว่า“หมูย่างเมืองตรัง” เป็นลิขสิทธิ์ แต่ให้ใช้คำว่า “หมูย่างสูตรเมืองตรังแทน”
ทั้งนี้หมูย่างเมืองตรัง ที่ย่างในจังหวัดตรัง แม้บางรายใดไม่มีตราGI ก็ยังคงใช้วิธีย่างแบบภูมิปัญหาดั้งเดิมตามแบบฉบับของคนตรังก็สามารถใช้คำว่า “หมูย่างเมืองตรัง” ได้ เพราะถือว่าเป็นสินค้าของท้องถิ่น เป็นภูมิปัญญาของชุมชน
ซึ่งการตรวจมาตรฐานGIในครั้งนี้ จังหวัดตรังต้องการการันตีว่าหมูย่างรายใดบ้างที่ผ่านการรับรองความเป็นดั้งเดิม สามารถใช้คำว่าหมูย่างเมืองตรังได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยผู้ประกอบการหมูย่างในจังหวัดตรังที่ยังดำเนินกิจการอยู่อย่างต่อเนื่อง มีประมาณ 40 ราย สมัครเข้ารับมาตรฐานGI จำนวน 25 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนตรวจประเภทแต่ละโรงจนถึงวันที่ 10 ก.ค.นี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: