ปทุมธานี คลายล็อก 4 กิจการก่อสร้าง และเตรียมพื้นที่โรงพยาบาลสนามทุกอำเภอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ห้องประชุม 1 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี อ.เมือง จ.ปทุมธานี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ประชุมได้หารือมาตรการผ่อนปรนเพิ่มเติม หลังจากที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของรัฐบาลมีมติกำหนด และผ่อนปรนมาตรการที่สำคัญ
ข่าวน่าสนใจ:
- หลวงพ่อสุริยันต์ เผยยอดมหากฐินถวาย วัดป่าวังน้ำเย็น ทะลุ 90 ล้านบาท
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังเตรียมตั้งนิคมอุตสาหกรรม 1 พันไร่ รองรับพื้นที่ EEC
- ชุดปฏิบัติการพิเศษฯตามจับ "เอ็ม ท่าผักชี" แก๊งค้ายาบ้าพื้นที่เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
- บุรีรัมย์ ชาวบุรีรัมย์ร่วม 2 หมื่นคน พร้อมใจกันสวมใส่เสื้อเหลือง เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต
คำสั่งจังหวัดปทุมธานี ที่ 6589 / 2564 เรื่อง การผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง
ตามที่จังหวัดปทุมธานี ได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติไปแล้ว นั้น โดยศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 แจ้งว่าตามที่นายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
(ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ซึ่งได้กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดปริมณฑล อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อพิจารณามีคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้างขนาดใหญ่ประเภทต่าง ๆ และสถานที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับแรงงานก่อสร้างรวมทั้งห้ามการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 30 วัน ในการนี้ นายกรัฐมนตรี โดยข้อเสนอของศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก.ศบค. ได้อนุมัติในหลักการให้ผ่อนคลายคำสั่งห้ามการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างบางประเภท ซึ่งการหยุดก่อสร้างชั่วคราวอาจจะส่งผลกระทบให้ความเสียหายเชิงโครงสร้างทางวิศวกรรมหรือโครงการก่อสร้างบางประเภทที่มีความจำเป็นอันสมควรได้รับการยกเว้น และการเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้าง เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และประโยชน์ด้านสาธารณสุข
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 และมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ประกอบกับข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 ข้อ กำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 คำสั่งศูนย์บริหารราชการในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 และ หนังสือศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 ด่วนที่สุด ที่ นร 0801.01/8082ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2564 เรื่อง อนุมัติในหลักการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 34/2564 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 จึงให้ผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงาน ก่อสร้างในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ดังนี้
1. การอนุญาตการก่อสร้างโครงการก่อสร้างบางประเภท
(1.1) โครงการก่อสร้าง ซึ่งหากหยุดก่อสร้างในทันทีหรือการดำเนินการล่าช้าอาจก่อให้เกิดความเสียหายเชิงโครงสร้างด้านวิศวกรรมจนยากต่อการแก้ไข หรือเกิดอันตรายแก่ประชาชนที่สัญจรไปมาหรือชุมชนโดยรอบโครงการก่อสร้าง เช่น โครงการก่อสร้างใต้ดินที่มีความลึก การก่อสร้างชั้นใต้ดินที่ยังไม่ได้เทปูนปิดล้อม หรือการก่อสร้างอื่น ๆ
(1.2) การก่อสร้างโครงสร้างชั่วคราว ซึ่งการหยุดก่อสร้างในทันทีหรือดำเนินการล่าช้าจะได้รับความเสียหายจนเกิดอันตรายแก่ประชาชนที่สัญจรไปมาหรือชุมชนโดยรอบโครงการก่อสร้าง เช่น นั่งร้านหรือแบบรอการเทปูนโดยเฉพาะแผ่นพื้น
(1.3) การก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจรแบร์ริเออร์กั้นช่องการจราจร หรือแผ่นเหล็กปิดงานก่อสร้างบนผิวจราจร
(1.4) การก่อสร้างในสถานที่ก่อสร้างที่มีความเกี่ยวช้องกับมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ด้านสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาล สถานพยาบาลหรือสถานที่ก่อสร้างอื่น ๆ ที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคมอบหมายให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานีเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุญาตโครงการก่อสร้างที่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 โครงการก่อสร้างประเภทตาม (1) – (8) เป็นรายกรณี
2. การอนุญาตเคลื่อนย้ายแรงงานก่อสร้าง อนุมัติผ่อนคลายการคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานประเภทก่อสร้างจากสถานที่พักชั่วคราวทั้งกรณีข้ามเขตจังหวัดหรือภายในเขตจังหวัดเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคโควิด – 19 เช่น การรักษา พยาบาล การควบคุมป้องกันโรค การตรวจสุขภาพ การตรวจวินิจฉัย หรือการฉีดวัดซีนมอบหมายให้จัดหางานจังหวัดปทุมธานีเป็นผู้พิจารณาตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด เป็นรายกรณี
3. ให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดปทุมธานี กำกับและติดตามการดำเนินการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างที่มีเหตุจำเป็นที่ได้รับการผ่อนคลายต้องดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันโรคโควิด – 19ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด
4. การปิดการก่อสร้างขนาดเล็ก กรณีการก่อสร้างขนาดเล็กซึ่งไม่ถูกห้ามตามข้อกำหนด(ฉบับที่ 25) หากผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นว่าหากปล่อยให้การก่อสร้างดังกล่าวดำเนินต่อไปอาจเป็นเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของโรคโควิด – 19 เป็นวงกว้างอันจะไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของข้อกำหนด(ฉบับที่ 25) ผู้ว่าราชการจังหวัด อาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณามีคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง
หรือหยุดการก่อสร้างนั้น ตามหน้าที่และอำนาจในข้อกำหนด (ฉบับที่ 24) ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2564
5. การสร้างการรับรู้แก่ประชาชน ให้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการและประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ซึ่งไม่ห้ามการก่อสร้างโครงการขนาดเล็กและไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานจำนวนมากอันเป็นเหตุให้เกิดการแพร่กระจายของโรค และให้จัดให้มีช่องทางสำหรับประชาชนหรือผู้ประกอบการในการสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินการตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่ออกตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25)
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีความผิดตามมาตรา18แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิดตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องในบรรดาประกาศและคำสั่งที่ได้ออกไว้ก่อนหน้านี้ให้มีผลบังคับใช้ได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ อนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสั่ง ณ วันที่ 6กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม) ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดปทุมธานี
ในครั้งนี้ ได้มีการประชุมเตรียมพื้นที่ในการทำโรงพยาบาลสนามในทุกอำเภอ เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อในจังหวัดปทุมธานี และการบริหารจัดการวัคซีนทางเลือก”ชิโนฟาร์ม” ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นวัคซีน ที่มีความต้องการ และขอรับการจองสั่งซื้อวัคซีนทางเลือก”ชิโนฟาร์ม”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: