กรุงเทพฯ – ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบ จ่ายเงิน ‘เยียวยาผู้ประกันตน’ มาตรา 33 39 และ 40 ใน 3 จังหวัดใหม่พื้นที่สีแดงเข้ม พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เท่า 10 จังหวัดเดิม
วันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ผ่านระบบการประชุมทางไกล Video Conference มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการประกาศล็อกดาวน์พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) เพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชลบุรี และฉะเชิงเทรา รวมเป็น 13 จังหวัด โดยให้จ่ายเงินชดเชยตามมาตรการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 39 และ 40 ในระบบประกันสังคม
ซึ่งจะได้รับเงินเยียวยาภายหลังจาก คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้พิจารณาแล้ว จากนั้น ต้องนำกลับเข้ามาเสนอให้คณะรัฐมนตรี รับทราบอีกครั้ง
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า ใน 3 จังหวัดที่จะได้รับการเยียวยาเพิ่มเติมนี้ มีผู้ประกันตนมาตรา 33 แบ่งเป็น ลูกจ้าง 272,000 คน และนายจ้างกว่า 19,000 ราย ใช้งบประมาณจากเงินกู้ 1,500 ล้านบาท
ข่าวน่าสนใจ:
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
- หญิงไทยเสียชีวิตปริศนา แฟนต่างชาตินอนอยู่กับศพ 3 วัน ตำรวจเร่งสอบหาสาเหตุ
- มุกดาหาร -เลขาธิการ ป.ป.ส. ควงแม่ทัพภาค 2 ลงเรือตรวจสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทย-ลาว จ.มุกดาหาร
ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 จังหวัดชลบุรี มีประมาณ 91,000 ราย, จังหวัดฉะเชิงเทรา 23,000 ราย และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 34,000 ราย ใช้งบเงินกู้ 5,000 ล้านบาท
ประเภทกิจการที่จะให้ความช่วยเหลือ 9 สาขา ประกอบด้วย
1.กิจการก่อสร้าง
2.กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร
3.กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิง และนันทนาการ
4.กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ
5.สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่ง และการขายปลีก
6.การซ่อมยานยนต์
7.สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
8.สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
9.สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร
รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ
กลุ่มแรงงาน มาตรา 33 จะได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโควิด-19 ในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมในอัตรา 2,500 บาทต่อคน (สัญชาติไทย) จำนวน 1 เดือน ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม จากการให้ความช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคม
ผู้ประกอบการหรือนายจ้าง มาตรา 33
จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 1 เดือนฅ
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40
สัญชาติไทย
ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน
จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน
ส่วนผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40
สัญชาติไทย
ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท ต่อคน จำนวน 1 เดือน
กลุ่มผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ดำเนินการ ดังนี้
กรณีเป็นผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนนายจ้างในระบบประกันสังคม พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน ลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน
ทั้งนี้ ลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวคุณสมบัติไม่ครบตามเงื่อนไข การให้ความช่วยเหลือจากระบบประกันสังคม จึงทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากระบบประกันสังคม
อ่านข่าวก่อนหน้านี้ :
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: