ฉะเชิงเทรา – ห้ามแรงงาน เข้าพื้นที่เด็ดขาด หลังพบกว่า 2 หมื่นคนจรไปกลับ ต้นเหตุการระบาดซ้ำซากใน จ.ฉะเชิงเทรา ผู้ว่าฯ ชี้จุดบอดเองเผยมีมากถึงกว่า 200 บริษัท ล่าสุดสั่งปิดโรงงานขนาดใหญ่มีแรงงานมากถึงกว่า 4.3 พันคนนาน 14 วัน พบผู้บริหารเมินมาตรการควบคุมโรค ปล่อยละเลยแรงงานกลุ่มเสี่ยงให้กลับเข้ามาทำงานในแผนกอื่นแทนไลน์การผลิตที่ปิดลงหลังพบเชื้อ จนเกิดการระบาดซ้ำภายใน ทั้งยังแพร่กระจายออกไปสู่คนในครอบครัวกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่
วันที่ 20 ก.ค.64 เวลา 14.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้กล่าวระหว่างการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและชี้แจงตอบข้อซักถามจากสื่อมวลชน (ผู้ว่าพบสื่อ) ภายในห้องมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ชั้น 4 ศาลากลาง จ.ฉะเชิงเทรา ว่าขณะนี้ได้สั่งห้ามแรงงานจากภายนอกพื้นที่เข้ามาทำงานแบบเช้ามาเย็นกลับ เดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา อย่างเด็ดขาดแล้ว
ข่าวน่าสนใจ:
- ปราจีนบุรี ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นปันน้ำใจ ฉะเชิงเทรา-หนองคาย
- สยบข่าวลือ สจ.ธรรมชาติ หนีซุกเขมร หลังถูกทนายดังแฉเอี่ยวรีดเว็บพนัน
- จนมุมเพราะไก่ชน!! ตำรวจบางละมุงวางแผนเหนือเมฆ หลอกแก๊งค์ค้ายานรกมาซื้อไก่ชน ก่อนตามรวบยกแก๊งค์ ยึดยาบ้าแสนเม็ด - ไอซ์ 1 กก. พร้อมรถ 2 คัน…
- ธุรกิจโก-ลกเริ่มหวั่น! นทท.ลดฮวบ-หลังมาเลย์ดีเดย์ 1 ธค.เข้า-ออกผิดกฎหมาย - จับทันที
หลังมีข้อมูลล่าสุดพบว่าใน จ.ฉะเชิงเทรา มีแรงงานที่เดินทางเข้ามาทำงานในลักษณะเช้ามาเย็นกลับเป็นจำนวนมากถึงกว่า 2 หมื่นคน ในสถานประกอบการกว่า 200 แห่ง จากทั้งหมดกว่า 2 พันแห่ง เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานที่เดินทางเข้ามาทำงานจากในพื้นที่สีแดงเข้มงวดสูงสุด ทั้งจากในกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี ส่งผลทำให้ จ.ฉะเชิงเทรา ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 ได้
เนื่องจากแรงงานเหล่านี้เข้ามาทำงานในพื้นที่เป็นเวลาเพียง 10 ชม. ส่วนอีก 14 ชม. ผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะควบคุมแรงงานเหล่านี้ได้ ว่าได้เดินทางไปยังที่ใดมาบ้าง จึงส่งผลทำให้ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นจังหวัดไข่แดงที่อยู่ท่ามกลางวงล้อมของจังหวัดสีแดงเข้มควบคุมสูงสุด จนถูกยกระดับให้เป็นจังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มและควบคุมสูงสุดตามไปด้วย จากการประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์เพิ่มเติมซึ่งมีผลในวันนี้อีก 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา) เช่นเดียวกันกับจังหวัดที่แรงงานเหล่านี้เดินทางกลับไปพักผ่อนอยู่อาศัย
สำหรับการแก้ไขปัญหาคลัสเตอร์โรงงาน จากมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีมติว่า ต่อไปโรงงานต้องทำแผน 4 แผน แผนแรกคือคนหรือคนงาน ว่าต้องปฏิบัติตนอย่างไร เดินทางและอยู่อย่างไร จึงมีมติห้ามคนงานที่ไม่นอนใน จ.ฉะเชิงเทรา ห้ามเข้ามาในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา โดยให้ผู้ประกอบการกลับไปบริหารไลน์การผลิตเอง หรือให้จัดหาที่พักให้แก่คนงานเพื่อไม่ให้ข้ามจังหวัดมา
ส่วนแผนที่ 2 เรื่องการเดินทางการจัดรถรับส่ง มีการจัดเว้นระยะห่างเว้นที่นั่งให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อในรถระหว่างการเดินทาง ส่วนแผ่นที่ 3 คือแผนโรงงาน โดยก่อนจะเข้าทำงานต้องมีการคัดกรอง มีการเว้นระยะห่าง มีการใส่แมสก์หรืออุปกรณ์ป้องกัน สำหรับแผนสุดท้ายคือแผนเผชิญเหตุ ถ้ามีคนงานติดเชื้อผู้ประกอบการจะต้องมีสถานที่พักคอยและจุดกักกันผู้มีความเสี่ยงสูง
โดยทั้ง 4 แผนนี้ทุกโรงงานจะต้องปฏิบัติตั้งแต่วันนี้ (20 ก.ค.64) เป็นต้นไป หากโรงงานใดมีการติดเชื้อแม้แค่เพียงรายเดียวและไม่มีการเตรียมแผนนี้ไว้ จะสั่งปิดโรงงานก่อนในทันทีเป็นเวลา 14 วัน แต่หากทางผู้ประกอบการโรงงานสามารถที่จะเข้ามาชี้แจงได้ ทั้งแผนคนแผนเดินทาง แผนโรงงาน และแผนเผชิญเหตุ หากมีครบถ้วนและสามารถควบคุมได้ จึงจะอนุญาตให้เปิดดำเนินกิจการต่อไปได้ก่อนครบ 14 วัน
ส่วนโรงงานซึ่งเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่นั้น ล่าสุดในวันนี้ได้มีการสั่งปิดเป็นเวลา 14 วันไปแล้ว 2 แห่ง คือ โรงงาน บริษัทโฮฟ ดี.เค.จำกัด (Hove D.K. CO.,LTD.) เลขที่ 81/1 ม.3 ต.เทพราช อ.บ้านโพธิ์ ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ มีพนักงานทั้งหมด 602 คนเป็นชาย 312 หญิง 290 พบมีผู้ติดเชื้อ 120 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว จากนั้นได้รุกลามแพร่เชื้อไปยังโรงงานอีคอร์เนส (ไทยแลนด์) จำกัด เลขที่ 81/3 ม.3 ต.เทพราช ซึ่งเป็นโรงงานในเครือเดียวกันและมีรั้วติดกัน
ทำให้มีผู้ติดเชื้อรวม 319 ราย จึงได้มีการสั่งปิดและควบคุมพื้นที่ในโรงงานแห่งนี้ไว้สำหรับเป็นโรงพยาบาลสนาม และเป็นที่กักตัวไม่ให้ออกมายังภายนอก ก่อนเข้าทำการรักษาผู้ป่วยและส่งเสบียงอาหารไปให้ โดยที่ผู้ประกอบการได้ให้ความร่วมมือต่อทางราชการเป็นอย่างดี โดยมีการไปชื้อชุดตรวจ (แอนติเจน) มาทำการตรวจหาเชื้อให้พนักงานเอง จนพบว่ามีผู้ติดเชื้อล่าสุดในขณะมีผลบวกจำนวน 319 ราย ขณะที่ทางสาธารณสุขได้มีการเข้าสวอปซ้ำแล้ว
ส่วนอีกแห่ง คือ โรงงานบริษัทไทยแอโรว์ จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้ารถยนต์ ใน พื้นที่ ม.4 ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า ซึ่งคณะกรรมการควบคุมโรคระดับจังหวัด ได้สั่งปิดโรงงานไทยแอโรว์ เป็นเวลา 14 วัน เช่นกัน หลังพบมีผู้ติดเชื้อ 178 คนจากคนงานทั้งหมด 4,300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทย มีอาคารโรงงาน 4 แห่ง โดยโรงที่ 1 มีพนักงาน 2,562 คนติดเชื้อ 165 คน โรงที่ 2 มีพนักงาน 1,150 คนติดเชื้อ 8 คน โรงที่ 3 มีพนักงาน 381 ติดเชื้อ 4 คน และโรงที่ 4 มีพนักงาน 207 คนติดเชื้อ 1 คน
หลังพบว่าผู้จัดการในโรงงานแห่งนี้ได้ละเลยการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ในการควบคุมโรคติดต่อ โดยมีการปล่อยให้แรงงานในกลุ่มเสี่ยงสูงกลับเข้ามาทำงานภายในแผนกอื่นได้ จึงทำให้การสอบสวนโรค การกักตัว และปิดการทำงานเฉพาะไลน์การผลิตที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไม่ได้ผล เพราะทางผู้จัดการยังไปเอาคนงานในไลน์ที่ปิดลงและต้องกักตัว เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกลับมาทำงานในแผนกอื่นๆ อีกจึงเกิดการแพร่ระบาดของโรค
และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโควิด 19 ภายในอย่างรุนแรง และรุกลามไปสู่คนในครอบครัวของพนักงานในโรงงานแห่งนี้เอง หลังการตรวจพบเชื้อเป็นเวลานานกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา มติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดได้มีมติที่จะปิดโรงงานแห่งนี้ภายในวันนี้ แต่ต้องการให้ทางสาธารณสุขไปทำสวอปพนักงานทั้ง 4 พันกว่าคนก่อนเพื่อควบคุมโรค เพื่อไม่ให้กลับไปแพร่เชื้อต่ออีก จึงได้เลื่อนทำการปิดโรงงานเป็นในวันพรุ่งนี้ 14 วัน นายไมตรี กล่าว
–เร่งสุดกำลังแล้ว แต่มีอุปสรรคมากผุด รพ.สนามล่าช้าทำเกิดดราม่า 2 ดญ.นอนป้อม
–ตอกกลับกระแสสื่อดราม่า ผู้เป็นย่าเด็กหญิงติดโควิดยันเลี้ยงมากับมือไม่คิดผลักไส
–ฉะเชิงเทราเตรียมผุดรพ.สนามทุกอำเภอ หลังอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตพุ่งสูง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: