ฉะเชิงเทรา – โรงงานถูกคำสั่งปิด หลังปล่อยโรคโควิด 19 ระบาดภายในจนกลายเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ในสถานประกอบการ 3 แห่งดิ้น ยื่นแผนขอเปิดดำเนินกิจการซ้ำ แต่ถูกคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ตีกลับให้ไปทบทวน 2 แห่งได้รับไฟเขียว 1 แห่ง ด้าน ปธ.สภาอุตสาหกรรมเผยสังคมยังเฝ้าจับตามองขอให้ผู้ประกอบการเสนอแผนให้ชัด เกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมโรคก่อนนำกลับมาเสนอใหม่
วันที่ 29 ก.ค.64 เวลา 17.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา ครั้งที่ 44/2564 มีนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการ จ.ฉะเชิงเทรา เป็นประธานการประชุม ได้มีสถานประกอบการ 3 แห่ง ประกอบด้วย บริษัทอีคอร์เนส (ไทยแลนด์) จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 81/3 ม.3 ต.เทพราช อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา บริษัทไทยแอโรว์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 79 ม.4 ต.เสม็ดใต้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา และ บริษัทซีเอชโอโต้อินดัสตรี่ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 99 ม.1 ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา
ข่าวน่าสนใจ:
- จนมุมเพราะไก่ชน!! ตำรวจบางละมุงวางแผนเหนือเมฆ หลอกแก๊งค์ค้ายานรกมาซื้อไก่ชน ก่อนตามรวบยกแก๊งค์ ยึดยาบ้าแสนเม็ด - ไอซ์ 1 กก. พร้อมรถ 2 คัน…
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
- ปราจีนบุรี ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นปันน้ำใจ ฉะเชิงเทรา-หนองคาย
- สยบข่าวลือ สจ.ธรรมชาติ หนีซุกเขมร หลังถูกทนายดังแฉเอี่ยวรีดเว็บพนัน
เดินทางเข้ามายื่นเสนอแผน 4 แผนตามที่ ศบค.จังหวัดกำหนดไว้ หากต้องการจะเปิดดำเนินกิจการก่อนครบกำหนด 14 วัน ประกอบด้วย แผนการบริหารจัดการคน คือ การปฏิบัติตนของพนักงาน แผนการเดินทาง คือ การขนย้ายแรงงานและการเดินทางมาทำงาน แผนเผชิญเหตุหากพบผู้ติดเชื้อ ต้องกักตัวและทำการรักษา และจะต้องมีการเตรียมแผนจัดตั้ง รพ.สนามและศูนย์พักคอยภายในโรงงาน โดยมีสำนักงานสาธารณสุข และทางอำเภอท้องที่เข้าไปควบคุมดูแล
กรณีแรงงานเดินทางข้ามจังหวัดจะต้องได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม หากเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า และหากเป็นซิโนแวคต้องได้รับมาครบ 2 เข็มแล้ว และต้องทำ Antigen Test Kids แบบสุ่มตรวจร้อยละ 10 จากจำนวนแรงงานทั้งหมดในทุกๆ 7 วัน หากพนักงานยังไม่ได้รับวัคซีน หลังการยื่นนำเสนอแผนต่อที่ประชุม ปรากฏว่ามีเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดดำเนินกิจการก่อนครบกำหนด 14 วันได้ คือ บริษัทอีคอร์เนส (ไทยแลนด์) จำกัด
ซึ่งผู้ประกอบการรายนี้ได้ใช้วิธีปิดล็อคโรงงานให้พนักงานที่จะมาทำงาน อยู่แต่ภายในบริษัท โดยไม่สามารถเดินทางเข้าออกมายังภายนอกได้ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค ส่วนผู้ประกอบการอีก 2 ราย ยังนำเสนอแผนการบริหารจัดการได้ไม่ชัดเจน โดยเฉพาะการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค หากพนักงานเดินทางกลับบ้านไปแล้ว ทางผู้ประกอบการยังไม่สามารถที่จะทำการควบคุมคนงานเหล่านี้ได้ จึงอาจนำเชื้อไปแพร่กระจายสู่สังคมหรือรับเชื้อกลับเข้ามาได้อีก
ขณะที่ นายจิรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ขณะนี้คนในสังคมยังคงเฝ้าจับตามองเราอยู่ เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในคลัสเตอร์โรงงานซึ่งเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ และไม่ใช่แค่เฉพาะคนใน จ.ฉะเชิงเทรา เท่านั้น แต่เป็นคนจากทั้งประเทศที่กำลังดูอยู่ว่า จ.ฉะเชิงเทรา จะสามารถควบคุมโรคจากคลัสเตอร์โรงงานได้หรือไม่ มีการจัดการอย่างไร ควบคุมโรคอย่างไร จะมีการระบาดจนบานปลายต่อไปอีกหรือไม่
สำหรับกรณีที่ทาง จ.ฉะเชิงเทรา สั่งปิดโรงงานอุตสาหกรรมไปหลายแห่ง เนื่องจากมีการระบาดสูง ในการประชุมได้มีผู้เข้ามายื่นเสนอแผนต่อคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดแล้ว 3 ราย ซึ่งได้รับอนุญาตไป 1 แห่ง หลังการพิจารณาเห็นว่าทางโรงงานมีแผนที่จะสามารถควบคุมโรคได้ หรือซีลโรงงานไว้ได้ จึงถือเป็นหลักใหญ่ในการพิจารณาจากที่ประชุมในวันนี้ว่าโรงงานต่างๆ ที่จะเปิดได้นั้นคุณต้องชัวร์ในการควบคุมโรค
ส่วนโรงงานอีก 2 แห่งนั้น พบว่าแผนยังไม่มีความชัดเจนและยังมีช่องว่าง เมื่อพนักงานออกจากโรงงานกลับบ้านไปแล้วการควบคุมโรคทำได้ยาก ทางคณะกรรมโรคติดต่อ จ.ฉะเชิงเทรา จึงได้ให้นำกลับไปทบทวนใหม่ และในการประชุมครั้งต่อไป จะนำกลับมานำเสนอใหม่ในที่ประชุม เพื่อขอเปิดกิจการต่อไปอีกครั้ง นายจิรทัศน์ กล่าว
–ล็อคพื้นที่แปดริ้ว กระทบนิคมฯ 4 แห่ง จ่อยื่นทบทวน ขณะผู้ว่ายืนตามเดิม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: