เพชรบูรณ์-ปังมาก! วท.เพชรบูรณ์พัฒนาหุ่นยนต์ต้านโควิด-19 ใช้ส่งยา-อาหารและเก็บขยะ ช่วย SAVE บุคลากรทางการแพทย์ (ชมคลิป)
วันที่ 1 สิงหาคม สถานการณ์โควิด-19 จ.เพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ ระดับความรุนแรงยังมีผู้ติดเชื้อทั้งผู้ป่วยในจังหวัดและผู้ป่วยติดเชื้อที่ขอกลับเข้ามารักษาในจังหวัด เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเตียงรับผู้ติดเชื้อส่อจะไม่พอรองรับ ทำให้มีการเร่งสร้างโรงพยาบาลสนามเพื่อมารองรับ แต่ปัญหาที่ยังเป็นที่หนักใจของหลายฝ่ายคือ ความเสี่ยงที่บุคลากรทางการแพทย์และพนักงานเจ้าหน้าที่ มีโอกาสจะติดเชื้อมีสูงเช่นเดียวกัน และเพื่อลดเสี่ยงดังกล่าวทางวิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ ได้พัฒนาหุ่นยนต์ต้านโควิดขึ้น เพื่อใช้ในการส่งยา-อาหารและเก็บขยะ สำหรับสนับสนุนการทำงานของเหล่านักรบเสื้อกราวน์เหล่านี้ ทำให้ชาวเพชรบูรณ์พากันแห่ชื่นชมในศักยภาพความสามารถ สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นแห่งนี้
นายสุชาติ กลั่นทอง ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ทางวิทยาลัยฯได้รับการร้องขอจากโรงพยาบาลฯ ให้ช่วยพัฒนาบอทหรือหุ่นยนต์ส่งยา-อาหารและเก็บขยะให้ เพื่อ save บุคลาการทางการแพทย์และพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดที่ต้องเข้าไปส่งยาเก็บเศษอาหารและขยะ เพราะต้องสวมใส่ชุด PPE เข้าไปจนหลายคนเป็นลมล้มพับ และมีความเสี่ยงทุกครั้ง ทางวิทยาลัยฯโดยทีมอาจารย์และนักศึกษารวม 5 แผนกได้แก่ แผนกอีเลคทรอนิค แผนกไฟฟ้า แผนกช่างกลโรงงาน แผนกสถาบัตถยากรรมและแผนกช่างเชื่อม จึงช่วยกันพัฒนาหุ่นยนต์ 4 ตัวเป็นหุ่นยนต์เก็บขยะ 2 ตัว หุ่นยนต์ส่งยาและอาหาร 2 ตัวขึ้น โดยใช้เวลาราว 15 วันจึงเสร็จสิ้น หลังทดสอบใช้งานได้จริงเป็นที่น่าพอใจ จึงส่งมอบหุ่นยนต์ 4 ตัวให้กับโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 2 มรภ.เพชรบูรณ์
ข่าวน่าสนใจ:
- เพชรบูรณ์ - นักท่องเที่ยวสุดเซ็ง! วางแผนไปเที่ยวเขาค้อภูทับเบิก หลังรู้ข่าวต้องเจอ"ทริปน้ำไม่อาบ" ยอมยกเลิกหรือปรับไปเที่ยวที่อื่นแทน
- "Gmm Show"แจ้งเตือนระวังมิจฉาชีพ หลอกขายบัตรทิพย์ คอนเสิร์ต Rock Mountain เขาค้อ
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
- เขาค้อผวา "ทริปน้ำไม่อาบ" นอภ.สั่งตั้งจุดตรวจ เกรงหลังเสร็จกิจกรรมภูทับเบิก แก๊งแว้นเตลิดเขาค้อ
“เดิมทางวิทยาลัยก็มีการสร้างบอทหรือหุ่นยนต์ โดยเป็นโครงการที่ให้นักศึกษาได้พัฒนาบอทเพื่อแข่งขันเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว จึงไม่ยากที่จะดัดแปลงสร้างขึ้นมาได้ สำหรับหุ่นยนต์ทั้ง 4 ตัว การควบคุมใช้ระบบวิทยุบังคับโดยกลไกการควบคุมจะผ่านทางจอยสติ๊กคล้ายจอยสติ๊กเกมคอมพิวเตอร์ และดูแล้วจะสะดวกกว่าระบบอัตโนมัติ โดยเริ่มพัฒนาหุ่นยนต์เก็บขยะ 2 ตัวแรกก่อน จากนั้นจึงพัฒนาหุ่นยนต์ส่งยาและส่งอาหารเพิ่มอีก 2 ตัว โดยใช้งบฯ วิทยาลัยฯ สำหรับสร้างและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้ง 4 ตัวซึ่งตกราวตัวละ 47,000 บาท”นายสุชาติ
ผอ.วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ทางวิทยาลัยฯ โดยเฉพาะทั้งอาจารย์และนักศึกษาต่างก็ภาคภูมิใจ ที่มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสังคมโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในขณะนี้ โดยสามารถได้ใช้ความรู้ทางด้านอาชีวะด้านเทคนิคและเทคโนโลยีเข้าไปช่วย ซึ่งตรงกับสาขาที่ทางวิทยาลัยได้เปิดการเรียนการสอนอยู่แล้ว
ในขณะที่นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวว่า ทางจังหวัดฯได้รับความร่วมมือจากทางวิทยาลัยเทคเพชรบูรณ์ ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ต้านโควิดโดยเบื้องต้นจำนวน 4 ตัว เป็นหุ่นยนต์ใช้สำหรับส่งอาหารและส่งยาจำนวน 2 ตัว และหุ่นยนต์สำหรับเก็บขยะภายในโรงพยาบาลสนาม 2 ตัว โดยที่ผ่านมาได้มีการทดลองเรียบร้อยแล้ว ผลปรากฏว่าสามารถใช้งานได้ดี โดยหุ่นยนต์ทั้ง 4 ตัวจะนำไปใช้ในโรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ มรภ.เพชรบูรณ์ขนาด 200 เตียง ซึ่งได้เปิดให้บริการเร็วๆ นี้ จึงต้องฝากขอบคุณและชื่นชมทางวิทยาลัยฯ รวมทั้งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุน ทั้งนี้เพื่อลดภาระและลดความเสี่ยงของบุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดขณะดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเหล่านี้
///
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: