นครพนม – เตรียมพัฒนาศักยภาพ อสม. เสริมกำลังแพทย์คัดกรองผู้ป่วยโควิด พร้อมเสริมความรู้ที่ถูกต้องให้ประชาชน
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยนายแพทย์มานพ ฉลาดธัญญกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครพนม และท้องถิ่นจังหวัดนครพนม ลงพื้นที่เยี่ยมให้กําลังใจและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานระดับอำเภอ ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 ในพื้นที่ พร้อมรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
โดยในการลงพื้นที่ในครั้งนี้ทางอำเภอนาแกได้ชี้แจงถึงแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล ที่ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์มีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ เนื่องจากในแต่ละวันมีผู้ที่มาจากพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลากรทางการแพทย์เริ่มมีความเหนื่อยล้า ดังนั้นจึงได้มีการปรับแผนการบริหารบุคคลากร โดยการพัฒนากลุ่มคนไข้ผู้ป่วยโควิดที่มีความเข้าใจในด้าน social และเทคโนโลยีที่ปัจจุบันสามารถช่วยเหลือผู้อื่นและตนเองได้ตามปกติให้เข้าใจในการตรวจวัดอุณหภูมิ การวัดออกซิเจนในเลือดของแต่ละคนว่าควรมีค่าเท่าไหร่อย่างไร และสอนวิธีการส่งข้อมูลเพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในจุดสังเกตอาการ เพื่อให้คนไข้ได้ช่วยดูแลซึ่งกันและกันได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดภาระให้กับบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังส่งผลดีต่อผู้ป่วยด้วยเพราะเมื่อมีความสงสัยอะไร จะสามารถวัดได้ทันทีตลอดเวลาเนื่องจากเครื่องอยู่ในพื้นที่ของผู้ป่วยอยู่แล้ว รวมถึงยังช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์เนื่องจากความอ่อนล้าในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งข้อมูลยังเป็นแบบเรียลไทม์ตลอดเวลานั่นหมายถึงผู้ป่วยทุกคนมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันในระหว่างพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางปฏิบัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมก็ได้มีการเสนอให้ทางพื้นที่เตรียมการเพิ่มศักยภาพให้กับ อสม. เพื่อมาเป็นอีกกำลังหนึ่งในการช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลประชาชนในชุมชนและในศูนย์พักคอย (Community Isolation :CI) เพราะปัจจุบันยังใช้บุคลากรทางสาธารณสุขทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้จะมีการการเตรียมแผนพัฒนา ให้ อสม. มีควมารู้ในเรื่องของการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อด้วย Antigen test kit ซึ่งเป็นทักษะขั้นสูงขึ้นสำหรับ อสม.ทุกคน เพราะการเก็บเชื้อตัวอย่าง ต้องมีความแม่นยำ ถูกต้อง ก่อนที่จะนำมาทดสอบกับน้ำยา ซึ่งถ้า อสม. ในพื้นที่ได้สามารถทำได้ก็จะทำให้แต่ละชุมชนสามารถดูแลกันได้เลยในเบื้องต้น เพราะมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันการเกิดคลัสเตอร์ในแต่ละชุมชนได้เป็นอย่างดี
ข่าวน่าสนใจ:
นอกจากนี้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังได้เสนอแผนการอบรมให้ความรู้ประชาชนในเรื่องของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เรื่องของโรค สถานการณ์ของโรค การป้องกันตนเอง การดูแลสุขภาพจิตใจทั้งในกรณีที่เป็นผู้ป่วยและกรณีของคนในชุมชนที่ป่วยแล้วกลับมา จะมีการดูแลกันอย่างไรให้ถูกต้องและไม่เกิดการแพร่ระบาด ซึ่งในส่วนนี้แต่ละท้องถิ่นจะนำเงินกองทุนตำบลมาใช้ในการอบรมพัฒนาความรู้ให้กับประชาชนและมีแผนงานโครงการอยู่แล้ว แต่ติดปัญหาในการอบรมเนื่องจากไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้เกิน 50 คน ดังนั้นในส่วนนี้จึงได้หาทางออกด้วยกัน โดยได้เตรียมการอบรมในลักษณะออนไลน์ที่ให้แต่ละตำบลหมู่บ้านสามารถเข้าถึงได้ พร้อมกับการเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์ของแต่ละแห่งฉายกระจายความรู้ให้ประชาชนในชุมชนได้ดูพร้อมๆกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: