Inside กลุ่มป่าแก่งกระจาน…มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย
เป็นที่น่ายินดี ที่ไทยเราได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกแห่งใหม่ของไทย จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 44 ที่จีน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 ซึ่งได้ประกาศขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจาน ให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่ ของประเทศไทย หลังจากการเพียรพยายาม มาถึง 4 ครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในปี พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนพื้นที่ห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร ให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเป็นแห่งแรกมาแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 คณะกรรมการมรดกโลกก็ได้พิจารณาขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเจตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ให้ขึ้นเป็นมรดกทางธรรมชาติ เป็นแห่งที่ 2 ของไทย ซึ่งหลังจากนั้น ทางคณะทำงานของไทยซึ่งหลักๆ ก็จะอยู่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ใช้เวลาถึง ๑๐ในการเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจาน และได้นำเสนอครั้งแรกในปี พ.ศ. 2558 นำเสนอครั้งแรก ผลคือตกไปไม่ได้รับพิจารณา พอปี 2558 -2559 ก็เสนออีกครั้ง ก็ยังมีข้อเสนอแนะให้ไทยกลับมาปรับปรุงพื้นที่ ในปี 2562 ก็เสนออีก แต่ก็ยังไม่ผ่านการพิจารณา ยังมีข้อต้องแก้ไข และเตรียมความพร้อม ปรับปรุงตามข้อแนะนำจนมาถึงการประชุมครั้งที่ 44 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ ซึ่งเป็นการประชุมทางไกล กลุ่มป่าแก่งกระจานจึงได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งใหม่นับเป็นแห่งที่ 3 ของไทย อันเป็นผลพวงมาจากความพยายามของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เฝ้าเพียรพยายามมาถึง 16 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จดังกล่าว
ช้างในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี
ชื่อกลุ่มป่าแก่งกระจานนี้เป็นการรวมพื้นที่ป่าในเขตประเทศไทยทางด้านตะวันตกพื้นอันประกอบไปด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ในเขต อ.บ้านคาและ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ในเขต อ.หนองหญ้าปล้อง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี และในเขต อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และสุดท้ายคืออุทยานแห่งชาติกุยบุรี ในเขต อ.ปราณบุรี อ.กุยบุรี อ.สามร้อยยอด และ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพื้นที่ 4285.90 ตารางกิโลเมตร นับเป็นป่าผืนใหญ่ที่ครอบคลุมป่าตะวันตกด้านล่างทั้งหมด และเมื่อระบบนิเวศเชื่อมต่อกับผืนป่าทางฝั่งประเทศเมียนมาร์ จึงเป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความสำคัญในภูมิภาคผืนหนึ่งทีเดียว
แก่งเทียนป่า อช.ไทยประจัน
พื้นที่ป่าที่เป็นผืนใหญ่ต่อเนื่องกันเป็นผืนใหญ่นั้น จะเป็นหลักประกันให้สัตว์ป่าได้อยู่กันอย่างมีความสุข อพยพโยกย้ายตามพฤติกรรม ได้อย่างมีอิสระเสรี สืบพันธุ์พงศ์เผ่า ดั่งที่เราจะเห็นว่ามีสัตว์ป่าอย่างมากมายในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จนได้รับสมญานามว่าเป็นซาฟารีของเมืองไทย และสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ส่วนในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำภาชีนั้น มีการพบสมเสร็จ ซึ่งเป็นสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธ์ หากินในบริเวณรอยต่อของป่าสองผืนนี้ด้วย
ผืนว่าที่กว้างใหญ่ทำให้ระบบนิเวศยังคงเชื่อมโยงกันอย่างไม่ขาดตอน ป่ายังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ในทุกพื้นที่ของป่าผืนนี้เป็นแห่งต้นน้ำลำธารทั้งสิ้น ที่โดดเด่นก็คือเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเพชรบุรีและเป็นน้ำปราณบุรีนั่นเอง ได้จะเห็นว่าทุกผืนป่าที่ดำรงคงอยู่ ล้วนแล้วเป็นต้นน้ำลำธาร เป็นหลักประกันในเรื่องน้ำ ว่าตราบใดที่เรามีป่า เราจะมีน้ำไว้ใช้ในชีวิต สัตว์ป่าพลอยจะได้ที่อยู่อาศัยอันมั่นคง
สมเสร็จ อช.ไทยประจัน จากกล้องดักถ่าย
การเป็นมรดกโลกนั้นจะทำให้เราเพิ่มแรงดึงดูดทางการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งยูเนสโกได้เคยประเมินถึงการเติบโตของการเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่มรดกโลก ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมาว่าจะเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคน ซึ่งเมื่อมารวมกับยอดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆแล้วก็จะเป็นจำนวนมหาศาล การีได้เป็นมรดกโลกเป็นหลักประกันถึงคุณค่าแหล่งท่งเที่ยวได้เป็นอย่างดีในระดับสากล
นอกจากนั้นยังมีเงินสนับสนุนจากกองทุนมรดกโลก เพื่อนำมาศึกษา วิจัย และการดำเนินโครงการต่างๆ รวมทั้งการขอเงินทุนจากองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อีกด้วย และสิ่งที่สำคัญคือการประชาสัมพันธ์ให้รู้จักแระเทศที่เป็นที่ตั้งของมรดกโลกนั้น ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก ว่าประเทศของเรานั้น มีทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและเราไดให้ความสำคัญ การดูแลรักษาเพียงใด
การเป็นมรดกโลกจึงเป็นความภาคภูมิใจที่เราควรยินดีร่วมกัน…
……………………………..
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: