หลังจากพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2561 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป ทำให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ธันวาคมนี้ ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญคือการขยายการคุ้มครองและอัตราค่าทดแทนลูกจ้างเพิ่ม 3 กลุ่ม รวมผู้ประกันตน 14 ล้านคน
พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเมื่อวันที่ 15 พ.ย. ที่ผ่านมา ระบุว่า ในปีนี้กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้กำหนดให้มีการแก้ไข พ.ร.บ.เงินทดแทน เหตุเพราะบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสม ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง กระทรวงแรงงานจึงได้เสนอแก้ไข พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ ปี พ.ศ.2561 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม 2561 นี้
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
- องคมนตรีเชิญสิ่งของพระราชทานเนื่องในโอกาสปีใหม่ 2568 มอบให้ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จ.สระแก้ว
- เชียงใหม่- อบจ.มอบ 10 ล.เปิดศูนย์ รับ PM2.5 ปี 68
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
พรบ.เงินทนแทน(ฉบับที่ 2) จะขยายการการคุ้มครองให้ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างในหน่วยงานเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ อีก 3 ประเภท คือ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราว , พนักงานขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร และ พนักงานสัญชาติไทยที่ทำงานในสถานทูตหรือองค์กรระหว่างประเทศ จำนวนกว่า 1 ล้านคน โดยนายจ้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จ่ายเงินเข้ากองทุนทดแทนให้ลูกจ้าง ร้อยละ 0.2 ของเงินเดือน หรือ 480 บาทต่อคน
ขณะที่อีกส่วนหนึ่งที่ พ.ร.บ. ฉบับนี้เพิ่มเติมขึ้นมาคือ การเพิ่มและขยายสิทธิ์ในการคุ้มครองลูกจ้าง โดยการเพิ่มอัตราค่าทดแทนในกรณีต่างๆเป็น ร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน , เพิ่มระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนไม่น้อยกว่า 15 ปี ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุจนทุพพลภาพ จากเดิมระบุว่า จ่ายค่าทดแทนไม่เกิน 15 ปี , เพิ่มระยะเวลาการจากค่าทดแทนแก่ทายาทกรณีลูกจ้างเสียชีวิตหรือสูญหาย เป็น 10 ปี จากเดิมกำหนดไว้เพียง 8 ปี , เพิ่มอัตราการจ่ายค่าทำศพให้แก่ผู้จัดการศพของลูกจ้าง เป็น 40,000 บาท จากเดิมกำหนดไว้เพียง 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และลูกจ้างจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตลอดจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
ขณะที่ นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ รักษาการเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ระบุว่า พระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) นี้ จะส่งผลให้ลูกจ้างมีหลักประกันของชีวิตดีขึ้น รวมถึงค่าทดแทนการขาดรายได้และระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต ในกรณีไม่สามารถทำงานได้มีความจำเป็นต้องหยุดงาน โดยสถานะของกองทุนขณะนี้มีเงินกว่า 6 หมื่นล้านบาท ในปี 2560 มีผู้ประกันตนใช้บริการเงินกองทุนทดแทนแล้วกว่า 5.8 หมื่นคน ส่วนปี 2561 ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. มี 4.8 หมื่นคน วงเงินรวมกว่า 1-2 พันล้านบาทต่อปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: