นครพนม – เกษตรจังหวัดนครพนมพร้อมส่วนราชการ ร่วมประชุมวางแนวทางขับเคลื่อนสู่ BGC โมเดลเศรษฐกิจใหม่ เพื่อสร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 09.30 น. นายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครพนม ครั้งที่ 2/2564 ที่ศูนย์สารสนเทศยางพารานครพนม สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อขับเคลื่อนคณะทำงานในการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครพนม พร้อมเตรียมวางแนวทางขับเคลื่อนสู่ BGC โมเดลเศรษฐกิจใหม่สร้างรายได้สู่ชุมชนให้เกิดความยั่งยืน โดยมีส่วนราชการและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
ข่าวน่าสนใจ:
- ฝ่ายปกครอง อ.ปลาปากสนธิกำลังตร .บุกรวบหนุ่ม 20 ขาใหญ่ จำหน่ายยาบ้า โดดหลังบ้าน คว้ามีดพร้าเปิดทาง หลบหนีไปไม่รอด
- น้องขวัญ นายก อบจ.นครพนม ลาออก ก่อนครบวาระ 3 วัน จ่อลงชิงป้องกันแชมป์
- ขอเชิญมาร่วมสัมผัส “ลมหนาว ริมฝั่งโขง ชมอุโมงไฟ ยาวที่สุด” ที่นครพนม
- "นครพนมฮือฮา! งานศพสุดแปลก ใส่ชุดแดงฟ้อนรำส่งดวงวิญญาณ ‘เจ้แข่น’ ปิดตำนานสาวสองแห่งอำเภอนาทม
ด้านนายธวัชชัย รอดงาม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครพนม ครั้งที่ 2/2564 ในวันนี้ เป็นการติดตามและสนับสนุนการทำงานของคณะทำงาน ที่นับว่าเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการติดตามความก้าวหน้าในการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน สำหรับแนวทางในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ทางกรมส่งเสริมการเกษตร มีแนวทางและเป้าหมายในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนภายใต้นโยบายของรัฐบาล คือ BGC โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกัน ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก ได้แก่ B ย่อมาจาก Bio Economy คือ ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า C ย่อมาจาก Circular Economy คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ G ย่อมาจาก Green Economy คือ ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน และสิ่งสำคัญคือการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางมาปรับใช้ เพื่อสร้างคุณค่า จากความหลากหลายของทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อเป็นการยกระดับเศรษฐกิจ เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มของชุมชนที่เข้มแข็ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
นางสาวกัญณฐา อภินนท์ธนา เกษตรจังหวัดนครพนม กล่าวว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง มีการให้บริการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 เช่น การจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน พร้อมการสนับสนุนส่งเสริมด้านอื่นๆ สำหรับจังหวัดนครพนม ปัจจุบันมีการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนแล้ว จำนวน 1,852 แห่ง สมาชิก จำนวน 34,603 และเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จำนวน 14 แห่ง สมาชิกจำนวน 410 ราย นอกจากนี้ยังมีการยกเลิกและเพิกถอนการจดทะเบียน จำนวน 13 แห่ง สิ่งสำคัญที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะต้องให้ความสนใจ นั่นก็คือ การต่อทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ซึ่งจะต้องดำเนินการตาม พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 ในหมวด 1 วิสาหกิจชุมชน มาตรา 8 และมาตร 9 ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ในระยะเวลา 30 วันนับแต่สิ้นปี ปฏิทิน ให้วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งมีความต้องการที่จะดำเนินกิจการต่อไป จะต้องแจ้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบ หากไม่แจ้งความประสงค์เป็นเวลา 2 ปี ติดต่อกันให้กรมส่งเสริมการเกษตรแจ้งหนังสือเตือนให้วิสาหกิจชุมชนนั้นไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งถ้าไม่มีการแจ้งตามคำเตือน ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ถอนชื่อออกจากนายทะเบียน และให้มีการดำเนินการต่อไป ซึ่งวิสาหกิจชุมชนบางแห่งไม่มีการติดตามทำให้อาจเสียโอกาสในการสนับสนุนและพัฒนาจากหน่วยงานภาครัฐ
นอกจากนี้ ในปี 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม ได้ดำเนินกิจกรรมการประกวดวิสาหกิจชุมชนดีเด่น ระดับจังหวัด ซึ่งจากการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครพนม ได้แก่ อันดับที่ 1 วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก อันดับที่ 2 วิสาหกิจชุมชนส่งเสริมเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ตำบลโพนทอง อำเภอเรณูนคร และอันดับที่ 3 วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: