“ขยะ”เป็นเรื่องของทุกคนต้องร่วมมือกัน “การจัดการขยะ” แม้จะให้อำนาจท้องถิ่นจัดการ แต่ยังขาดการมีส่วนร่วมในอีกหลายภาคส่วนทั้งผู้ผลิต งบ และประชาชน มีส่วนสำคัญในการจัดการ ภาพแห่งความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดซึ่งความร่วมมือจากส่วนใดส่วนหนึ่งจึงได้ขับเคลื่อน และเดินหน้าไปพร้อม ๆกันทุกภาคส่วนก้าวสู่เมืองสะอาดอย่างยั่งยืน อบจ.สงขลาลงลุยพื้นที่การจัดแบบมีส่วนร่วม
นอกเหนือจากความมีวินัย และจิตสำนึกในการจัดการขยะในครัวเรือนของชุมชนแล้วการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนด้วยระบบการบริหารจัดการขยะโดยใช้กลไกลเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม แบบบูรณาการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา แนวคิดและนโยบายการพัฒนาที่สอดคล้องการบริหารจัดการขยะของ “ไพเจน มากสุวรรณ์” นายกอบจ.สงขลา ขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่ “สงขลาเมืองสะอาด” พลังร่วมการจัดการแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนขยายผลในระดับประเทศ
“การบริหารจัดการขยะเป็นวาระที่จังหวัดสงขลาให้ความสำคัญ และเน้นให้มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการสร้างความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน อบจ.ลงพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายอปท.เพื่อดูที่ดินที่ใช้สำหรับการกำจัดขยะ ซึ่งมีพื้นที่ฝังกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาล การจัดการขยะจากความร่วมมือของประชาชน ตลอดจนการมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้ การปลูกฝังจิตสำนึก การสร้างกลุ่มเครือข่ายเฝ้าระวังและรักษ์สิ่งแวดล้อม นำหลักการ 3ช มาใช้คือ Reduce ใช้น้อย Reuse ใช้ซ้ำ และ Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ แนวทางในการจัดการขยะต้นทาง เรื่องสำคัญต้องร่วมกันรณรงค์และสร้างความเข้าใจ อปท.มีการประกาศกำหนดวันเวลา ในการเก็บขนขยะแยกตามประเภทด้วย” นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
การลงพื้นที่ในช่วงวันที่ 20 กันยายน 2564 ของนายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย นายนิพัทธ์ อุดมอักษร เลขานุการฯ นางสาวภพภร ทองคณารักษ์ ผู้อำนวยการกองผังเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ณ บริเวณ ม.8 ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะใช้เป็นพื้นที่โครงการจัดการขยะมูลฝอย ของ อบจ.สงขลา โดยมีอปท.ที่ขับเคลื่อนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม ทั้งการรณรงค์จัดการขยะจากความร่วมมือของประชาชน การมุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้ การปลูกฝังจิตสำนึกอย่างเทศบาลเมืองเขารูปช้างนำโดยนายจักรธร สุรแสง นายกเทศมนตรีเขารูปช้างพร้อมคณะทำงาน และผู้นำชุมชน ร่วมลงพื้นที่
ข่าวน่าสนใจ:
- สจ.ธรรมชาติ ไม่มาศาลฉะเชิงทรา ส่งสองทนายคู่หูยื่นฟ้องอัจฉริยะแทน
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- อบจ.ลำปางยกระดับคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ PCU/NPCU
- สยบข่าวลือ สจ.ธรรมชาติ หนีซุกเขมร หลังถูกทนายดังแฉเอี่ยวรีดเว็บพนัน
ปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,851 แห่ง มีการดำเนินการเก็บ ขนย้าย ขยะมูลฝอยชุมชน จำนวน 4,711 แห่ง ปัญหาที่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งกำลังประสบอยู่ เช่น ปัญหาการเก็บขนไม่หมด มูลฝอยตกค้าง วิธีกำจัดขยะมูลฝอยอย่างไม่ถูกต้อง ไม่มีที่ดินสำหรับการกำจัดขยะมูลฝอย พื้นที่ฝังกลบที่ถูกหลักสุขาภิบาลที่มีอยู่ในปัจจุบันมีพื้นที่จำกัด สาเหตุจากขาดความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ และขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
การจัดการขยะถือเป็นหน้าที่ของทุกคน และต้องอาศัยการบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม โดยเฉพาะการแก้ที่ต้นทาง สร้างจิตสำนึกในการรู้จัก ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ จิตสำนึกในการทิ้งขยะรวมไปถึงการจัดการขยะ ซึ่งถือเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุดในกระบวนการจัดการมูลฝอยแบบบูรณาการ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายแบบมีส่วนร่วม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: