กระบี่-ตื่นตา ฝูงฉลามหูดำกว่า 40 ตัว โผล่อวดโฉมจนท.ริมหาดอ่าวมาหยา หลังปิดนาน 3 ปี ธรรมชาติได้ฟื้นตัว
วันที่ 26 ต.ค.64 นี่คือคลิปฝูงฉลามหูดำที่จนท.อุทยานหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ที่ถ่ายไว้ได้ขณะฝูงฉลามหูดำ หรือฉลามครีบดำ จำนวนกว่า 40 ตัว ชวนกันเวียนว่ายเข้ามาหากิน บริเวณชายหาดอ่าวมาหยา จุดน้ำตื้น ภายในเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ เป็นภาพที่หาดูยาก สร้างความตื่นเต้น แก่เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานที่กำลังสำรวจ บริเวณชายหาดอ่าวมาหยา เนื่องจากก่อนหน้านี้ฉลามหูดำ หายไปเป็นเวลานานประมาณ 2-3 เดือน เจ้าหน้าที่จึงได้บันทึกภาพไว้
ข่าวน่าสนใจ:
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- เปิดศึกชิงนายก อบจ.ปัตตานี อดีต สส.ท้าชน อดีตนายก อบจ.4 สมัยเดือดตั้งแต่วันแรก (มีคลิป)
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- หญิงไทยเสียชีวิตปริศนา แฟนต่างชาตินอนอยู่กับศพ 3 วัน ตำรวจเร่งสอบหาสาเหตุ
นายปราโมทย์ แก้วนาม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี กล่าวว่า ฝูงฉลามหูดำฝูงนี้ จนท.หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.5 (อ่าวมาหยา) ถ่ายไว้ได้ขณะร่วมกันสำรวจเดินลาดตระเวนเชิงคุณภาพที่บริเวณชายหาดอ่าวมาหยา เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็พบกับฉลามหูดำ ประมาณ 40 ตัวเข้ามาหากินบริเวณอ่าวมาหยา โดยปรากฏตัวอยู่นานกว่า 30 นาที ก่อนจะว่ายหายไปในทะเลลึก บ่งชี้ว่าขณะนี้ระบบนิเวศความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ บริเวณอ่าวมาหยาเริ่มฟื้นตัวเป็นอย่างมาก สัตว์หายากที่เคยหายไปก็หวนกลับคืน ปะการังก็เริ่มฟื้นตัว ภายหลังกรมอุทยานฯ ประกาศปิดอ่าว ห้ามเข้าพื้นที่ หรือทำกิจกรรมท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา
เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและใต้ทะเลบริเวณอ่าวมาหยา รวมระยะเวลากว่า 3 ปี ส่วนจะเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าพื้นที่ได้เมื่อไหร่นั้น ต้องรอให้ทางกรมอทุยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พิจารณาอีกครั้ง ภายหลังการเชื่อมต่อสะพาน ท่าเทียบเรือด้านหลังอ่าวมาหยาเสร็จเรียบร้อย คาดว่าจะเปิดได้ในช่วงไฮซีซั่นนี้
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี กล่าวอีกว่า ฉลามหูดำแม้ไม่ได้เป็นสัตว์สงวน แต่ก็มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ มักอาศัยอยู่ในกระแสน้ำอุ่นสามารถพบได้ทั่วไป กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่เป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง น้ำกร่อยแนวป่าชายเลน หรือปากแม่น้ำ แนวปะการัง และชายฝั่งน้ำตื้น จะสืบพันธุ์ปีละครั้งตลอดช่วงชีวิต ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน จึงขอความร่วมมือชาวประมงหรือนักล่าสัตว์ทะเลงดจับปลาฉลามไปเป็นอาหาร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: