แม้ไปเลือกตั้ง อบต. ไม่ได้ แต่ทางการยังเปิดทางให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งฯ เพื่อไม่ให้เสียสิทธิบางประการได้ รีบแจ้งด่วนภายในวันที่ 5 ธ.ค. 64 นี้
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ กองการเลือกตั้งท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย แจ้งว่า หากผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต. และ นายก อบต. สามารถแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยให้ยื่นหนังสือด้วยตัวเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 7 วันหลังวันเลือกตั้ง นั่นคือ วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน จนถึงวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 ซึ่งผู้ที่แจ้งเหตุได้ต้องมีเหตุผล 1 ใน 7 ข้อนี้ ได้แก่
- มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- เจ็บป่วย และไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้
- เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติงานนอกเขตเลือกตั้ง
- มีเหตุสุดวิสัย หรือเหตุอื่นที่ กกต. กำหนด
โดยผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุอันสมควร จะเสียสิทธิ ดังนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- สิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- สิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอน สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- สิทธิดำรงตำแหน่งข้าราชการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- สิทธิดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
- สิทธิดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และเลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่น ถูกจำกัดสิทธิครั้งละ 2 ปี หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ส่วนการแจ้งเหตุฯ ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถแจ้งได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/abscause/#/main และสามารถตรวจสอบผลอนุมัติการแจ้งเหตุฯ ได้ที่เว็บไซต์ https://stat.bora.dopa.go.th/Election/absvote/#/ โดยผลการอนุมัติจะปรากฎข้อมูลในวันถัดไป
ส่วนการยื่นหนังสือแจ้งเหตุฯ ต่อนายทะเบียนอำเภอด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่น หรือส่งหนังสือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1dCZXC9y5_BvX0r-PezoLumH_54i0HbLJ/view?usp=sharing ส่วนวิธีการกรอกข้อมูลและวิธีการจ่าหน้าซองจดหมาย มีรายละเอียดดังนี้
ถึงแม้ว่าการเลือกตั้ง อบต. เสร็จสิ้นไปแล้ว แต่ท่านยังสามรถตรวจสอบการทำงานของผู้แทนในระดับท้องถิ่นได้ ดังนี้
- มีส่วนร่วมในการบริหาร เช่น การเข้ารับฟังการประชุมของสภาท้องถิ่นหรือติดตามประกาศต่างๆของท้องถิ่น รวมทั้งให้ความคิดเห็นในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของท้องถิ่น เป็นต้น
- มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เช่น ติดตาม และตรวจสอบการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่นหรือการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาท้องถิ่น เป็นต้น
- การมีส่วนร่วมทางด้านกฎหมาย เช่น การเข้าชื่อเสนอร่างข้อบัญญัติ หรือแสดงความคิดเห็นเสนอแนะต่อสภาท้องถิ่น เป็นต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: