ปทุมธานี นายกแจ๊ส พาครูในสังกัด อบจ.พัฒนาศักยภาพเป็นโรงเรียนต้นแบบนำร่องสร้างศูนย์เรียนรู้สร้างรายได้ให้ชาวปทุมฯ
วันที่ 2 ธันวาคม 2564 พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ได้นำครูอาจารย์จำนวน 70 คน จากโรงเรียนสามโคก และโรงเรียนวัดป่างิ้ว จังหวัดปทุมธานี มาศึกษาหลักกสิกรรมธรรมชาติ ที่พา ในโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางวิชาการและวิชาชีพหลักสูตร “ฐานความรู้บูรณาการด้านวิชาชีพ สู่กระบวนการ PLC ในสถานศึกษา” ระหว่างวันที่ 1-2 ธันวาคม 2564 ที่พาโนราม่าฟาร์ม ตำบลหนองน้ำแดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
โดยคณะครูในสังกัด อบจ. ได้ศึกษาการจัดการศึกษาโดยประยุกต์ใช้โคกหนองนาโมเดลมาสู่การเรียนรู้โดยใช้หลัก บ ว ร ที่วัดวชิราลงกรณวรารามวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นรับฟังบรรยายศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และการแปลงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติแบบเป็นขั้นเป็นตอน การเรียนรู้หลักกสิกรรมธรรมชาติ พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคกหนองนาโมเดล
ข่าวน่าสนใจ:
- สมัครชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ วันแรกคึกคัก! โยนเหรียญหัว-ก้อยลุ้นเบอร์ ผู้สมัครฯพรรคปชน.-อิสระ ท้าชนอดีตแชมป์สังกัดว่าที่นายก อบจ. 7 สมัย
- นครพนมคึกคัก! เปิดศึกเลือกตั้ง อบจ. วันแรก “ศุภพานี-ประสงค์” ชิงชัย พร้อมนโยบายพัฒนาท้องถิ่น
- รับสมัคร นายก อบจ.และ ส.อบจ.สุราษฎร์ ฯ คึกคัก
- รับสมัคร นายก อบจ.มหาสารคาม "คมคาย"ตัวเต็งจับมือ"อ้ายเปิ้ล"สัญญาสู้กันในเกมส์
โดยมีนายปรเมศวร์ สิทธิวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เขาใหญ่ พาโนราม่า ฟาร์ม เป็นวิทยากร ได้แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่มเพื่อเข้าฐานเรียนรู้ 1.การเพาะเห็ด 2.การทำปุ๋ยหมักน้ำ 3.การทำปุ๋ยหมักแห้ง พร้อมศึกษาดูงานธรมชาติกับการปลูกฝังคุณธรรมในสถานศึกษา ที่พุทธอุทยานอาณาจักรหลวงปู่ทวด อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และการออกแบบกิจกรรมเรียนรู้บูรณาการ แผนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนด้วยกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้
พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี กล่าวว่า จากการที่ได้พาผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อบจ.ปทุมธานีมาดูงานครั้งที่แล้ว พบว่าเห็ดต่างๆเป็นที่นิยมและเป็นอาหารเสริมสุขภาพนำเห็ดที่ผ่านการแปรต่างๆ มาบรรจุใส่ในขวดก็สามารถทานได้ทุกวันซึ่งเห็ดมีหลายชนิด ซึ่งหากนำมาปลูกก็จะสามารถต่อยอดไปได้อีก ผมอยากสนับสนุนให้วิสาหกิจชุมชนเกิดขึ้นโดยเริ่มจากที่โรงเรียนสามโคกก่อนให้เป็นโมเดลจึงนำคณะครูอาจารย์จาก โรงเรียนสามโคกและโรงเรียนวัดป่างิ้ว จำนวน 70 คน มาเก็บเกี่ยวความรู้ประสบการณ์
ซึ่งอนาคตเราอาจจะต่อยอดทำโรงงานเล็ก ๆให้กับชุมชนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ ใครจะเอาขี้เลื่อย หัวเชื้อ เราก็จัดหามาให้ มีการให้เด็กนักเรียนมาฝึกมาปฏิบัติ เมื่อประชาชนนำไปทำจะเป็นการสร้างรายได้เสริมให้เขาได้อย่างดี เริ่มจากอำเภอสามโคกก่อนต่อไปอาจจะขยาย ไปยังอำเภอหนองเสือหรืออำเภอลาดหลุมแก้ว ซึ่งเป็นอำเภอที่มีเกษตรกรอยู่เป็นจำนวนมากต่อไป.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: