พังงา-ภาคเอกชนหนุนเกษตรกรผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนสู่มาตรฐานสากล เพิ่มรายได้ให้ผลผลิต
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่โรงแรมเลอเอราวัณ อ.เมืองพังงา บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และ พันธมิตรโรงสกัดน้ำมันปาล์มพื้นที่ภาคใต้ จัดประชุมนำเสนอ “โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” (Sustainable and Climate – friendly Palm Oil Production and Procurement in Thailand) หรือ SCPOPP ให้กับผู้นำเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพังงา เพื่อมุ่งเน้นให้ประเทศไทย ยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสู่มาตรฐานสากล และเพิ่มรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีนายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ กรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร GGC นายประคอง อุสาห์มัน เกษตรจังหวัดพังงา นายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา และเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วม
นายไพโรจน์ สมุทรธนานนท์ เปิดเผยว่า ความร่วมมือในการดำเนินโครงการฯ นี้ คือการส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกปาล์มน้ำมันจำนวน 500 ราย ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดตรังและจังหวัดพังงา ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ภายในปี 2567 โดยมีแนวทางการดำเนินงานหลักๆ คือการส่งเสริมการปฏิบัติที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรรายย่อย ด้วยการสร้างวิทยากรการฝึกอบรมที่เป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ โดยใช้หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย หรือที่เรียกว่า TOPSA (Thailand Oil Palm Smallholder Academy) ถ่ายทอดหลักสูตรให้กับเกษตรกร และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรรายย่อยให้มีการปฏิบัติที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับมาตรฐานน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติและการพัฒนาความร่วมมือ สร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย รวมถึงสร้างความตระหนักรู้และเพิ่มความต้องการใช้น้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนในประเทศ
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนี้จะได้เรียนรู้วิธีการดูแลสวนปาล์มตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งการเก็บ โดยทุกกระบวนการจะมีมาตรฐานสากล ซึ่งเราสามารถเอาไปใช้เวลาส่งออกผลิตภัณฑ์ปาล์มไปต่างประเทศ จะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรขายมีคุณค่ามากขึ้นกว่าสวนปาล์มทั่วๆไป ถ้าเข้ากับโครงการนี้จะอยู่ในมาตรฐานของ RSPO เรียกว่าเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น จะเป็นการทำสวนปาล์มที่ถูกวิธีและยั่งยืนอีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: