กรุงเทพฯ – คณะรัฐมนตรีอนุมัติ วงเงิน 31,662.9175 ล้านบาท สำหรับโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ปี 2565 รอบที่ 1 ดูแลโควิด-19 ให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย
วันที่ 29 ธันวาคม 2564 ท่ามกลางความวิตกกังวล ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ที่หลายประเทศโดยเฉพาะฝั่งยุโรป กำลังเผชิญ สำหรับประเทศไทยยอดยังพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประเมินสถานการณ์โอมิครอนในไทย ช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ กรณีเลวร้ายที่สุดคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละ 30,00-40,000 คน เสียชีวิตวันละ 170-180 คน ส่วนกรณีที่ดีที่สุด คาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อวันละ 10,000 คน เสียชีวิตวันละ 60-70 คน
ล่าสุด คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ โครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรอบวงเงิน 31,662.9175 ล้านบาท สำหรับสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยบริการสถานพยาบาลที่ให้บริการสาธารณสุขโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ
ข่าวน่าสนใจ:
- THACCA ร่วมกับ วธ. สนับสนุน 220 ล้านบาท ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และซอฟต์พาวเวอร์ไทย
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- มุกดาหาร -รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมเปิดใช้ถนนมห.3019 แยก ทล.212 -…
- "ชวนน้องหนูมาดูโขน" 11 ม.ค. ฟรี เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568
นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.ยังมอบหมายให้ สปสช. และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค ทั้งในเรื่องของจำนวนประชาชนได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นที่จะช่วยให้ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะปกติสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ศักยภาพของสถานบริการภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากผลของความรุนแรงจากการติดเชื้อลดลง โดยคำนึงถึงการใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าสูงสุด
ขณะที่ สปสช. เตรียมความพร้อมและจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างทั่วถึงและครอบคลุม ทั้งการบริการคัดกรองเชื้อโควิด-19 การบริการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโควิด-19 การบริการที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้าน (Home Isolation : HI) การบริการที่ให้บริการวิกฤติฉุกเฉินกรณีโรคโควิด-19 หรือ UCEP COVID-19 และหน่วยบริการที่ร่วมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตามนโยบายของรัฐบาล
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: