X

คณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่จังหวัดระนองเพื่อรับฟังสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง

คณะกรรมาธิการ ฯลงพื้นที่จังหวัดระนองเพื่อรับฟังสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง

ณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่จังหวัดระนองเพื่อรับฟังสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ลงพื้นที่บ้านอ่าวเคย ต.ม่วงกลวง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง เพื่อรับฟังสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงจะได้ร่วมเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยมีนายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง พร้อมหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้รับฟังบรรยายสรุปจากผู้แทน สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาระนอง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระนอง และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระนอง

นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาคลื่นทะเลกัดเซาะชายฝั่งและการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างเป็นระบบ สภาผู้แทนราษฎร กำหนดเดินทางมายังจังหวัดระนองเพื่อรับฟังสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงได้ร่วมเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดระนอง เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิประเทศ และการอยู่อาศัยของประชาชนโดยเฉพาะชุมชนชายฝั่ง

ซึ่งจังหวัดระนองตั้งอยู่ในเขตทะเลอันดามัน มีความยาวชายฝั่ง รวม 172.54 กิโลเมตร มีพื้นที่ถูกกัดเซาะชายฝั่งความยาว รวม 4.89 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.83 ของความยาวชายฝั่งทั้งหมด เป็นพื้นที่กัดเซาะรุนแรง 0.66 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.38 ของความยาวชายฝั่งทั้งหมด (อยู่บริเวณหาดปากคลองหงาว ต.หงาว และหาดอ่าวคลองของ ต.ราชกรูด อ.เมืองระนอง) นอกจากนี้ยังมีผลกระทบด้านความมั่นคง เนื่องจากแนวชายฝั่งตั้งแต่แม่น้ำกระบุรีลงมาเป็นแนวเขตชายแดนไทย-เมียนมาร์ การกัดเซาะส่งผลต่อการสูญเสียแผ่นดินอาจส่งผลต่อยุทธศาสตร์ทางการทหารและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งเป็นประเด็นเปราะบาง จึงจำเป็นต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาร่วมกันทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการสื่อสารต่อประชาชนภายนอกพื้นที่ให้เข้าใจตรงกัน

 

จากนั้นคณะกรรมาธิการฯ ได้ลงพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ณ ศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 3 (ระนอง) ต.หงาว อ.เมือง จ.ระนอง เพื่อตรวจพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และรับฟังการบรรยายสรุปจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับคณะกรรมาธิการฯ มีกำหนดการเดินทางระหว่างวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2565 ณ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

บุญเลื่อน พรหมประทานกุล

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดระนอง บรรณาธิการ นสพ.เซ้าท์เทิร์นนิวส์ระนอง