X

ชาวบ้านโอดถุงยังชีพไม่พอกินช่วงกักตัวโควิด ด้าน ผวจ.ตรัง ระบุ ยังไม่ได้รับร้องเรียน

ชาวบ้านใน ต.ห้วยนาง อ.ห้วยยอด โอดได้รับถุงยังชีพ ข้าว มาม่า ปลากระป๋อง ฯลฯ ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ  ผวจ. ตรัง ระบุยังไม่ได้รับร้องเรียนเรื่องถุงยังชีพรับประทานไม่พอ

จากกรณีชาวบ้านใน ต.ห้วยนาง อ.ห้วยยอด ซึ่งเป็นผู้ป่วยโควิดจากการตรวจด้วย ATK  และรักษาตัวอยู่กับบ้าน โอดอาหารหลักคือ ข้าว มาม่า ปลากระป๋อง ที่ได้รับแจกเป็นถุงยังชีพจาก รพ.ห้วยยอด ผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ คนละ 1 ถุง ประกอบด้วย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูจำนวน 10 ซอง,น้ำผลไม้กระป๋อง 1 กระป๋อง ,น้ำมันพืชขวดกลาง 1 ขวด ,นมกล่อง 3 แพ็ค ,ข้าวสารถุงละ 1 กก.จำนวน 3 ถุง และปลากระป๋อง  1 แพ็ค จำนวน 10 กระป๋อง  รวมมูลค่าประมาณ 450 บาท  สำหรับใช้ในการดำรงชีพตลอดเวลา 10 วัน ที่ต้องพักรักษาตัว หากคิดเฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ รพ.จัดมาให้ เฉลี่ยวันละ  44.9 บาท/หัว หรือถ้าคิดเฉลี่ยวันละ  3 มื้อ ตกมื้อละ 15 บาท

ขณะที่บางแห่งได้รับเป็นข้าวกล่องวันละ 3 มื้อ ตกหัวละ 50 บาทต่อคนต่อมื้อ หรือวันละ 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือรวม 10 วัน ตกหัวละ 1,500 บาท แต่ของผู้ป่วยในพื้นที่ อ.ห้วยยอด หลายตำบลกลับได้รับเพียงถุงยังชีพดังกล่าวเพียงถุงเดียวต่อคนตลอดเวลา 10 วัน ทำให้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ  ชาวบ้านจึงมองว่าอาหารหลักของผู้ติดเชื้อคือ เฉพาะข้าว มาม่า และปลากระป๋อง

เกี่ยวกับเรื่องนี้นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง  กล่าวว่า สถานการณ์ระบาดของเชื้อโควิด -19 จ.ตรัง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยผู้ติดเชื้อจากผลตรวจ ATK และไม่มีความเสี่ยง จะให้พักรักษาตัวที่บ้านเป็นหลัก หากที่บ้านไม่พร้อมก็จะให้พักรักษาตัวที่ศูนย์แยกกักในชุมชน โดยทาง รพ.และทาง รพ.สต.จะแจกยารักษาที่บ้าน ตามหลักการเดิมจะแยกยาฟาวิพิราเวีย แต่ขณะนี้มีการปรับใหม่ โดยคนไข้กลุ่มสีเขียวจะแจกยาฟ้าทลายโจร  ส่วนผู้ป่วยสีเหลืองจะแยกยาฟาวิพิราเวีย ส่วนการดูแลผู้กักตัวที่บ้านมอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นดูแลด้วย  แต่ถ้าเป็นผลตรวจด้วย ATK บวกจะมีสาธารณสุขดูแลเครื่องอุปโภคบริโภคหรืออาหารพร้อมยารักษาโรค

ทั้งนี้ โดยหลักการในการดูแลผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านที่สำนักงานสาธารณสุขดูแลส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสำเร็จรูป ยกเว้นถ้ามีผู้ป่วยต้องการถุงยังชีพก็จะจัดถุงยังชีพให้  แต่ถ้าต้องการอาหารสำเร็จรูป หรือข้าวกล่องก็พร้อมจัดให้โดยมีงบประมาณจาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นผู้ดูแล  ในส่วนของอาหารอยู่ความสมัครใจหรือความต้องการของผู้ป่วยว่าจะเอากล่องหรือข้าวกล่อง หรือถุงยังชีพ ส่วนกรณีที่ว่าถุงยังชีพนั้น เหมาะสม หรือเพียงพอกับความเป็นอยู่ของประชาชนในรักษาตัวหรือไม่ ขณะนี้ทางจังหวัดยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า ถุงยังชีพบริโภคไม่พอ หรือหมดอายุ ยังไม่มีเรื่องร้องร้องเรียนจากประชาชนเข้ามา

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน