กสทช. มีมติรับทราบการเสนอราคาสูงสุดของการประมูลคลื่นความถี่วิทยุ FM ทั้ง 71 คลื่นแล้ว เผยราคาสูงสุดนั้นสูงกว่าราคาตั้งต้น 77% รวมกว่า 700 ล้านบาท
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้มีการประชุมเพื่อรับทราบการเสนอราคาสูงสุดในการประมูลคลื่นความถี่ วิทยุกระจายเสียง จํานวน 71 คลื่นความถี่ มูลค่าการประมูลรวมกว่า 700,000,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) สูงกว่าราคาตั้งต้นประมาณ 77% โดยราคาตั้งต้นรวมอยู่ที่ 398,498,000 บาท นับเป็นประวัติศาสตร์การจัด ประมูลคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงครั้งแรก เพื่อเปิดโอกาสให้กับผู้ที่ประสงค์จะประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียงรายใหม่สามารถเข้าสู้กระบวนการใช้คลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงได้ ตั้งแต่มีการอนุญาตใน กิจการกระจายเสียงเกิดขึ้นของประเทศไทย ในรูปแบบการได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โดยมีระยะเวลาการ อนุญาต 7 ปี
โดย กสทช. เผยรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลที่เป็นผู้เสนอราคาสูงสุด ได้แก่
1. บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) จํานวน 47 คลื่นความถี่
ข่าวน่าสนใจ:
2. บริษัท ลูกทุ่งเน็ตเวิร์ค 24 ชั่วโมง จํากัด จํานวน 13 คลื่นความถี่
3. บริษัท เจ.เอส.ไนน์ตี้วัน จํากัด จํานวน 3 คลื่นความถี่
4. บริษัท ดินดิน จํากัด จํานวน 2 คลื่นความถี่
5. บริษัท นานาเอนเทอร์เทนเม้นท์ จํากัด จํานวน 2 คลื่นความถี่
6. บริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จํากัด (มหาชน) จํานวน 1 คลื่นความถี่ (นั่นคือคลื่น FM 106.5 Green Wave)
7. ห้างหุ้นส่วนจํากัด สุภัคพร กรุ๊ป จํานวน 1 คลื่นความถี่
8. ห้างหุ้นส่วนจํากัด พีระยา มีเดียกรุ๊ป จํานวน 1 คลื่นความถี่
9. บริษัท สตูดิโอ ไลน์ เอเจนซี่ จํากัด จํานวน 1 คลื่นความถี่
หลังจากนี้ สํานักงาน กสทช. จะแจ้งให้ผู้เสนอราคาสูงสุดในแต่ละคลื่นความถี่มาลงนามรับรอง ราคาสุดท้ายที่ตนเสนอให้ครบถ้วน ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสํานักงาน กสทช. เพื่อที่ กสทช. จะได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล และแจ้งให้ผู้ชนะการประมูลชําระคำธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ แจ้งข้อมูลสิ่งอํานวยความสะดวกด้านกระจายเสียง และยื่นคําขออนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงพร้อม ทั้งชําระค่าธรรมเนียมการขออนุญาต ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการเป็นผู้ชนะการประมูลต่อไป
โดยหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงแล้ว ผู้รับใบอนุญาตจะสามารถเริ่มประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียงได้ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่หลัง หักค่าใช้จ่ายในการประมูลและนําส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้ว จะนําส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: