กรุงเทพฯ – คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่าน โรคโควิด-19 สู่การเป็น ‘โรคประจำถิ่น’ 4 ระยะ พร้อมเร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด/หัดเยอรมันเด็กต่างด้าว เด็กที่ยังไม่วัคซีน และผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยง พร้อมแนวทางรักษาไวรัสตับอักเสบซี
วันที่ 9 มีนาคม 2565 ในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นประธานการประชุม ระบุว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์การปรับค่าใช้จ่ายผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตโควิด-19 หรือ UCEP (ยูเซ็ป) โดยกลุ่มสีเหลืองและแดง ยังสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกแห่งจนหายโดยไม่ต้องย้ายโรงพยาบาล และไม่กำหนดระยะเวลาจ่ายค่าชดเชยเฉพาะ 72 ชั่วโมงแรก ขณะที่กลุ่มสีเขียวสามารถเข้ารับการรักษาฟรีในโรงพยาบาลตามสิทธิ เน้นการดูแลแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ป่วยที่มาตรวจ AKT ที่โรงพยาบาลให้รับยาที่จุดตรวจ ATK ก่อนกลับบ้าน ผู้ป่วยที่ตรวจด้วยตนเองสามารถมารับยาที่โรงพยาบาลหรือการแจ้งโรงพยาบาลให้ส่งยาไปที่บ้าน และเยี่ยมติดตามอาการหลังครบ 48 ชั่วโมง
จากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์การพิจารณาให้บริหารจัดการโควิด-19 แบบโรคประจำถิ่น ซึ่งเวลานี้มีหลายประเทศที่เตรียมการเปลี่ยนผ่านไปสู่โรคประจำถิ่น เช่น ประเทศในทวีปยุโรป สำหรับประเทศไทยได้เตรียมมาตรการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับระดับสถานการณ์ โดยคำนึงถึงทุกมิติ อาทิ การเดินทางเข้าประเทศไทยตามโปรแกรม Test&Go ที่มีเงื่อนไขด้านสุขภาพ พร้อมกับการอำนวยความสะดวกให้แก่นักเดินทางต่างชาติและคนไทย ช่วยสร้างรายได้เข้าประเทศ
นายอนุทิน กล่าวต่อว่า การประชุมวันนี้ มี 3 ประเด็นสำคัญในการพิจารณาเห็นชอบ คือ
1.หลักการการจัดการตามแผนและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านการระบาดของโรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น บนพื้นฐานสุขภาพที่ดีของคนไทยทุกคน และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเฝ้าระวังและมาตรการสำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศ การเฝ้าระวังในประเทศ การสอบสวนโรค การบริหารจัดการวัคซีน มาตรการป้องกันและควบคุมโรค มาตรการด้านการแพทย์ รวมถึงมาตรการทางกฎหมายและสังคม เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตเป็นปกติภายใต้หลัก Universal Prevention เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าได้
2.เร่งรัดการให้วัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน ภายใต้โครงการกำจัดโรคหัดและหัดเยอรมันตามพันธะสัญญานานาชาติ ตามที่องค์การอนามัยโลกทบทวนการกำจัดโรคหัดและหัดเยอรมันของประเทศไทย เสนอแนะให้เร่งรัดฉีดวัคซีนในเด็กต่างด้าว เด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน รวมถึงผู้ใหญ่กลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานต่างด้าว พื้นที่ชายแดน ผู้ลี้ภัย เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกัน
ข่าวน่าสนใจ:
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
3.แนวทางการรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ด้วยวิธี Test and Treat เนื่องจากไทยมีผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 400,000 ราย ในจำนวนนี้ เกิด จึงเพิ่มยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี ในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี (จ2) เพื่อเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับคนไทย และใช้แนวทางการวินิจฉัยด้วยวิธี Test and Treat เพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันและได้รับยารักษาเร็วที่สุด
ด้านนายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบรายละเอียดของแผนการเปลี่ยนผ่านโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำถิ่น โดยแบ่งออกเป็น 4 เดือน เรียกว่า 3 บวก 1 คือ
ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.65) ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง เราจะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง
ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.65) การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อย ๆ
ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.65) การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1-2,000 ราย และ
บวก 1 หรือระยะ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค.65 เป็นต้นไป คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: