เชียงราย-ชาวบ้านแห่พากันทดลอง เพาะเลี้ยงปลาในถังพลาสติกไว้กิน ทดแทนการหาปลาในแม่น้ำโขง ที่ขนาดปลาตัวเล็ก และหายากขึ้น
วันที่ 20 มีนาคม 2565 มีรายงานว่าระดับน้ำโขงลดน้อย ระดับน้ำไม่คงที่ ปริมาณปลาลด และมีขนาดเล็ก ชาวบ้านป่าอิงใต้ ม.6 ต.ศรีเมือง อ.เชียงของ จ.เชียงราย และหมู่บ้านห้วยลึก ม.4 ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย จึงได้ทดลองเพาะเลี้ยงปลาในถังพลาสติก แบบระบบหมุนเวียนน้ำ และสามารถปลูกพืชสวนครัวไว้กิน แบบออร์แกนิค อาศัยปลูกบนถัง สามารถเก็บกินได้ตลอดทุกฤดู และสามารถเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ได้ง่าย ใช้เนื้อที่น้อยซึ่งก่อนหน้าหมู่บ้านดังกล่าว มีวิถีชีวิตชาวบ้านออกหาปลาตามลำแม่น้ำโขงมารับประทาน และจำหน่าย ปัจจุบันแม่น้ำโขงมีปริมาณระดับน้ำไม่คงที่ ปริมาณของปลาได้ลดน้อยลง และมีขนาดเล็ก อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านได้ใช้อุปกรณ์ทุ่นแรงหาปลา ทำให้ปลาบางชนิดสูญหาย อย่างเห็นได้ชัดจากคำบอกเล่าของชาวบ้าน จึงได้มีองค์กรเอกชนได้เข้ามาส่งเสริม ให้ชาวบ้านริมลำแม่น้ำโขงได้ทดลองเพาะเลี้ยงปลาในถังพลาสติก เพื่อเอารับประทานเป็นอาหาร หรือไปต่อยอดไปอย่างอื่นทางนายมานพ มณีรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านปากอิงใต้ ม.6 ต.ศรีเมือง อ.เชียงของ หนึ่งในผู้ร่วมโครงการ พร้อมด้วยชาวบ้าน การเลี้ยงปลาในถังพลาสติกเกิดจาก องค์กรเอกชนได้เข้ามาสนับสนุนส่งเสริม ให้ทดลอง ใช้ถังพลาสติกเพาะเลี้ยงปลา 2 ชนิด มีปลาดุก-ปลาหมอ โดยได้สอนวิธีการประกอบถัง และวิธีการเพาะเลี้ยงปลา โดยนำถังพลาสติกต่อเชื่อมต่อท่อ PVC เข้าหากันด้านล่าง ใช้แผงโซล่าร์เซลล์-มอเตอร์ดูดน้ำไหลเวียน ทำให้ระบบน้ำไหลวน แต่ละถังจะมีการแยกชนิดปลาส่วนด้านบนฝาปิดถังพลาสติก เจาะรูตรงกลางเพื่อให้อาหารปลา หรือเศษอาหาร รอบฝาจะเจาะรู นำแก้วพลาสติกเจาะรูก้นแก้ว วางลงไปแต่ละรูบนฝาถัง นำพืชผักสวนครัว มาปลูกบนฝาถังได้หลายชนิด ซึ่งจะกลายเป็นพืชผักออร์แกนิค โดยพืชบนฝาถังจะได้สารอาหารจากน้ำในถังปลา สามารถเก็บกิน หรือปลูกได้ตลอดเวลา ทุกช่วงฤดูส่วนทางด้าน นายสังเวียน อินทะวงศ์ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านห้วยลึก ม.4 ต.ม่วงเจริญ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย เป็นอีกหนึ่งตัวแทนหมู่บ้าน ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์เอกชน ให้เข้าร่วมโครงการเพาะเลี้ยงปลาดุก-ปลาหมอ พร้อมนำวัสดุอุปกรณ์มาให้ เช่นเดียวกัน
ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า หมู่บ้านที่ติดริมลำน้ำโขง ได้รับผลกระทบประสบปัญหา การออกหาปลา ตามลำแม่น้ำโขงที่ลดน้อยลง และมีขนาดตัวเล็กลง ทางองค์กรเอกชนจึงเล็งเห็นผลกระทบของชาวบ้าน จึงได้เข้ามาส่งเสริมการเพาะเลี้ยงปลาในถังพลาสติก เพื่อให้ชาวบ้านได้มีปลาไว้กินในครัวเรือน ซึ่งการเพาะเลี้ยงปลาในถังพลาสติกจะแตกต่างจากการเลี้ยงบ่อดิน-บ่อปูนซีเมน ซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์ต้นทุนต่ำ สามารถนำปลาขึ้นมาแบ่งรับประทานได้ง่าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: