X

ปทุมธานี บิ๊กแจ๊สเสริมทัพสัมมนานายกท้องถิ่น จับมือรวมเป็นหนึ่งเดียวร่วมพัฒนาเมืองปทุมฯให้ติด 1 ใน 5 เมืองน่าอยู่

ปทุมธานี บิ๊กแจ๊ส เสริมทัพสัมมนานายกท้องถิ่น จับมือรวมเป็นหนึ่งเดียวร่วมพัฒนาเมืองปทุมฯเป็น 1 ใน 5 เมืองน่าอยู่

วันที่ 27 มีนาคม 2565 พล.ต.ท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เปิดเผยว่าที่ห้องสัมมนาเพชรบุรี โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำ บีชรีสอร์ท จ.เพชรบุรี ได้จัดสัมมนา ส.อบจ. นายกท้องถิ่นทั้งจังหวดปทุมธานีร่วม 200 คนในโครงการอบรมสัมมนาส่งเสริมประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และประชาชนในเขตจังหวัดปทุมธานี ในการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 65 แห่ง ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 29 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 35 แห่ง 250 คน โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า ผู้อำนวยการกลุ่มงานแผนพัฒนาท้องถิ่นกองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ให้เกียรติเป็นวิทยากร เพื่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการพัฒนาจังหวัดปทุมธานีให้เป็น 1ใน 5 ของประเทศสำหรับเมืองน่าอยู่


ทั้งนี้ พล.ต.ท.คำรณ ธูปกระจ่าง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ได้กล่าวภาพรวมว่าวันนี้จะเห็นลำคลองในจังหวัดของเราเป็นคลองสวยน้ำใสก็ยากให้น้องนายก ทุก ๆ คนผู้นำท้องถิ่นช่วยกันสานต่อช่วยกันดูแลลำคลองของเราปราศจากขยะและวัชพืชต่าง ๆ ไม่ต้องนำโป๊ะ รถแบคโฮ ไปยืนล้วงตักขยะและวัชพืชอีกต่อไป จะได้ไม่ต้องดูแลตลอดทั้งปี ซึ่งก็จะช่วยกันประหยัดงบประมาณในส่วนนี้ ปีนี้ที่ผ่านมาเรื่องเหตุไฟไหม้เราเจอมาหนักมากในจังหวัดปทุมธานี 3 เคส เคสแรกที่โรงงานลาดหลุมแก้วโรงงานเสียหายยับเยิน เคสต่อมา ที่วัดโคกโรงไม้อัดเสียหาย 400-500 ล้านบาท มาแคส 3 ไฟไหม้ที่นวนครโรงงานโฟมซึ่งในความพร้อมไม่มีเลย อาศัยว่าเรามีประสบการณ์ จึงเข้าไปในจุดเกิดเหตุโดยประสานงานให้ตำรวจกั้นการจราจร จัดระเบียบรถที่เข้าไปเนื่องจากถนนแคบซึ่งในส่วนนี้ก็อยู่ที่การบริหารจัดการเราก็สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้แต่รถของ อบจ.ไม่พร้อมวันที่ไฟไหม้ อบจ.มีรถกระเช้าแต่ไม่มีคนใช้เป็นจอดไว้เฉย ๆ อันนั้นคือสิ่งที่เกิดขึ้น

วันนี้ตนมาเป็นนายกฯ ก็ขอให้ทุกๆท่านไว้ใจได้ตนได้มีโครงการให้เจ้าหน้าที่ที่จะไปฝึกอบรมผจญเพลิงทาง อบจ.ได้จัดอบรมไปหนึ่งรุ่นแล้วโดยกองทัพอากาศเป็นผู้ฝึกให้ในปีนี้ อบจ.ได้จัดตั้งกองสาธารณสุขขึ้นมาถ้าไม่ได้จัดตั้งกองนี้ขึ้นมาเราจะไปต่อไม่ได้แน่นอน จากเหตุการณ์ที่การแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัส covid 19 ระบาด และการจัดตั้งกองบรรเทาสาธารณภัยขึ้นมา ตลอดจนกองท่องเที่ยวกีฬาก็จะมีการตั้งให้เสร็จภายในเดือนหน้า ไม่งั้นจังหวัดปทุมธานีเราไม่สามารถที่จะเดินหน้าและพัฒนาไปได้อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งในวันนี้ทุกๆท่านจะได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อมาร่วมพัฒนาจังหวัดปทุมธานีจากวิทยากรอีก 2 ท่าน คือ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่าในหัวข้อหลักการทำงานของท้องถิ่นจะต้องมีหลักเด่นอยู่ 3 ข้อคือ 1.จะต้องเก่งคน 2.จะต้องเก่งงาน และ 3 จะต้องเก่งพื้นที่ เช่น การใช้คนที่มีความพร้อมในการทำงานรู้จักพื้นที่การวางแผนงานที่ดีทั้งระยะสั้นระยะยาวระยะปานกลาง

รวมทั้งต้องมีศาสตร์และศิลป์ ปกครองน้ำใจคนได้ใจคน จะทำงานได้สำเร็จการเปิดประตูใจในการต้อนรับทุกคนเป็นเหมือนญาติของเรา ทำงานทันเวลา ทันเหตุการณ์แก้ปัญหาได้ทันท่วงที รวมทั้งมีคาถาการทำงาน 3 จ. 1.จริงจัง 2.จริงใจ 3.ใจถึง ทุ่มเทมุ่งมั่นใช้เวลา 24 ชั่วโมงให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพื่อนร่วมงานและลูกน้อง ฉะนั้นถ้าท้องถิ่นทำแล้วดีต่อเนื่องอย่างยั่งยืน คือแผนที่สำคัญมากที่สุด นำส่วนที่เป็นแนวคิดบวรเอามาเป็นกำปั้นเดียวกันเป็นคาถาเก่า บ. คือบ้าน ว. คือวัด ร.คือโรงเรียน จะต้องมีส่วนร่วม ควรส่งเสริมคุณภาพชีวิตการศึกษาผู้สูงอายุผู้สูงวัย ตัวอย่างเช่นเทศบาลเมืองบึงยี่โถเป็นเทศบาลที่ได้รับรางวัลที่หนึ่งของเอเซียเรื่องของการดูแลผู้สูงวัย ซึ่งคุณรังสรรค์ นันทกาวงศ์ นายก ทม.บึงยี่โถ ก็เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่น ถือว่าเป็นต้นแบบที่ดีมาก

ดร.สุริยะ หินเมืองเก่า กล่าวถึง การสัมมนาครั้งนี้ว่าในสังคมเราเป็นที่ยอมรับกันไป เช่นสภาพปัญหาพื้นที่คืออะไร ซึ่งในส่วนหนึ่งเราพูดถึงเรื่องเราต้องมีขั้นตอนเรามีกฎหมายเรามีระเบียบแต่ท้ายที่สุดแม้ว่าจะมีกฎหมายหรือระเบียบหรืออะไรก็แล้วแต่ จะต้องมีคนมาอธิบายให้เราฟังจะต้องมีคนมาบอกเล่าและจะต้องมีคนฟังกัน และต้องมีการยอมรับซึ่งกันและกัน ต้องทิ้งสละสิ่งที่มันไม่ใช่ออกไปต้องทิ้งอดีตแต่เอาอดีตนั้นมาทำให้เป็นอนาคตที่ดีโดยเราจะไม่จบหลักในอดีตในสิ่งที่มันไม่ดีหรือเสียหายแต่เอาสิ่งที่ไม่ดีและเสียหายมาพัฒนาต่อไป ซึ่งต้องฟังและก็ต้องคิดแล้วก็สรุปได้ ถ้าไม่เช่นนั้นเราจะไม่เรียกว่าประชาธิปไตยหรือที่เรามักจะเรียกกันว่าเดโมเครซี่ ถ้าเราต้องการประชาธิปไตยเราก็ต้องยอมรับในสิ่งที่มีคิดมีร่วมหรือเราจะเรียกว่าร่วมคิดร่วมทำร่วมมีประโยชน์ร่วมกัน ด้วยหน้าที่อำนาจของ อบจ. ตามกฎหมายเลือกตั้งของ อบจ. 2540 มาตรา 45 กับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรา 16 และ 17 และประกาศกฎกระทรวงอีก 18 เรื่องรวมทั้งประกาศคณะกรรมการกระจายอำนาจนั้น อบจ.ทำได้หมดก็แปลว่าสิ่งที่ อบต.กระทำอยู่สิ่งที่เทศบาลกระทำอยู่ อบจ.ทำได้ทุกเรื่อง

เพราะฉะนั้นจะต้องก้าวข้ามคำว่าพื้นที่ออกไปเพราะว่าพื้นที่คือสิ่งที่เรามีหน้าที่ทำนั่นแหละ และอย่าไปคิดถึงเรื่องอาณาเขตดินแดนถ้าคิดถึงเรื่องอนาเขตดินแดนแล้วเราจะมีการพัฒนาที่ซับซ้อนมากยิ่งกว่าจะแก้ในยุคปัจจุบันที่โลกมันเปลี่ยนไปจากโควิดและปัจจุบันก็คือสงครามยูเครน-รัสเซียที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปเยอะหลังจากที่สงคราสิ้นสุดลงเพราะฉะนั้นการที่เราจะนำนโยบายกำหนดได้เราต้องพูดคุยกันดังนั้นหลักของการทำแผนทำงบประมาณ ก็ให้นึกถึงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองเสียก่อน มีอยู่ 3 อย่าง ประการแรกเวลาที่เราทำแผนเราต้องนึกถึงอะไรที่ก่อให้เกิดกับประชาชนอย่างไร ประการที่สองเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐของงบประมาณ ประการสุดท้ายต้องมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น มีโครงการ 1 อยู่ในแผนแล้วและอยู่ในงบประมาณแล้ว การไปดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารส่วนภูมิภาคถูกต้องทุกอย่างและเบิกจ่ายเงินถูกต้องทุกอย่างสเปคเป็นไปตามที่ราคากลางกำหนด ทำไมถูกทักท้วงทำไมถูกตรวจสอบ เหตุผลก็คือว่าวันหนึ่งบ้านนางแมวไฟไหม้บ้านนางแมวอยู่ในเขตเทศบาล ซึ่งเทศบาลก็ระดมป้องกันบรรเทาสาธารณภัยมาดับไฟที่บ้านนางแมว แต่ว่ารถของเทศบาลเข้าไปดับไฟไม่ได้ จึงต้องใช้รถที่อื่นดับ ปัญหาก็คือเพราะท่านซื้อรถดับเพลิง10 ล้อมันใหญ่เข้าไม่ได้ จึงมีคำถามก็คือว่ามันเกิดสมผลสัมฤทธิ์ต่อภาครัฐอย่างไร ท่านซื้อรถดับเพลิง 10 ล้อมาท่านก็ต้องไปเช็คดูก่อนว่าที่ท่านซื้อรถสิบล้อนั้นแม้แต่จะอยู่ในแผนก็ตาม ซึ่งเราต้องรู้พื้นที่ใช่ไหมว่าจะใช้รถ 4 ล้อ 6 ล้อหรือสิบล้อเข้าในพื้นที่ของท่าน รถ 10 ล้อมันวิ่งไม่ได้เลยหรือวิ่งได้เพียง 1 ใน 4 ของพื้นที่ก็ถือว่าภารกิจของรัฐไม่สำเร็จ ตรงนี้ก็ต้องถูกตรวจสอบและดำเนินคดี คำถามต่อมาท่านบอกว่าที่ซื้อรถดับรถดับเพลิง 10 ล้อวัตถุประสงค์ก็ต้องการที่จะจ่ายน้ำให้กับประชาชนในช่วงหน้าแล้ง ถือว่าเป็นภารกิจรอง ทำไมไม่ซื้อรถบรรทุกน้ำล่ะซึ่งก็เป็นคำตอบและคำถามเหมือนกันไม่ได้มีความซับซ้อนยุ่งยากอะไรทั้งสิ้น


ด้าน ดร.วีระศักดิ์ ฮาดดา นายก อบต.คลองสาม ประธานชมรมนายก อบต.ปทุมธานี กล่าวว่า ในการสัมมนาครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งก็ต้องยอมรับว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีมีงบประมาณมากที่สุดในระดับท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด สมควรที่จะเป็นผู้นำของท้องถิ่นทั้งหมด เวลาท้องถิ่นใดมีงบประมาณน้อย เราต้องทำแผนร่วมกันทั้งท้องถิ่นทั้งหมด ก็จะสามารถของบประมาณมาที่ อบจ.ได้ซึ่งจะเป็นการมองภาพรวมทั้งหมดเลย ฉะนั้นการที่มาประชุมสัมมนาวันนี้เป็นการรวมระหว่างนายกเทศมนตรีนายก อบต.จะต้องบูรณาการร่วมกันทั้งหมดคือพื้นที่ของ อบจ.ก็อยู่ในพื้นที่ของของเทศบาล อบต.

ดังนั้นเราจะต้องประสานงานร่วมกันว่าอะไรที่จะให้อบต.ทำอะไรที่จะให้เทศบาล.ทำอะไรที่อบจ.จะเป็นทำ ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องดีมาก ๆ ซึ่งนายก อบจ.ท่านก็ปรารถนาอยากจะให้ปทุมธานี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกทุกคนต้องเป็นพวกเดียวกันระดับท้องถิ่นเหมือนเราอยู่ใต้ดวงอาทิตย์เดียวกันท้องถิ่นไปที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น ดังนั้นการที่แต่ละจังหวัดถ้ารวมกันได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นั่นก็คือว่าประชาชนจะได้ประโยชน์สูงสุด แต่ถ้ามีความขัดแย้งกันประชาชนก็จะเสียประโยชน์เกิดความเสียหาย แทนที่จะได้รับงบประมาณเต็มๆ แต่ถ้ามีการตัดแขนตัดขาผู้เสียประโยชน์คือประชาชนท้องถิ่นจะต้องจับมือกันให้แน่นประชาชนจะได้ประโยชน์ 100% ซึ่งต่อแต่นี้ไปจะเป็นการร่วมกันพัฒนาจังหวัดปทุมธานีชนิดเต็มรูปแบบต่อไป


นายวริศ เจริญกัลป์ นายกเทศมนตรีตำบลหนองเสือ กล่าวว่า ขอบคุณ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี และคณะผู้บริหารของ อบจ. รวมถึง สจ.ทุกท่าน ที่ได้จัดโครงการสัมมนาระหว่าง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัดปทุมธานี โดยมี อบจ.เป็นพี่ใหญ่ มี เทศบาลเป็นพี่กลาง และมี อบต.เป็นน้องเล็ก ได้มาร่วมกันเพื่อพัฒนาจังหวัดปทุมธานีให้ไปในทิศทางเดียวกัน เอาปัญหาต่าง ๆ มาวิเคราะห์มาแก้ไข และนำไปสู่การปฏิบัติ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก ก่อให้เกิดความสามัคคี และเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพราะการบริหารท้องถิ่นบริหารจังหวัดก็ต้องใช้พลังไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับเทศบาลตำบลหนองเสือที่ได้มาร่วมสัมมานาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นส่วนดีที่จะนำปัญหาต่าง ๆ มาปรึกษาหารือและที่สำคัญได้รู้จักกับ นายก อปท.ในเขตพื้นที่ทุกคนที่มาร่วมกันจะนำพาจังหวัดปทุมธานีและทำโครงการต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จตามที่ท่านนายก อบจ.ปทุมธานีได้มุ่งหวังไว้.


ดร.ไพศาล ศรีธเนศสกุล นายก อบต.บึงกาสาม กล่าวว่า ถือเป็นโครงการที่ดีที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง นายก อบจ.ปทุมธานี และผู้บริหาร สจ. เทศบาล และอบต. ได้เข้ามาร่วมโครงการสัมมานาและการเรียนรู้เกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ตามที่วิทยากรให้ความรู้ สิ่งสำคัญคือวันนี้ผู้บริหารท้องถิ่นได้เข้ามารวมกัน เพื่อให้รู้ถึงปัญหาในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากแต่ละพื้นที่จะมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน อย่างในเขตชุมชนเมืองจะมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ส่วนในเขตชนบทก็จะมีปัญหาด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ ความเดือดร้อนของประชาชน และนำปัญหาจากผู้บริหารท้องถิ่นที่เข้ามาร่วมสัมมนา นำไปปรับปรุงแก้ไขพัฒนา โดยมี สจ.ในแต่ละเขตพื้นที่ เป็นตัวประสานเพื่อนำปัญหาไปแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี