รพ.ระนอง เจ๋ง! ประสานทีม sky doctor จัด ฮ ช่วยชีวิตลำเลียงส่งต่อผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง
ระนอง-สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง พัฒนาศักยภาพในการส่งต่อผู้ป่วย ทางอากาศยาน (Sky doctor) ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง เพื่อการรักษาผ่านสายสวนหลอดเลือดที่โรงพยาบาลตรัง เป็นครั้งแรก ของการส่งต่อระบบ sky doctor
วันที่ 3 เมษายน 2565 นายแพทย์นรเทพ อัศวพัชระ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ตั้งแต่ วันที่ 25 มีนาคม 2565 นายแพทย์อรุณ สัตยาพิศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลระนอง รายงานว่า มีผู้ป่วย stroke มาด้วยแขนขาอ่อนแรง ข้างซ้าย เข้า admit Stoke unit โดยมีทีมแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลระนอง ดูแลรักษา อย่างใกล้ชิด โดย แพทย์หญิงกชกร พงศ์พิศาล อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลระนอง
และ มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน ที่จะต้องส่งต่อเพื่อทำหัตถการใส่สายสวนหลอดเลือด ลากลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดสมอง จึงได้ประสานการส่งต่อ พบแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลตรัง และประสานนายชัยณรงค์ ยิ้มน้อย นักวิชาการสาธารณสุข สสจ.ระนองผู้รับผิดชอบ ในการประสานทีม sky doctor ในการเดินทางส่งผู้ป่วย
แต่เมื่อไปถึงโรงพยาบาลตรัง พบว่าจากการได้ยา สลายลิ่มเลือด (rtPa) สามารถเปิดหลอดเลือดได้หมด รักษาที่โรงพยาบาลตรัง 2 วัน ได้ส่งตัวกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลระนอง จนอาการดีขึ้นมาก
โดย วันนี้ พยาบาลตึก Stroke unit ได้รายงานเคส เป็นผู้ป่วย ชายไทย 50 ปี
Present ด้วย Lt hemiparesis
Motor Rt 5/5 Lt 0/3, facial palsy , dysarthria , NIHSS 8/42
CT Brain WNL ให้ยาrtPA ( localized lesion น่าจะ occluded ที่เส้นใหญ่ )
run CTA : Rt ICA stenosis & stenosis at proximal M1 Rt MCA
Consult พญ. ทิพลดา บุญชัย โรงพยาบาลตรัง ให้ refer Activate Mechanical Thrombectomy ค่ะ
( Anterior Circulation มีเวลา จาก onset ถึง groin punture 6 ชม. ไป air transfer)
ประสาน sky doctor > นเรนธร > สพฉ.อนุมัติบินได้ .. โดยทีมลำเลียงจากกองทัพอากาศ จากกองบิน 7 โดยต้อง ขอบคุณนายแพทย์จารุวัฒน์ สำลีพันธ์ แพทย์ EP รพ.สุราษฎร์ธานี ที่เป็น แพทย์อำนวยการในการส่งครั้งนี้ด้วย
ระหว่างเดินทาง clinical recovery ถึงรพ. ตรัง motor gr 5 all’s , NIHSS 1, mRS 0 ค่ะ admit รพ.ตรัง 2วัน fully recovery refer back รพ. ระนอง Plan D/C วันนี้ค่ะ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับจังหวัดระนอง โรงพยาบาลระนอง และ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และภาคีเครือข่าย ได้ร่วมกันพัฒนา ศักยภาพ การแพทย์ฉุกเฉิน และกำหนดแผนปฏิบัติการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 ในการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อการรักษาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพื่อประชาชนชาวระนอง แรงงาน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาจังหวัดระนอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: