X

สภ.เมืองตรังเปิดเทคโนโลยีล้ำ สมาร์ทเซฟตี้โซนรับแจ้งเหตุระบบดิจิตอล

ตรัง- สภ.เมืองตรัง นำร่องสมาร์ทซิตี้โซน ในย่านการค้า ย่านธุรกิจเมืองตรัง เพื่อป้องกันด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สร้างภาคีเครือข่าย การปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการปรับเปลี่ยนจากระบบอนาล็อคสู่ดิจิตอล จากเดิมห้องวิทยุแบบเดิม ให้มีระบบดิจิตอลเข้ามา และรวมเอาระบบซีซีทีวีจากหน่วยงานท้องถิ่น เทศบาลนครตรัง เชื่อมต่อสัญญาณ เชื่อมกล้องวงจรปิดของบ้านประชาชน ร่วมกับระบบ สภ.เมืองตรัง  

วันที่ 15 เมษายน 2565 ที่ สภ.เมืองตรัง พ.ต.อ.เชื้อชาติ เยาว์ดำ ผกก.สภ.เมืองตรัง บอกว่า สำหรับสมาร์ทเซฟตี้โซน ถือเป็นจุดนำร่องเรื่องของความปลอดภัย มีพื้นที่ครอบคลุม 0.35 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นแหล่งสถาบันการเงิน ย่านการค้า ย่านธุรกิจ โครงการของสภ.เมืองตรัง ถือเป็นโครงการระยะที่สองของประเทศ โครงการระยะแรกได้ทำไปแล้ว 15 สถานีตำรวจ ซึ่งได้เปิดไปแล้ว ถือเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัลจากประเทศดูไบ ซึ่งโครงการระยะที่สอง ครอบคลุมทั้งประเทศ 100 สถานีตำรวจ ซึ่ง สภ.เมืองตรัง เป็น 1 ใน 100 สถานี หากระยะที่สองได้รับการตอบรับดีที่ ดีผลสัมฤทธิ์ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ในอนาคตอาจจะขยายไปในระยะที่ 3 ซึ่งงานนี้เป็นงานของป้องกันและปราบปราม

 

พ.ต.ท.ภูริทัศน์ ชัยศร รองผู้กำกับการป้องกันและปราบปราม สภ.เมืองตรัง บอกว่า สมาร์ทเซฟตี้โซนประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ภาคีเครือข่าย การปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการปรับเปลี่ยนจากระบบอนาล็อคสู่ดิจิตอล จากเดิมห้องวิทยุจะมีแค่ระบบอนาล็อคอย่างเดียว ตอนนี้ปรับให้มีระบบดิจิตอลเข้ามา โดยเราได้รวมเอาระบบซีซีทีวีจากหน่วยงานท้องถิ่น เทศบาลนครตรัง ซึ่ง สภ.เมืองตรัง ได้เชื่อมต่อสัญญาณเชื่อมกล้องวงจรปิดของบ้านประชาชน ที่ใช้ระบบเดียวกับระบบของ สภ.เมืองตรัง ใช้สภ.เมืองตรังได้ลงพื้นที่แนะนำประชาชนห้างร้านไหนที่ยังไม่ติดกล้องวงจรปิดให้ติดตั้งกล้องวงจรปิดที่ระบบเดียว สภ.เมืองตรัง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ เนื่องจากห้องวิทยุมี จนท.ตร.คอยดูแล 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ทาง สภ.เมืองตรัง ได้ติดตั้งกล้องวงจรปิดอัศจรรย์ ตรวจจับทะเบียนรถ แปลงจากไฟล์ภาพเป็นไฟล์ตัวอักษรสามารถตรวจจับได้ เช่น หากมีการแจ้งมาว่ามีรถโจรเข้า เราแค่เอาภาพป้ายทะเบียนสแกนไป กล้องสามารถตรวจจับและส่งข้อมูลที่เป็นภาพวิดีให้ดูได้เลยว่ารถผ่านมาช่วงเวลาไหน และยังมีกล้องตรวจจับใบหน้า คือ ต้องมีฐานข้อมูลใบหน้า ต้องหารูปหน้าตาปัจจุบันของ แล้วอับโหลดเข้าระบบเพื่อตรวจหาคนร้าย หรือ บุคคลได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีกล้องส่งสัญญาณเอสโอเอส

โดยในต่างประเทศมีการแจ้งเหตุอยู่ 3 แบบ แบบที่ 1 การใช้โทรศัพท์หมายเลขฉุกเฉิน แบบที่ 2 การใช้แอปพลิเคชั่น ซึ่งของไทยจะมีแอปพลิเคชั่นโปลิสไอเลิฟยู และแบบที่ 3 จะสะดวกกับคนที่ไม่มีโทรศัพท์ โทรศัพท์ไม่พร้อมใช้งาน เช่น หากเราไปตลาด หรือ ไปออกกำลังกาย หากประสบเหตุด่วนเหตุร้ายสามารถไปกดปุ่มที่เสาเอสโอเอส จะมีการแสดงพิกัดพร้อมภาพ สามารถพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เลย ซึ่งในส่วนพื้นที่รับผิดชอบของสภ.เมืองตรัง ขณะนี้นำร่องแล้ว 1 ตัว และได้ประสานกับเทศบาลนครตรัง จำนวน 10 ตัว

ในพื้นที่นำร่อง 0.35 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่เริ่มต้นเมื่อเดือนธันวาคม 64 จนถึงปัจจุบันนี้ พื้นที่ตรงนี้ยังไม่เกิดคดีเกี่ยวกับทรัพย์ คดีเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ขณะนี้ยังไม่เกิดในพื้นที่นำร่องนี้ ถือว่าผ่านเกณฑ์ และในโอกาสต่อไปจะขยายพื้นที่ให้กว้างและครอบคลุมกว่านี้ ตลอดทั้งสร้างภาคีเครือข่ายร่วม

 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน