ชาวบ้านบุกศาลากลางขอคำตอบจากผู้ว่าฯ แก้ปัญหาที่ดินทำกิน ต.หาดสำราญ ผู้ว่าฯตั้งกรรมการตรวจสอบพื้นที่ด่วน
เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2565 ที่หน้าศากลางจังหวัดตรัง ชาวบ้านกว่า 30 คนนำโดยนายปรีดี รัตตนะ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ต.หาดสำราญ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง นายวิรุฬ ยอมใหญ่ และชาวบ้าน โดยมีนายโอฬาร ชนะสงคราม อดีตข้าราชการครู (นักไฮปารค์) มาร่วมเรียกร้องความยุติและความเป็นธรรมให้ชาวบ้านที่ถูกเจ้าหน้าที่ป่าชายเลนบุกเข้ารื้อทำลายอาสิน เช่น สวนปาล์มน้ำมัน บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงกุ้ง ต้นมะพร้าว ได้รับความเสียหายทั้งหมด ในครั้งนี้
โดยชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเพราะ จนท.ป่าชายแลน เข้ารื้อถอน ทำลายอาสินที่ปลูก มีต้นปาล์มน้ำมัน ต้นมะพร้าว พืชสวน บ่อเลี้ยงปลา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา โดยชาวบ้านไม่สามารถยับยั้งหรือต่อรองอะไรกับ จนท.ป่าชายเลนได้ เพราะเจ้าหน้าที่อ้างกฎหมายตลอด หลังการรื้อถอนอาสินของชาวบ้านบนเนื้อที่ 30 กว่าไร่ ชาวบ้านร้องเรียนตั้งแต่ระดับ อำเภอ จังหวัด และ ทรัพยากรธรรมชาติมาหลายครั้งก็ไร้ผล มาประชุมก็ไม่มีการสรุปว่าจะคืนที่ดินให้ชาวบ้านกลับหรือไม่ เพราะที่ดินดังกล่าวเป็นที่ทำกินของชาวบ้าน ครั้งบรรพบุรุษตกทอดกันมาแต่ละครอบครัว ไม่ใช่ที่ดินในเขตป่าชายเลน แต่อย่างใด
ในวันนี้ที่ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหาย เพราะถูก จนท.ป่าชายเลน เข้ารื้อถอนอาสินในครั้งนี้ มาติดตามคำตอบจากทาง ผู้ว่าฯตรัง แต่ไม่มีคำตอบให้ โดยเจ้าหน้าที่ป่าชายเลนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังไม่ได้ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการอะไร ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2565ที่ผ่านมา ดังนั้นนายโอฬาร ชนะสงคราม อดีตข้าราชการครู นักต่อสู้เพื่อความยุติธรรม ก็จับโทรโข่งพูดปราศรัย ถึงความเดือดร้อนจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ป่าชายเลน โดยชาวบ้านประมาณ 30-40 คนก็มายืนถือป้ายเพื่อเรียกร้องหาความเป้นธรรม.ในระหว่าง พ.ต.อ.เชื้อชาติ เยาว์ดำ ผกก.สภ.เมืองตรัง พ.ต.ท.อนุชัย สวยงาม รองผกก.สอบสวน พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็มาดูแลความปลอดภัย ถามทุกข์สุขชาวบ้านที่เดินทางมาประท้วงเรียกร้องสิทธิทำกิน
จนกระทั่งช่วงเย็นเวลา 18.00 น นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าฯตรัง นายไพบูลย์ โอมาก รองผู้ว่าฯตรัง นายอำเภอหาดสำราญ เจ้าหน้าที่ป่าชายเลนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เร่งประชุม ในเวลาต่อมาก็มีการเชิญตัวแทนจำนวน 5 คนเพื่อพูดคุย โดยการพูดคุยเจรจากว่าครึ่งชั่วโมงก็ได้ข้อสรุปเป็นคำตอบ โดยนายโอฬาร ชนะสงคราม ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้าน ก็ลงมาพบชาวบ้านที่รออยู่หน้าศาลากลาง ก็ได้แจ้งกับชาวบ้านว่า “ มติในที่ประชุม ผู้ว่าฯตรังสั่งการตั้งกรรมการเข้าไปตรวจสอบรังวัดแนวเขต โดยการยิงสัญญาณ GPS หากยิงสัญญาณ GPS แล้ว ชาวบ้านรุกที่ป่าชายเลน ชาวบ้านก็ต้องออกจากพื้นที่ทันที หากการรังวัดจาก GPS ที่ดินทำกินชาวบ้านไม่ได้อยู่ในเขตป่าชายเลน ชาวบ้านก็เข้ามาทำกินได้ตามปรกติ ซึ่งชาวบ้านทั้งหมดพอใจกับคำตอบและข้อตกลงนี้ โดยเจ้าหน้าที่จะเข้าไปรังวัดให้เร็วที่สุด
นายวิรุฬ ยอมใหญ่ ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ต.ตะเสะ กล่าวว่า”ตนเองได้รับความเสียหายมากที่สุดเพราะปลูกต้นปาล์มน้ำมันกว่า 100 ต้นบนเนื้อที่ 5 ไร่ อายุปาล์ม 6 ปี เริ่มเก็บผลผลิต จนท.ป่าชายเลนใช้รถแบล็คโฮเข้ารื้อถอนทำลายสวนปาล์มเสียหายทั้งหมด เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเดือนกุมาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ตนเป็นหนี้ ธกส.กว่า 3 แสนบาท เอาหลักทรัพย์ที่ดินแปลงอื่นไปกู้เงินจากธกส.นำเงินมาทำสวนปาล์มแปลงนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: