‘สุชัชวีร์’ ปชป. หาเสียงที่สวนลุมฯ โชว์เต้นแอโรบิกร่วมออกกำลังกาย ชี้พื้นที่สีเขียวต้องเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนเข้าถึงได้ง่าย
ในช่วงเช้าของวันที่ 19 เมษายน 2565 ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 4 พรรคประชาธิปัตย์ โดยได้ไปร่วมออกกำลังกาย และเต้นแอร์โรบิคที่ สวนลุมพินี พร้อมด้วยนายสมชาย กรสิริพักตร์ ผู้สมัคร ส.ก. หมายเลข 2, น.ส.อรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ อดีต ส.ส. กทม. และกัปตันไมเคิล พันธ์พิสุทธิ์ นุราช ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กทม.
ศ.สุชัชวีร์ กล่าวว่า ไปมาหลายแห่ง สวนลุมถือว่าเป็นสุดยอดของสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหลายพื้นที่ทั้งทางวิ่ง ทางเดิน ต้องซ่อมแซม มีหลายจุดได้ปะผุเอาไว้ พื้นพวกนี้เวลาฝนตก เจอน้ำท่วมจะไม่ทน และระบบระบายน้ำของสวนสาธารณะต้องระบายน้ำได้เร็ว ถ้าระบายน้ำได้ช้า จะทำให้ทรุด และแตก ทำให้ผู้สูงอายุเดินออกกำลังกายได้ลำบาก
ข่าวน่าสนใจ:
“เดี๋ยวนี้แอสฟัลท์สำหรับใช้วิ่งมีราคาไม่แพง และคุ้มค่า เพราะมีคนมาวิ่งทุกวัน สิ่งที่เป็นนโยบายที่อยากทำเป็นสิ่งแรกคือ ที่มีอยู่ซ่อมแซมปรับปรุงให้ดี สวนลุมยังโชคดีกว่าสวนในพื้นที่ข้างนอก ผมไปฝั่งธน สวนธนบุรีรมย์แย่ยิ่งกว่านี้ สวนนวมินทร์ภิรมย์ ที่อยู่บึงกุ่ม จะเห็นว่าพื้นผิวชำรุด สะพานทรุด ทะเลสาบก็เน่า ไม่ต้องพูดถึงออกไปข้างนอกอย่างบึงกระเทียม น้ำเน่า ทางเดินก็เดินไม่ได้แล้ว แถวบางบอนมีสวนเฉลิมพระเกียรติอยู่หลังบ้านก็เข้าถึงไม่ได้ ดังนั้นอันดับแรกจะต้องซ่อมแซม และให้เข้าถึงได้ง่าย ถึงจะเป็นพื้นที่สีเขียวและเป็นพื้นที่สาธารณะที่คนเข้าถึงได้ง่าย” ศ.สุชัชวีร์ กล่าว
ศ.สุชัชวีร์ กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องแยกกัน แม้ว่าพื้นที่สีเขียวดีแต่ถ้าเข้าถึงไม่ได้ก็ได้แค่เห็นแต่ความสวยงาม แต่ถ้าเข้าถึงได้ก็จะเป็นสุดยอดของเมือง ในต่างประเทศเขาไม่ได้มีคนเก่งกว่าเราหรอก แต่เขาใช้กฎหมายเข้มข้นเท่าเทียม โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยซึ่งถือเป็นเรื่องส่วนรวม ตั้งใจทำกรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่มีมาตรฐานทั้งเรื่องความปลอดภัยในการก่อสร้าง จะช่วยเรื่องฝุ่นเยอะ ที่จริงแล้วควรมีป้ายแจ้งเตือนเรื่องฝุ่นที่ควรจะเห็นได้ง่าย และเราเห็นป้ายโฆษณาเต็มไปหมดอยู่แล้ว ป้ายโฆษณาเหล่านี้ กทม. เป็นผู้อนุญาต และเก็บภาษี ซึ่งหากขอความร่วมมือให้มีตัววิ่งเพื่อแสดงค่าฝุ่น ก็เชื่อว่ามีคนอยากช่วย เดี๋ยวนี้เครื่องวัดฝุ่นเดี๋ยวนี้มีขนาดเล็ก หลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศทำได้เอง มีราคาถูก อายุการใช้งานแบตเตอรี่นานด้วย ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็น KPI ทำให้ผู้ว่าฯ กทม. รู้ว่าเขตไหน จุดไหนมีฝุ่น PM 2.5 PM 4 หรือ PM 10 เกิน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: