วันที่ 27 เมษายน 2565 ที่จังหวัดนครพนม นายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 2 ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ บริษัทโปรเกรส เทคโนโลยี คอนซัลแทนส์ จำกัด และ บริษัทเมก้าเทค คอนซัลแทนส์ จำกัด เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ การวิเคราะห์ และจัดทำผังลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่ในระบบทางน้ำตามผังน้ำ ใช้ข้อมูลผังน้ำประกอบการสนับสนุนแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม รวมถึงการจัดสรรการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ รวมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผังน้ำให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่รัฐบาลได้กำหนดให้ สทนช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการและคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทำการเร่งศึกษา เพื่อจัดทำผังน้ำขึ้นภายใน 2 ปี นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา
นายชาญชัย คงทัน รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดในภาคอีสานตอนบนต้องพึงพาอาศัยเรื่องน้ำเป็นหลัก เพราะประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำการเกษตร และน้ำที่ว่าก็มาจากแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาขาย่อยต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมามักจะประสบกับปัญหา ถ้าไม่แล้งก็น้ำท่วมอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นการตื้นเขินของแหล่งน้ำทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เพียงพอ และจังหวัดก็ได้มีการจัดสรรงบประมาณต่าง ๆ ลงไป เพื่อให้ความช่วยเหลือ ในการพัฒนาแหล่งน้ำเหล่านี้ให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และด้วยรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องของน้ำ จึงได้มี พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำออกมา จึงเป็นที่มาของการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 47,161.97 ตารางกิโลเมตร คลอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นระบบ บนมาตรฐานและการเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน รวมถึงมีความสอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นในช่วงฤดูน้ำหลากหรือช่วงฤดูแล้ง โดยการประชุมในวันนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ สทนช. จัดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนครพนม หลังจากครั้งแรกได้มีปฐมนิเทศเพื่อนำเสนอแนวคิดในการศึกษาโครงการ พร้อมกับรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ สภาพปัญหา ข้อวิตกกังวลต่างๆ จากกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ที่ประกอบไปด้วย คณะกรรมการลุ่มน้ำสาขา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อมวลชน และประชาชนในพื้นที่ แล้วนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ไปจัดทำเป็นแผนร่างโครงการ ฉบับร่าง 1 ออกมาเพื่อให้ทุกคนได้มาร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในการประชุมวันนี้ โดยหลังการนี้คณะทำงานจะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้ไปทบทวนเพื่อปรับปรุงร่างผังโครงการ เป็นฉบับร่าง 2 ก่อนที่จะนำมาให้ทุกคนร่วมกันพิจารณาในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า และทำในลักษณะนี้อีกครั้งในฉบับร่าง 3 เพื่อให้กลายเป็นผังน้ำและรายการประกอบสำหรับนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา และข้อมูลสนับสนุนผังน้ำลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- "มรสุม" ลูกแรกถึงนราฯแล้ว 20 - 26 พ.ย.67 !!!
- คึกคัก นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย-ต่างชาติ แห่เที่ยวจับจ่ายหาของกินคาวหวาน-อาหารทะเลในงาน ‘หาดแม่รำพึง หร่อยริมเล’ ครั้งที่ 2 แน่นงาน
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: