เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 65 ที่ตำบลนาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย ได้มีการจัดงานประเพณี “ผีขนน้ำ” โดยนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานการเปิดงาน มีนายอภินันต์ สุวรรณโค นายอำเภอเชียงคาน นายอวิรุจน์ ศรีพันธ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชองค์การปกครองปกครองส่วนท้องถิ่น ต.นายซ่าว และชาวบ้าน 15 หมู่บ้าน ร่วมขบวนแห่ เป็นอย่างสนุกสนาน หลังจากมีการว่างเว้นจัดงานมากว่า 2 ปี
ประเพณีผีขนน้ำหรือบุญเดือนหก ของชาวบ้านนาซ่าว ปกติจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเป็นการละเล่นตามความเชื่อคนโบราณ เชื่อกันว่าเมื่อมีการละเล่นผีขนน้ำแล้ว จะทำให้ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล เชื่อว่าเป็นการละเล่น เพื่อเซ่นไหว้สัตว์เลี้ยงที่มีคุณประโยชน์ เช่น วัว ควาย ที่ล้มหายตายจากไป โดยมีการจัดขบวนแห่ฟ้อนรำอันสวยงาม การละเล่นผีขนน้ำของตำบลนาซ่าวแสดงออกถึงเอกลักษณ์ท้องถิ่น สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ที่ถือเอาวันแรม 13 ค่ำ เดือนหก เป็นวันกำหนดการจัดงาน
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
- พร้อมรับสมัครเลือกตั้งนายกและสมาชิกสภา อบจ.พังงา เชิญชวนคนดีมีความสามารถมาสมัคร 23-27 ธันวาคมนี้
- ผู้ช่วย ผบ.ทบ.ร่วมงานวันสถาปนาหน่วย ร.12 รอ. ครบรอบปีที่ 42 จ.สระแก้ว
- ฝ่ายปกครอง อ.ปลาปากสนธิกำลังตร .บุกรวบหนุ่ม 20 ขาใหญ่ จำหน่ายยาบ้า โดดหลังบ้าน คว้ามีดพร้าเปิดทาง หลบหนีไปไม่รอด
การละเล่นแห่ขบวนผีขนน้ำ จะเดินตามเป็นขบวนในภายในหมู่บ้าน จะเป็นการถวายผีเจ้านาย ผีขนน้ำจะแต่งกายจากวัสดุที่ทำจากกิ่งไม้ไผ่ นำมาดัดให้โค้ง แล้วติดด้วยกระดาษสีต่างๆ เพื่อความสวยงาม หลังจากนั้นจึงนำมาเย็บติดกับผ้า เพิ่มความสวยงามชุดไว้สวมใส่ก่อนที่จะสวมหน้ากาก แขวนขอลอ ให้เวลาเดินหรือเต้น จะส่งเสียงให้ได้ยินแต่ไกล โดยชาวบ้านที่ร่วมขบวนส่วนใหญ่จะเป็นชายฉกรรจ์กับเด็ก ๆ ที่ชอบความสนุกสนาน ทุกคนจะพร้อมใจกันสวมหน้ากาก ตกแต่งเป็นรูปหน้าโค กระบือ วาดลวดลายสีสันฉูดฉาด เพื่อบูชาคุณสัตว์ทั้งสองชนิดที่ช่วยงานเกษตร นอกจากนี้ยังนำเอาผ้าจากที่นอนเก่า ๆ มาห่มร่าง เพื่อให้นุ่นที่ติดอยู่ฟุ้งกระจาย ซึ่งแต่ก่อนเรียกประเพณีนี้ว่า “ผีขน”
การแห่ผีขนน้ำ หรือ แมงหน้างาม เป็นส่วนหนึ่ง และเป็นไฮไลท์สำคัญของ งานบุญเดือนหก ซึ่งเป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวนาซ่าว ที่จากเดิมคือ ชนกลุ่มน้อยเผ่าไทยพวน ที่อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ได้มาตั้งหลักแหล่งกันที่บ้านนาซำหว้า และในสมัยนั้นชาวบ้านยังไม่มีที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงนับถือผีบรรพบุรุษและผีปู่ย่า และเชื่อกันว่าการเล่นผีขนน้ำ คือพิธีกรรมไหว้ผีบรรพบุรุษที่ชาวบ้านรวมตัวกันจัดขึ้น หรือเรียกว่า เลี้ยงบ้าน เพื่อแสดงความเคารพและตอบแทนบุญคุณ ผีเจ้าปู่ ที่ให้ความคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ฝนตกต้องตามฤดูกาล และมีพืชผลอุดมสมบูรณ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: