เกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอำเภอย่านตาขาว จ.ตรัง ใช้เทคนิคการห่อทุเรียนด้วยถุงผ้าสีแดงทั้งต้น เป็นสวนแรกและสวนเดียวในอำเภอ จะทำให้ผลสวย ป้องกันหนอน กระรอกกระแต โรคและแมลงต่าง ๆ รบกวนและปลอดสารจากเคมีด้วย สร้างสีสันสวยงามแปลกตา และขายได้ราคาดีจนมีคนจองเกือบหมด
ห่อผลทุเรียน : วันนี้ 20 พ.ค. 65 นี่เป็นต้นทุเรียนหมอนทองของนายสุรเชษฐ์ เส็นฤทธิ์ อายุ 37 ปี ซึ่งเป็น young smart farmerอยู่บ้านเลขที่ 61 หมู่ 5 ต.โพรงจระเข้ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง ซึ่งปีนี้เป็นปีแรกที่ใช้ถุงผ้าสีแดงห่อทุเรียน เพื่อป้องกันหนอนเจาะผลทุเรียน เพลี้ยแป้ง ราดำ กระรอกกระแต และยังปลอดสารจากการใช้สารเคมีด้วย สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างมาก โดย 2 ปีก่อนหน้านี้เกษตรกรได้ห่อทุเรียนด้วยถุงพลาสติกใส ซึ่งก็ได้ผลดี ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ทำให้ขายได้ราคาและมีคนจองล่วงหน้าจนหมดเกลี้ยง
มาปีนี้เกษตรกรได้หันมาห่อด้วยถุงผ้าสีแดง นอกจากจะมีสีสันที่สดใส สวยงามแปลกตาแล้ว ก็ยังเชื่อว่าจะทำให้ผลทุเรียนมีผิวสีเหลืองนวล สวยกว่าทุเรียนที่ห่อด้วยถุงพลาสติกใส หรือไม่ห่ออะไรเลย เพราะจากที่เคยไปศึกษาดูงานของเกษตรกรจังหวัดอื่น พบว่าทุเรียนที่ห่อจะมีผิวเหลืองสวย จึงนำมาปรับใช้ในสวนของตนเป็นสวนแรกและสวนเดียวในอำเภอย่านตาขาว โดยเริ่มห่อผลทุเรียนขณะที่ทุเรียนอายุประมาณ 20 วันหลังดอกบาน หรือระยะติดผลเล็ก (ผลทุเรียนขนาดไข่กระทา) และในช่วงประมาณ 50-60 วันหลังดอกบาน จะทำการคัดเลือกผลทุเรียนที่สมบูรณ์ และห่อด้วยถุงห่อทุเรียน Magik Growth หลังจากดำเนินการห่อไม่พบผลร่วง ซึ่งวิธีการห่อผลทุเรียนดังกล่าว ทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจว่า สามารถควบคุมหนอนเจาะผลได้ถึง 100 เปอร์เซนต์ และยังปลอดสารเคมี 100 เปอร์เซนต์
โดยจะตัดทุเรียนขายได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้ ในราคากิโลกรัมละ 150 บาทซึ่งขายเท่ากับปีที่ผ่านมา โดยมีลูกค้าเก่าและใหม่จับจองเข้ามาเกือบหมดเกลี้ยงแล้ว ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเฉลี่ยปีละประมาณ 18,000 บาท/ต้น (สนใจสามารถติดต่อสั่งจองทุเรียนหมอนทองไร้สารเคมีได้ที่ คุณสุรเชษฐ เส็นฤทธิ์ โทร 086-0455116)
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับถุงห่อทุเรียน Magik Growth เป็นนวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวน มีสมบัติให้น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้โดยง่าย รวมถึงมีสมบัติการคัดเลือกช่วงแสงที่เหมาะสมกับเซลล์รับแสงที่ผิวผลไม้ เมื่อนำไปห่อทุเรียน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยทีมวิจัยสิ่งทอ กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีโพลิเมอร์ขั้นสูง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง โดยคาดว่าในปีต่อไป จะมีเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนรายอื่น ๆ ได้นำไปใช้ห่อทุเรียนให้ได้ผลผลิตเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์มากขึ้น
ด้านนายสุรเชษฐ์ เส็นฤทธิ์ เจ้าของสวนทุเรียนห่อถุงผ้าชาวอำเภอย่านตาขาว จ.ตรังกล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เคยเห็น ทำให้ผิวจากสีเขียวจะออกสีนวล ๆ แต่ถ้าห่อถุงใสๆ จะโดนแสง ผิวจะออกเขียวเข้ม ถ้าห่อแบบผ้าจะทึบแสง สีผิวก็จะออกสีเหลืองนวล โดยเพิ่งทดลองปีแรกเพื่อเปรียบเทียบกันระหว่างการห่อด้วยถุงพลาสติกกับห่อถุงผ้า magik growth ซึ่งต้องคอยดูผลกันอีกที แต่ตามความคิดตนเชื่อว่าน่าจะดีกว่า โดยมีทั้งหมด 50 ลูกส่วนที่เหลือห่อด้วยถุงพลาสติกใส.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: