กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรี พอใจ การผลิตภาคอุตสาหกรรมโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ทิศทางเดียวกับการส่งออก พร้อมอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ รักษาการฟื้นตัว หนุนคนมีงานทำ ตามนโยบาย ‘ประชาชนมีรายได้’
วันที่ 2 มิถุนายน 2565 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจ และได้รับรายงานถึงสัญญาณ ซึ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย
โดยกระทรวงอุตสาหกรรมรายงานให้ทราบว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย.2565 เติบโตที่ร้อยละ 0.56 เป็นบวกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8
ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ประเมินแนวโน้มผ่านเครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (EWS-IE) พบว่า ใน 1-2 เดือนข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมจะยังขยายตัวได้ ด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการเติบโตของการส่งออก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายตามลำดับ ทั้งไทยและต่างประเทศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ประชาชนมีการเดินทางและมีการใช้จ่ายมากขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
- กลุ่มผู้รับเหมาประกาศกฎเหล็กไม่ดำเนินงานต่อโครงการพลังงานสะอาด หาก UJV ไม่ชำระหนี้เก่าทั้งหมด
- ททท.เชิญชม แสง สี สวยงามอลังการ “VIJIT CHAO PHRAYA 2024” วันนี้-15 ธค. ฟรี
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- ปัญหาที่ท้าทายของ “กรมชลประทาน” กับการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงแจ้งเตือนการเกิดอุทกภัยใน “พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง”
“นายกรัฐมนตรีพอใจกับสัญญาณของเศรษฐกิจ ที่ล่าสุดยังชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทย ทั้งการผลิตอุตสาหกรรม การส่งอออกสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร ตลอดจนการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้น จากการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ทั้งหมดสะท้อนถึงแนวโน้มการมีงานทำและกำลังการใช้จ่ายของประชาชนที่จะดีขึ้น เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลมุ่งดูแลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่องเพื่อเกิดการจ้างงาน ให้ประชาชนมีรายได้” น.ส.ไตรศุลี กล่าว
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่า เพื่อรักษาแรงส่งทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญกับการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการส่งออก โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออก ให้สนับสนุนในการหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ อาทิ ตลาดในประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน ที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขยายตลาดจากกรณีที่ขณะนี้หลายประเทศ มีนโยบายปกป้องอาหาร (Food protection) งดการส่งออกสินค้าบางรายการ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารในช่วงที่ถูกกระทบจากภาวะสงคราม ซึ่งการที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารสำคัญหลายรายการ จะเป็นโอกาสที่ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดเพิ่มเติมได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: