ไทย้อโพนสวรรค์ชู ”พระธาตุจำปา” อายุกว่า 100 ปีเป็นภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พร้อมการละเล่น 4 ชนเผ่า
วันที่ 12 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์ วัดธาตุจำปา บ้านเสาเล้าใหญ่ หมู่ 2 ต.โพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม พร้อมด้วยคณะประชุมสภาวัฒนธรรมสัญจร ในโครงการโสเล่เสวนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยมีนายเพชรตา นนท์เหล่าพล ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอโพนสวรรค์และผู้แทนจากตำบลต่างๆในอำเภอโพนสวรรค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรมในพื้นที่ เพื่อขอจดทะเบียนตามแบบ มภ.2 ระดับจังหวัด
ในเบื้องต้นทางผู้ร่วมเสวนาเสนอให้พระธาตุจำปาเป็นมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2458 สูง 24 เมตร กว้าง 4 เมตร ก่ออิฐถือปูนติดลายปูนปั้นรอบทั้งองค์ เป็นภาพพระเวสสันดรชาดก มีผู้นำการก่อสร้างชื่อพระเม้า ปัญญาวโร ซึ่งเป็นชาวบ้านเสาเล้าโดยกำเนิด มีชาวบ้านในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงได้ร่วมแรงร่วมใจก่อสร้าง อิฐที่ใช้สร้างพระธาตุก็ช่วยกันปั้นและเผาในบริเวณเดียวกับที่ก่อสร้าง ใช้เวลาถึง 7 ปีจึงแล้วเสร็จ
ภายในองค์พระธาตุได้บรรจุวัตถุมงคล หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มี พระพุทธรูป คุดขอ นองา แข่วหมูตัน จันทะคาด พร้อมของมีค่าอีกเป็นอันมาก กาลล่วงเลยมาถึง พ.ศ.2525 พระครูปลัดหวล วัดรัชฎษธิฐาน เขตตลิ่งชัน กทม. ได้นำเอาอัฏฐิพระอรหันต์จากกรมศิลปากรมาบรรจุไว้ในช่วงบนขององค์พระธาตุ และนำเฉวตฉัตรแบบทึบมาใส่แทนเฉวตฉัตรเดิมที่ถูกฟ้าผ่าถึง 2 ครั้ง แต่ถูกพายุฤดูร้อนพัดหักโค่นลงมาอีกเมื่อปี 2558 จึงมีการปรับปรุงแก้ไขยอดเฉวตฉัตรพร้อมติดสายล่อฟ้า ก็ไม่ปรากฏเหตุการณ์ฟ้าผ่าลงมาอีกเลย ต่อมาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนพระธาตุจำปาเป็นโบราณสถานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดศึกชิงนายก อบจ.ปัตตานี อดีต สส.ท้าชน อดีตนายก อบจ.4 สมัยเดือดตั้งแต่วันแรก (มีคลิป)
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- คอกาแฟแห่เที่ยวงานพังงาคอฟฟี่เจอร์นี่ ซีซั่น 3 ภายใต้รูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Coffee in the Park ในสวนสมเด็จฯพังงา
สำหรับพระเม้าผู้นำการก่อสร้างพระธาตุจำปา มีบันทึกเป็นหลักฐานว่า ได้ไปก่อสร้างพระธาตุหรือเจดีย์อีก 3 แห่ง ได้แก่ 1.วัดมหาธาตุ เขตเทศบาลเมืองนครพนม 2.วัดบ้านดอนแดง อ.นาหว้า จ.นครพนม และ 3.วัดธาตุเรณู อ.เรณู จ.นครพนม
นายเพชรตา นนท์เหล่าพล ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอโพนสวรรค์ เปิดเผยว่าในเดือน 3 แรม 4 ค่ำของทุกปี จะมีงานนมัสการพระธาตุจำปา โดยมีการแสดงประเพณีวัฒนธรรมของ 4 ชนเผ่าที่อยู่ในพื้นที่อำเภอโพนสวรรค์ คือ 1.ชนเผ่าไทญ้อ(ย้อ) 2.ไทยอีสาน 3.ไทโส้ 4.กะเลิง การแห่จะมีผู้ร่วมขบวนไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคน ปัจจุบันมีพระอธิการสุวินัย มหาคุโณ เจ้าคณะตำบลโพนสวรรค์ เขต 2 (มหานิกาย) เป็นเจ้าอาวาส และกำลังบูรณะโบสถ์ประดับตกแต่งลวดลายสวยงาม และใกล้กำแพงวัดมีร้านขนมจีนบีบสดสูตรเฉพาะของชาวไทย้อที่มีน้ำปลาร้าต้มรสชาติอร่อย มีลูกค้าสั่งจองคิวยาวทุกวันหากมาหลังเที่ยงจะไม่ได้ทาน
อนึ่ง อำเภอโพนสวรรค์เป็นชนเผ่าไทย้อที่อพยพมาจากอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เมื่อประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว เนื่องจากชาวไทย้อกลุ่มนี้แยกตัวมาจาก อ.ท่าอุเทน จึงมีวิวัฒนาการขนบธรรมเนียมประเพณีไม่แตกต่างกัน อาทิ ประเพณีทางศาสนา เช่น บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษา และบุญสงกรานต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีประเพณีของชนเผ่าต่างๆ เช่น การละเล่นโส้ทั่งบั้ง รำไทย้อ โดยเฉพาะช่วงบุญออกพรรษามีประเพณีไหลเรือไฟ อำเภอโพนสวรรค์ได้ส่งเรือไฟเข้าประกวด และด้วยความร่วมมือร่วมใจกันทำให้เรือไฟโพนสวรรค์ได้รับรางวัลชนะเลิศหลายปีติดต่อกัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: