เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 คณะอนุกรรมการติดตามโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก นำโดย ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตรวจเยี่ยมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (โครงการ U2T) โดยมี ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง หัวหน้าสาขากีฏวิทยาฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาววราภรณ์ ผิวพรรณงาม บริษัทสุดาเอ็นโทฟาร์มจำกัด ร่วมต้อนรับ ทั้งนี้มีคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ บุคลากร คณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายร่วมงานกว่า 50 ท่าน ณ ห้องประชุมสารสิน ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร และโรงเรือนต้นแบบวิจัยและผลิตแมลงอุตสาหกรรม หมวดแมลงอุตสาหกรรม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ศ.ดร.สนิท อักษรแก้ว ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เผยว่า ขอชื่นชมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ในการมาเยือนครั้งนี้ เห็นได้ว่าโครงการมีความก้าวหน้าและพัฒนาเป็นอย่างมาก มีการวางแผนการทำงานตามโครงการเป็นอย่างดี โดยนำความรู้วิชาการมาใช้ในการพัฒนา ทั้งทัศนคติในการสร้างพื้นที่ทำกินแก่ประชาชน และการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน ทั้งนี้ข้อคำแนะนำคือสภาพัฒน์ฯ มีองค์ความรู้ และบุคลลากร ที่พร้อมจะช่วยเหลือท่าน ขอให้ท่านมั่นใจหากมีข้อความกังวลใด เราพร้อมจะขับเคลลื่อนโครงการไปพร้อมกัน เพื่อให้สร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานรากของชาติได้สำเร็จลุล่วง
ข่าวน่าสนใจ:
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
- อบจ.สงขลาแถลงผลดำเนินการ “1,460 วันนายกไพเจนขับเคลื่อน กว่า1,460 โครงการ” สร้างสุขชุมชน
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
- ปราจีนบุรี ลูกจ้าง อบต.10 คน ถวายหัวหมู หลังถูกเลขเด็ด 2 ตัวตรง
ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ รับผิดชอบ 135 ตำบล ใน 11 จังหวัด ประกอบด้วย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ โดยมีเจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 2,700 คน ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ ประเภทประชาชนทั่วไปจำนวน 675 อัตรา ประเภทบัณฑิตจบใหม่จำนวน 1,080 อัตรา ประเภทนักศึกษาจำนวน 675 อัตรา ทำงานในพื้นที่ 2,430 อัตรา และจัดทำข้อมูลราชการเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ 258 อัตรา โดยดำเนินกิจกรรม 4 ด้านได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ การนำองค์ความรู้ไปบริการชุมชน การสร้างและพัฒนา Creative Economy และ การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy ผลจากการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสามารถสรุปผลการประเมินศักยภาพตำบล ได้ดังนี้ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ สามารถสร้างตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน จากเดิมร้อยละ 11.85 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.37 และสามารถยกระดับตำบลที่ยังไม่สามารถอยู่รอด จากเดิมร้อยละ 45.19 ให้ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 2.22 ขอขอบพระคุณคณะกรรมการ ฯ ทุกท่านที่ร่วมทำงานอย่างพากเพียร ความคาดหวังของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการนี้คือการที่ตำบลเป้าหมายสามารถยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาได้ ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างแท้จริง
ศาสตราจารย์ยุพา หาญบุญทรง หัวหน้าสาขากีฏวิทยาฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอจุดเด่นของโครงการที่นำองค์ความรู้แก่ชุมชน เรื่อง แมลงโปรตีน (Black Soldier Fly)และการใช้ประโยชน์ มีประโยชน์ทางด้านโภชนาการ โปรตีนสูง ประชากรฝั่งยุโรปนิยมรับประทาน แมลงโปรตีนใช้กำจัดขยะอินทรีย์ เป็นผู้ย่อยสลายขยะอินทรีย์พืชและสัตว์ การผลิตแมลงโปรตีน ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลิตพ่อ แม่พันธุ์ ผลิตหนอน จากสูตรอาหาร organic waste ต่างๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบโปรตีนในอาหารสัตว์ และใช้กำจัดขยะอินทรีย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำหน้าที่ วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยี แก่ เกษตรกร และ Startup โรงงานอุตสาหกรรม ทำการจ้างงานนักศึกษา บัณฑิต และประชาชน จำนวน 28 คน (บ่มเพาะ 1 ปี) จัดฝึกอบรมเกษตร จำนวน 334 คน การผลิตและใช้ประโยชน์แมลงโปรตีน การเก็บไข่ การบ่มไข่ และการอนุบาลหนอน การเลี้ยงหนอน กำเนิดศูนย์เรียนรู้แมลงโปรตีน (Black Soldier Fly) จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ไฮเลิง จังหวัดศรีสะเกษ ศิวะพณ BSF ฟาร์ม จังหวัดขอนแก่น วนเกษตรสวนจิตพอเพียง จังหวัดขอนแก่น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: