กรุงเทพฯ – กฟผ. และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ ลงนามสัญญารับทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ในโครงการศึกษาการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากยิปซั่ม FGD ร่วมกับการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีลงนาม สนับสนุนทุนวิจัย ในโครงการศึกษาการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนตจากยิปซั่ม FGD ร่วมกับการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมี ดร.นรินทร์ เผ่าวณิช ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า กฟผ. เป็นผู้แทน กฟผ. ร่วมลงนามกับ รศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ หัวหน้าคณะทำงานวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะผู้วิจัย ณ สำนักงานกลาง กฟผ. จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565
นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน ระบุว่า งานวิจัยนี้เป็นโครงการนำร่องที่สำคัญ ในการพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยี Carbon Capture ให้สามารถนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้จากการผลิตไฟฟ้า มาใช้ร่วมกับวัสดุพลอยได้จากกระบวนการกำจัดมลสารของโรงไฟฟ้าหรือยิปซั่ม เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุที่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ คือ แคลเซียมคาร์บอเนต การสนับสนุนการวิจัยนี้ จึงมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย ‘ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality’ ด้วยการส่งเสริมและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) อย่างเป็นรูปธรรม
ด้าน ผศ.ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี เสริมว่า ทุนสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ มีระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2566 เป้าหมายในการศึกษาประสิทธิภาพและกระบวนการสังเคราะห์แคลเซียมคาร์บอเนต จากยิปซั่ม FGD ที่เป็นผลพลอยได้ จากกระบวนการกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ของโรงไฟฟ้า เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์แคลเซียมคาร์บอเนตบริสุทธิ์ (CaCO3) นำกลับไปใช้ในกระบวนการกำจัด
ข่าวน่าสนใจ:
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (กระบวนการ FGD) ของโรงไฟฟ้า ช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงไฟฟ้าที่เป็นสาเหตุหนึ่งของสภาวะโลกร้อน พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยี และเศรษฐศาสตร์ในกระบวนการผลิตแคลเซียมคาร์บอเนต ให้มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานของ กฟผ. และแนวทางการใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: