ผู้ว่าฯบุรีรัมย์ พร้อมด้วยส่วนราชการ ภาคเอกชน บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามความชื่อของคนท้องถิ่น หวังให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลทั่วทั้งจังหวัด มีน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตร
วันนี้(12 ก.ค. 65) เวลา 09.30 น. ที่อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก (หอชมนก) ด้านหน้าโครงการชลประทานบุรีรัมย์ อ.เมือง จ. บุรีรัมย์ นายธัชกร หัตถาธยากูล ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ พร้อมนางธันย์ภัคนันท์ หัตถาธยากูล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดบุรีรัมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมพิธีบวงสรวงองค์นาคาธิบดี ศรีสุทโธ ตลอดทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
ตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น เพื่อความเป็นสิริมงคล ดลบันดาลเกิดความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาลประชาชนชาวบุรีรัมย์ มีน้ำอุปโภค บริโภค และการเกษตร ไม่เกิดภัยแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเหมือนในปีพ.ศ.2562 – 2563 จังหวัดบุรีรัมย์ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่ามาตรฐาน อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง หลายแห่งมีสภาพแห้งขอด ประชาชนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรทั่วทั้งจังหวัด
ซึ่งตั้งแต่ ปี 2564 – ปัจจุบัน มีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมายังพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์อย่างต่อเนื่องทำให้ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ และขนาดกลางในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มีน้ำกักเก็บ เกิน 50 % ของความจุ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดและอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก สามารถกักเก็บน้ำรวมกันประมาณ 56 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บเฉลี่ย 39 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 69 % ของความจุทั้ง 2 อ่าง เพื่อใช้อุปโภค บริโภค และการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปี และยังสามารถรองรับน้ำได้อีก
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ตั้งเริ่มตั้งแต่ ปีที่ พ.ศ. 2563 จังหวัดบุรีรัมย์ โดย โครงการชลประทานบุรีรัมย์ได้ดำเนินการ ผันน้ำจากอ่าเก็บน้ำลำปลายมาศ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา โครงการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย จาก อ.กระสัง ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำจังหัน – ลำประเทีย เพื่อไปเติมอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก
ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ดำเนินการก่อสร้างเส้นทางผันในช่วงน้ำหลาก จากลำปะเทีย ระยะทาง 38 กิโลเมตร โครงการผันน้ำสูบกลับจากลำมาศ จากสถานีสูบน้ำลำปลายมาศ จัดทำเส้นทางน้ำบริเวณภูเขาไฟกระโดง ให้นำฝนไหลลงสู่บ่อหินของภาคเอกชนเพื่อเก็บเป็นน้ำดิบสำรอง และทำการขุดลอกพื้นที่ท้ายอ่าง เพิ่มปริมาณกักเก็บ รองรับน้ำฝนเพิ่มขึ้น
สถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 16 อ่างฯ มีปริมาณน้ำเก็บกัก 295,390,000 ลบ.ม. ปริมาณน้ำปัจจุบัน 204,341,000 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 69.18 % ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 188,928,000 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 67.49%
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: