วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ที่ห้องประชุมร่มฉัตร ชั้น 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม นายแพทย์ชัย กฤติยาภิชาตกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมยาสูบ เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ พร้อมด้วย รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ (ศบช.) หรือสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 นายแพทย์ปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม ตลอดจนผู้รับผิดชอบงานยาสูบจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ผู้แทนฝ่ายการแพทย์และผู้แทนฝ่ายการพยาบาล ผู้รับผิดชอบงานยาสูบคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ ผู้แทนคลินิก NCDs ผู้แทนคลินิกกายภาพบำบัด ตัวแทนกลุ่มงานเทคนิคบริการทางการแพทย์ และตัวแทนคลินิกทันตกรรมจากทุกโรงพยาบาลในจังหวัดนครพนม ได้ร่วมกันหารือถึงกระบวนการทำงานในการช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และการทำงานในชุมชน เพื่อสร้างให้จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดนำร่อง ในการพัฒนาเครือข่ายบริการช่วยเลิกบุหรี่ให้กับประชาชนที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ครอบคลุม ทั่วถึงและเป็นรูปธรรม ที่เกิดจากการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างคลินิกในพื้นที่ สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ของกลุ่มเป้าหมายได้ตามแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบของประเทศและจังหวัด กลายเป็นต้นแบบให้กับจังหวัดอื่น ๆ ในเขตสุขภาพที่ 8 ในการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ของประชาชน
ซึ่งจากข้อมูลการเสียชีวิตของประชากรในประเทศ พบว่าร้อยละ 76 เป็นการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ (NCD) ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจหลอดเลือด โรคมะเร็ง เบาหวานและโรคปอดเรื้อรัง ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ เพราะควันบุหรี่มี cadmium ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดเบาหวาน นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเป็นพิษต่อตับอ่อนโดยตรง ทำให้ไขมันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทั้งยังมีปัญหาในเรื่องการมองเห็น การเพิ่มความเสี่ยงในเรื่องปัญหาเหงือกและฟัน เกิดการชาปลายมือและเท้า การไหลเวียนของเลือดแย่ลง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 3 เท่า เพิ่มการทำลายเส้นประสาท เพิ่มความเสี่ยงเส้นเลือดหัวใจและสมองตีบหรือแตกเฉียบพลันถึง 11 เท่า เพิ่มโอกาสและอัตราการถูกตัดเท้าและขา ทำให้ยารักษาเบาหวานได้ผลน้อยลง โดยปัจจุบันพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ปีละมากกว่า 7 หมื่นคน โดยมี
คนที่ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันจากผู้อื่นสูบเสียชีวิตปีละ 7 พันกว่าคน และจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 ชาวจังหวัดนครพนมมีอัตราการสูบบุหรี่สูงถึงร้อยละ 18.8 ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศและของภาคอีสาน และที่ผ่านมาในการจัดบริการเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลยังมีน้อย ขาดระบบและการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันผู้รับบริการก็มีน้อยกว่าผู้สูบ และเมื่อเข้ารับบริการแล้วขาดความต่อเนื่อง ขาดการติดตามช่วยเหลือ ทำให้บางรายเลิกสูบไม่ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเร่งรัดพัฒนาระบบบริการช่วยเลิกบุหรี่อย่างจริงจังในทุกโรงพยาบาล โดยทุกฝ่ายจะพยายามหาแนวทางร่วมกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กไปเป็นนักสูบใหม่ พร้อมกับการช่วยให้ผู้ติดบุหรี่เลิกสูบได้ด้วยการบูรณาการที่เป็นระบบ และทำให้พื้นที่สาธารณะปลอดจากควันบุหรี่ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกคน
ข่าวน่าสนใจ:
- อบจ.ลำปางจัดประชุม“การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการตรวจประเมินและวางแผนปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพฝายในพื้นที่
- นราธิวาส-สุดทน! พ่อค้าแม่ค้าร้อง ส.ส.นำเรื่องเข้าสภาฯ หลัง "บอสตลาดเก็นติ้ง" จัดหนัก! ปรับราคาเช่า-ต่อสัญญาสูงลิ่ว
- บุรีรัมย์ มท 2 วางศิลาฤกษ์อาคารเรียนแบบพิเศษพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน
- บุรีรัมย์ รวบมือฟันแขนพ่อตาขาดเจ้าตัวกับเมียเผยความในใจ ถึงสาเหตุการก่อเหตุ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: