X

จังหวัดนครพนม จัดพิธีถวายคัมภีร์เทศน์เฉลิมพระเกียรติ บทพระธรรมเทศนาเฉลิมพระธรรมบารมีใน “อุภินนมัตถจรกถา”

จังหวัดนครพนม จัดพิธีถวายคัมภีร์เทศน์เฉลิมพระเกียรติ บทพระธรรมเทศนาเฉลิมพระธรรมบารมีใน “อุภินนมัตถจรกถา” เฉลิมพระธรรมบารมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ที่วัดสว่างสุวรรณาราม อำเภอเมืองนครพนม นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานการถวายคัมภีร์เทศน์เฉลิมพระเกียรติ บทพระธรรมเทศนาเฉลิมพระธรรมบารมี ใน “อุภินนมัตถจรกถา” เฉลิมพระเกียรติพระธรรมบารมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ถวายแก่เจ้าอาวาสทุกวัดในจังหวัดนครพนม เพื่อนำไปแสดงธรรมเทศนาเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้สดับ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทุกวันธรรมสวนะ

กระทรวงมหาดไทย จัดทำคัมภีร์เฉลิมพระเกียรติ บทพระธรรมเทศนาเฉลิมพระธรรมบารมี ใน “อุภินนมัตถจรกถา” เฉลิมพระธรรมบารมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยเมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จลง ณ พระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพฯ ทรงประทานคัมภีร์เทศน์เฉลิมพระเกียรติ บทพระธรรมเทศนาเฉลิมพระธรรมบารมีใน “อุภินนมัตถจรกถา” เฉลิมพระธรรมบารมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เพื่อนำไปถวายวัดสำหรับนำไปแสดงพระธรรมเทศนาเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้สดับ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทุกวันธรรมสวนะ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ดำเนินการจัดพิมพ์ 84,000 กัณฑ์ โดยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เป็นผู้แต่งบทพระธรรมเทศนาเฉลิมพระธรรมบารมีใน อุภินนมัตถจรกถา ซึ่งอธิบายถึงพระบรมพุทโธวาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยความประพฤติให้สำเร็จประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ประโยชน์เพื่อตนและเพื่อผู้อื่น ด้วยการอบรมเจริญคุณธรรมสำคัญ 3 ประการ ให้มีพร้อมขึ้นในตน ได้แก่ “ศีล” คือการรักษากาย วาจา ให้เป็นปรกติเรียบร้อย “ปัญญา” คือความฉลาดรอบรู้ หรือความรู้ชัดในเหตุและผล และ “สุตะ” คือการศึกษาเล่าเรียน เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก ถ้าสามารถเจริญธรรมะทั้ง 3 ประการ ให้พรั่งพร้อม จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งแก่ตนและสังคมส่วนรวม

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน