นายปิยะ หนูนิล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดเวทีการประชุมสัมมนาหน่วยงาน คณะทำงานประเมินผล การป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันจังหวัดลำปาง ประจำปี 2565 ที่ห้องประชุมจิตต์บัวคำ โรงแรมบุษย์น้ำทอง ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง เพื่อร่วมสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนในการติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในเขตพื้นที่ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องมาตลอดห้วงระยะเวลา 4 เดือน ในช่วงหน้าแล้งที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม 2565 พร้อมกับร่วมรับฟังข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น เพื่อการปรับปรุงวิธีการและแนวทางปฏิบัติ เตรียมมาตรการความพร้อมเพื่อจะนำไปใช้ในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของจังหวัดลำปางในปีถัดไป
ข่าวน่าสนใจ:
- พะเยา จับหนุ่มใหญ่ ซุกปืนเถื่อนสั้นยาวพร้อมกระสุนเพียบ ในบ้าน
- ฝ่ายปกครอง อ.ปลาปากสนธิกำลังตร .บุกรวบหนุ่ม 20 ขาใหญ่ จำหน่ายยาบ้า โดดหลังบ้าน คว้ามีดพร้าเปิดทาง หลบหนีไปไม่รอด
- กฟผ.แม่เมาะ มอบความสุข สไตล์บาหลี อินโดนีเซีย ในงานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
โดยการประชุมได้มีการชี้แจงสรุปผลการดำเนินงาน การรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของจังหวัดลำปาง ประจำปี 2565 ที่ผ่านมา (ม.ค. – พ.ค.) ซึ่งตลอดในห้วงระยะเวลาดังกล่าว จังหวัดลำปางได้กำหนดใช้มาตรการในการป้องกันแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ อาศัยการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วน ภายใต้กรอบแนวคิด Area : Function : Participation หรือ AFP โดยมีมาตรการในการดำเนินงานหลักๆ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดตั้งศูนย์สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ(Single Command) มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจรับแจ้งเหตุรวบรวมข้อมูลและสั่งการ(War Room) ระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล / ด้านการประชาสัมพันธ์ ได้จัดให้มีกิจกรรมประชาสัมพันธ์รณรงค์หยุดเผา ผ่านสื่อมวลชนในพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และอาสาสมัครภาคประชาชน / ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ได้จัดทำการขึ้นทะเบียนผู้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการหาของป่า หรือมีกิจกรรมในพื้นที่ป่า มีการจัดตั้งฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง / ด้านการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วม ได้ระดมกำลังหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องปฏิบัติการร่วมกับอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุนส่งเสริมชุมชนในพื้นที่เสี่ยงให้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมปัญหาไฟป่า อาทิเช่น การทำแนวกันไฟ, การจัดเวทีเสวนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันไฟป่า, การจัดการประกวดหมู่บ้านปลอดการเผา รวมถึงการอบรมเพื่อสร้างเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน และด้านการบังคับใช้กฎหมาย ได้กำหนดให้มีการดำเนินคดีกับผู้ที่จุดไฟเผาป่าในขั้นเด็ดขาด และจากการดำเนินงานอย่างเข้มข้นตามมาตรการดังกล่าวข้างต้น ได้ทำให้สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่รุนแรงน้อยกว่าปี 2564 ซึ่งพบว่าในปี 2565 จังหวัดลำปางมีสถิติการเกิดจุดความร้อน(Hotspot) และจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานมีจำนวนลดลง โดยตั้งแต่วันที่ 01 มกราคม ถึง 31 พฤษภาคม 2565 จังหวัดลำปางตรวจพบจุดความร้อนลดลง จากเดิม 5,818 จุด เหลือเพียง 2,269 จุด คิดเป็นอัตราที่ลดลงถึงร้อยละ 61 และมีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินค่ามาตรฐานลดลง จากเดิม 71 วัน เหลือเพียง 21 วัน คิดเป็นอัตราที่ลดลงถึงร้อยละ 70.42
ทั้งนี้ จากสถิติข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันของจังหวัดลำปาง ในปี 2565 สามารถใช้ได้ผลเป็นอย่างดี ซึ่งมาตรการทั้งหมดทางจังหวัด จะได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติของปีต่อไป โดยจะคงเน้นในการที่จะให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน และใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งในการดำเนินงาน ให้ชาวบ้านเป็นกำลังหลักในการสอดส่องดูแลเฝ้าระวังพื้นที่ไม่ให้เกิดไฟไหม้ป่า และให้หน่วยงานส่วนราชการเป็นส่วนกำลังเสริมคอยรับแจ้งเหตุสถานการณ์ไฟป่าพร้อมสนับสนุนในเรื่องของกำลังคนเครื่องมืออุปกรณ์และการเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที รวมถึงให้หน่วยงานระดับจังหวัดได้มีการกระจายอำนาจลงสู่หน่วยงานระดับท้องถิ่นท้องที่ เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณเป็นไปอย่างคล่องตัว ตลอดจนเป็นหน่วยงานหลักในการที่จะรณรงค์ให้ความรู้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องสร้างจิตสำนึกรักและหวงแหนผืนป่าให้แก่ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นด้วยวิธีการต่างๆ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: