พะเยา ใบหน้าติดต้นขี้เหล็กอายุกว่า 700 ปีโบราณ ขอโชค 2-3ตัวโผล่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้เกิดความฮือฮาใบหน้าครึ่งเสี้ยวคล้ายกับใบหน้าพระพุทธเจ้าหรือใบหน้ารูปคนครึ่งเสี้ยว ติดอยู่บนต้นผักขี้เหล็กอายุกว่า 700 ปีภายในบริเวณวัดร้าง หรือวัดทองแสนขันธ์ ท้ายหมู่บ้านสันป่างิ้ว หมู่ 12 ต.ต๋อมอ.เมือง จ.พะเยา ซึ่งใบหน้าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนต้นไม้ จนเกิดความฮือฮาแก่ผู้พบเห็นและเชื่อว่าต้นผักขี้เหล็กต้นนี้เป็นต้นไม้โบราณมีอายุกว่า 700 ปีเชื่อว่ามีรุกขเทวาปกปักรักษา หรือปู่เสี้ยวบ้าน คุ้มครอง จนชาวบ้านได้สร้างศาลเจ้าพ่อเสี้ยวบ้านไว้ใต้ต้นผักขี้เหล็กโบราณตามความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันว่าปกปักรักษาคุ้มครองชาวบ้านในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขอีกครั้งยังให้โชคลาภอีกด้วย จนมีบรรดาคอหวยพากัน นำดอกไม้ธูปเทียนเข้ามาเซ่นไหว้ขอโชคลาภกับเจ้าพ่อเสี้ยวบ้านก่อนวันหวยออกทุกงวด แล้วงวดนี้ได้มีคอหวยเข้ามาทำการจุดธูปขอพร้อมกับใช้แป้งรูปต้นขี้เหล็กพบว่ามีตัวเลขทั้ง 2 ตัว 53 -93 และ3 ตัว 534-536,539 บางคนจดจำ บางคนใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายเก็บไว้เพื่อนำไปเสี่ยงโชคต่อไป
นาง วันแดง ดวงตา อายุ40 ปีบ้านเลขที่ 111ม12บ้านสันป่างิ้ว ต.ต๋อม อ.เมืองจ.พะเยา กล่าวว่าใบหน้าที่คล้ายใบหน้าพระพุทธเจ้าถือใบหน้ารูปคนบนต้นขี้เหล็กอายุกว่า700ปี ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมานานแล้ว ซึ่งชาวบ้านตั้งแต่สมัยโบราณกาลเรียกว่า พ่อเสี้ยวบ้านคือใบหน้าที่ติดบนต้นขี้เหล็กติดอยู่ข้างบนเห็นอย่างชัดเจน จนชาวบ้านเชิ่อว่าเป็นใบหน้าพ่อเสี้ยวบ้าน และก็ได้ถ่ายภาพใบหน้าใส่กรอบรูปนำมาติดห้อยไว้ในศาลพ่อเสี้ยวบ้านใต้ต้นขี้เหล็ก พ่อเสี้ยวบ้านเป็นเทพปกปักรักษาคุ้มครองอยู่อาศัยกับต้นขี้เหล็กและคุ้มครองปกปักรักษาชาวบ้านบ้านสันป่างิ้วมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน และยังให้โชคลาภกับผู้มาขอ ก็จะได้ตามที่ขอ
ข่าวน่าสนใจ:
- คึกคัก นาย"บุ่นเล้ง" อดีตนายกอบจ.ตรัง นำทีมนายกบุ่นเล้ง สมัครครบ 30 เขต ท่ามกลางกองเชียร์คับคั่ง
- พะเยา สมัคร สจ.วันแรกคึกคักแดงทั้งทีม นักการเมืองระดับชาติ ส่งชิงเก้าอี้
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- พะเยา ล้อมจับขโมยในร้านข้าวมันไก่ชาวบ้านรุมสกรัมเลือดอาบทั่วตัว
สำหรับต้นขี้เหล็กต้นนี้มีอายุกว่า 700 ปีแล้วซึ่งอยู่อาศัยในเขตวัดร้างหรือวัดทองแสนขันธ์เดิม ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ท้ายหมู่บ้านสันป่างิ้วมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันชาวบ้านก็ด้วยได้ช่วยกันดูแลรักษาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้านดังกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: