ตรัง –ทุจริตยางชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังเสียหายกว่า 300 ล้านบาท โดยมีอดีตผู้จัดการหญิง ซึ่งถูกตำรวจกองปราบปรามจับกุมได้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมาตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกับพวก เชื่อมีผู้บริหารการยางบางคนร่วมขบวนการ เพราะมีการนำใบส่งฝากยางเปล่าจากหน่วยธุรกิจการยางมาฝากกับชุมนุมฯ แต่ขณะที่ยางของจริงกำลังชั่งขายอยู่ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ในจ.สงขลา โดยตร.กองปราบปรามรับปากเร่งแกะรอย เพื่อช่วยเหลือในการสืบสวนชุมนุม ขณะที่บรรยากาศการฝากขายยางที่ชุมนุมสหกรณ์กลับมาคึกคัก เงินหมุนเวียนทั้งซื้อทั้งขายยางไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาทต่อเดือน
ที่ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง ซึ่งประกอบธุรกิจรับฝากยางจากสหกรณ์สมาชิก และเป็นตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพารา จ.สงขลา พบว่าบรรยากาศกลับมาคึกคักอีกครั้ง ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการชุดใหม่นำโดยนายสมพร เต็งรัง ประธานกรรมการฯ ที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี 2563 ที่พยายามเข้ามากอบกู้กิจการที่เกือบล้มละลายจากการที่นางนิตรดา อาจเส็ม อายุ 47 ปี อดีตผู้จัดการชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังร่วมกับพวกทุจริตยางของชุมนุมสหกรณ์ไปขาย นำเงินเข้ากระเป๋าสร้างความเสียหายรวมกว่า 300 ล้านบาท จนกระทั่งตำรวจกองปราบปรามติดตามจับกุมอดีตผู้จัดการคนดังกล่าวได้ที่ จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ขณะหลบหนีหมายจับศาลจังหวัดตรัง จำนวน 4 คดี ประกอบด้วย คดีรับของโจร และคดีฉ้อโกง , ร่วมกับพวกทุจริตขายยาง – คดียักยอกยาง และคดีลักทรัพย์นายจ้าง (ยางของชุมนุมสหกรณ์จ.ตรัง) โดยหนีไปกบดานในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นถูกนำตัวกลับมาส่งศาล และติดคุกที่เรือนจำจังหวัดตรัง
นายสมพร เต็งรัง ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์จ.ตรัง กล่าวว่า ความเสียหายที่เกิดจากการทุจริตในชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังรวมกว่า 300 ล้านบาท ประกอบกันหลายคดี ในจำนวนนี้เป็นความเสียหายจากการที่อดีตผู้จัดการเอายางของชุมนุมสหกรณ์ไปขายในนามของบริษัทตัวเอง มูลค่าความเสียหายที่มีหลักฐานชัดเจนอยู่ที่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการเป็นเงิน 146 ล้านบาท สำนวนคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการ และเมื่อตำรวจจับตัวอดีตผู้จัดการได้แล้ว เชื่ออัยการจะส่งฟ้องศาลในเร็วๆนี้ ส่วนสำนวนที่ 2 ของชุมนุมสหกรณ์ คือ เมื่อปี 2561 อดีตผู้จัดการลักทรัพย์ยางของชุมนุมจำนวน 3.5 ล้านตัน ไปขายให้กับบริษัทเอกชนรายใหญ่ โดยขายในรหัสของตัวเองศาลพิพากษาลับหลังจำเลยหลบหนี เดือนพฤศจิกายน 2564 ตัดสินจำคุกหนึ่งปี และเรื่องรับของโจร และคดีฉ้อโกง ในคดีตั๋วสัญญาใช้เงินปลอม จำนวน 10 ฉบับๆละ 5 ล้านบาท รวมจำนวน 50 ล้านบาท ศาลตัดสินจำคุกไว้ 1 ปี 6 เดือน นอกจากนั้น ก็ยังมีอีกหลายกรณีเช่น ปลอมสัญญาซื้อขายยางจาก 124,000,000 ล้านบาท เหลือ 100,000,000 ล้านบาท ซึ่ง 24,000,000 ล้านบาท นั้นเอาไปแบ่งปันกันพวก โดยชุมนุมสหกรร์เป็นผู้เสียหายตอนนี้ร้องทุกข์อยู่ที่สภ.เมืองตรัง
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง สับปะรดทอด-ข้าวเม่าทอด ดาวเด่นประจำร้านสมพร รสชาติอร่อย ราคาเป็นกันเอง
- จนมุมเพราะไก่ชน!! ตำรวจบางละมุงวางแผนเหนือเมฆ หลอกแก๊งค์ค้ายานรกมาซื้อไก่ชน ก่อนตามรวบยกแก๊งค์ ยึดยาบ้าแสนเม็ด - ไอซ์ 1 กก. พร้อมรถ 2 คัน…
- บุรีรัมย์ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ชี้ควรเพิ่มหลีกแข่งขันในไทยเชื่อเศรษฐกิจพุ่งแน่นอน (มีคลิป)
- ตรัง ชื่นชมชุมชนท่องเที่ยวร่วมใจเก็บขยะบนเกาะเหลาเหลียง
นอกจากนั้น เรื่องการโอนเงินซ้ำซ้อนให้กับชุมนุมสหกรณ์กองทุนสวนยางสุราษฎร์ธานีเป็นเงิน 4 ล้านบาทเศษ ได้คืนมาบ้างคงเหลืออีกประมาณ 3,000,000 บาทเศษ ซึ่งก็มีอดีตผู้จัดการเกี่ยวข้องกับลูกน้องด้วยจำนวนหนึ่งทางเจ้าหน้าที่ก็อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐานนอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการที่เอายางของชุมนุมสหกรณ์ไปขายกับเอกชนโดยอ้างว่ารับฝากยางจากการยางแห่งประเทศไทยอีกจำนวน 94 ตัน ซึ่งล่าสุด สำนักงานป้องกันป้องกันและปราบปรามการประพฤติมิชอบในวงราชการได้มาสอบข้อเท็จจริงกับตนเองแล้ว เบื้องต้นคาดว่ามีผู้ใหญ่ของการยางแห่งประเทศบางคนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยทั้งหมดทำเป็นขบวนการ โดยการสร้างหลักฐานเท็จว่านำยางมาฝากกับชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง โดยเวลาที่ส่งหนังสือนำฝากมาถึงชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง พร้อมทะเบียนรถที่ใช้ขน วันที่ 19 กรกฎาคม 2560 เวลา 09:00 น. เจ้าหน้าที่ธุรการของชุมนุมได้ลงหนังสือรับเอกสารว่ามีหนังสือว่าขอฝากยางจากหน่วยธุรกิจของการยางแห่งประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีการตรวจสอบทีหลังพบว่าในวันเวลาเดียวกันของวันนั้น เลขทะเบียนรถคันที่ใช้ขนทั้ง 3 คัน รวมทั้งน้ำหนักยางทั้งหมด กำลังเข้าเครื่องตาชั่งในเวลา 09:15 น. เวลา 09:17 และเวลา 09.21 นาที เพราะฉะนั้นถือว่าความผิดชัดเจนอยู่ระหว่างที่ตร.กองปราบปราม ซึ่งรับปากกับชุมนุมสหกรณ์ว่า เป็นคดีที่สร้างความเสียหายต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจ จะเร่งดำเนินการสืบสวนสอบสวน เพื่อช่วยเหลือชุมนุมสหกรณ์ต่อไป รวมทั้งคดีที่ชุมนุมสหกรณ์จ.พัทลุงแจ้งความเอาผิดอดีตผู้จัดการชุมนุมฯตรัง ก็เป็นขบวนการเดียวกันทำเป็นเหมือนกันลักษณะไซ่ฟ่อนเงิน แต่นี่เป็นการไซ่ฟ่อนยาง เป็นการกระทำที่สร้างความปั่นป่วนแล้วเอาผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตนเองและพวกพ้อง ส่วนที่กองปราบปรามจะเข้ามาดูแลเรื่องของคดีนั้นยังไม่สามารถจะเปิดเผยอะไรได้มากนักเพราะห่วงจะเสียรูปคดีแต่ทราบว่าทางกองปราบจะช่วยเหลือชุมนุมในเรื่องที่สำคัญอย่างเต็มที่
นายสมพร กล่าวอีกว่า ส่วนความเชื่อมั่นในหมู่สมาชิกและเครือข่ายสถาบันกับชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังดีขึ้นอย่างน่าพอใจ กรรมการบริหารชุดนี้เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2563 ช่วงแรกสมาชิกสมาชิกมาขายยางวันละ 20 -30 ตัน แต่ปัจจุบันได้รับความเชื่อถือมากขึ้นตามลำดับมียางทั้งจากสหกรณ์สมาชิก สถาบันต่างๆและเอกชน นำยางมาขายให้กับชุมนุมเพิ่มมากขึ้นบางวันได้มากถึงกว่า 200 ตัน เงินหมุนเวียนทั้งซื้อทั้งขายยางไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาทต่อเดือน ส่วนที่สหกรณ์สมาชิกจำนวน 12 สหกรณ์ เคยเอายางมาฝากไว้กับอดีตผู้จัดการเมื่อปี 2560 -2561 มูลค่าความเสียหายประมาณ 14,000,000 บาท ปัจจุบันทางชุมนุมฯได้ทยอยจ่ายคืนคงเหลืออีกไม่เกิน 8 ล้านบาท และจะเร่งทยอยจ่ายคืนทั้งหมด แต่ต้องใช้เวลาอีกสักระยะ ซึ่งสหกรณ์สมาชิกก็เข้าใจและพร้อมให้โอกาส
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: